Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กระทรวงสาธารณสุข เผย ในเดือน ส.ค. นี้ ลดจำนวนจัดสรรวัคซีนใน กทม. ลง พร้อมจัดสรรวัคซีนโควิด-19 ทั้งซิโนแวคและแอสตร้าเซนเนก้าไปต่างจังหวัดมากขึ้น โดยเฉพาะ 13 จังหวัดควบคุมสูงสุดและเข้มงวด เน้นสูงอายุ และ 7 โรคเรื้อรัง ลดป่วยรุนแรงและเสียชีวิต

วันที่ 2 ส.ค. 2564 นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค ร่วมแถลงความคืบหน้าเกี่ยวกับการจัดสรรวัคซีนโควิด-19 ในเดือน ส.ค. โดย นพ.เกียรติภูมิกล่าวว่า ช่วง 2 เดือนที่ผ่านมา ได้พยายามนำวัคซีนมาฉีดให้ประชาชนใน กทม. และปริมณฑลจำนวนมาก เพื่อป้องกันการระบาด เพราะมีการระบาดที่รุนแรง ตอนนี้คนรับวัคซีนมีมากเพียงพอ ดังนั้น ช่วง ส.ค.จะกระจายไปต่างจังหวัดมากขึ้น เพื่อเร่งฉีดให้แก่ผู้สูงอายุ 7 โรคเรื้อรัง ลดการป่วยหนักและเสียชีวิต จึงต้องขอความร่วมมือประชาชนที่มีผู้สูงอายุร่วมใจกันมาฉีดวัคซีน เพื่อให้สถานการณ์ต่างๆ เป็นไปตามแผนที่เราวางไว้

นพ.เกียรติภูมิ กล่าวด้วยว่า ส่วนต่างจังหวัดยังมีการติดเชื้อในโรงงานสูงอยู่ กรมควบคุมโรค กรมอนามัย และผู้ที่เกี่ยวข้องจะเข้าไปทำความเข้าใจ และวางแผนการควบคุมลักษณะรายโรงงาน ร่วมกับทางจังหวัด เพื่อควบคุมโรคไม่ให้แพร่กระจายออกไป เนื่องจากโรงงานมีคนจำนวนมากและขณะนี้กำลังเปิดกิจการอยู่ เพราะเป็นเรื่องของการขับเคลื่อนเศรษฐกิจแต่ก็ต้องปลอดเชื้อ จึงจะมีระบบเข้าไปดูแลป้องกันไม่ให้โรคแพร่อย่างรวดเร็ว

ด้าน นพ.โสภณ กล่าวว่า ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. เป็นต้นมา กลุ่มที่ได้รับการฉีดวัคซีนจำนวนมาก อยู่ในพื้นที่ กทม. และปริมณฑลเป็นหลัก แต่ขณะนี้มีหลายพื้นที่กำลังเร่งรัดฉีดวัคซีน เพราะมีการกระจายวัคซีนในพื้นที่ต่างๆ แต่กลุ่มผู้สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีการฉีดวัคซีนเข็มที่ 1 เพียง 23.2% ถือว่าน้อยกว่ากลุ่มอื่นเกือบ 1 ใน 4 จึงเป็นกลุ่มที่สำคัญที่ต้องเร่งรัดฉีดวัคซีน โดยช่วง มิ.ย.–ก.ค. ที่ผ่านมา ผู้สูงอายุใน กทม. ได้รับการฉีดอย่างมาก เพราะจัดลำดับความสำคัญใหม่ ให้ผู้สูงอายุเข้าถึงง่ายและอย่างสะดวก และอยู่ในช่วงไล่ฉีดเข็มที่ 2 ในคนครบกำหนด

ส่วนต่างจังหวัด ปลัด สธ. ได้จัดสรรโดยอาศัยคำแนะนำจากคณะกรรมการเชี่ยวชาญต่างๆ ทำให้ ส.ค. มีการกระจายวัคซีนไปพื้นที่ต่างจังหวัดมากขึ้น โดยเดือนนี้จะได้รับวัคซีนมากขึ้นกว่า ก.ค. คือ ประมาณ 10 ล้านโดสขึ้นไป มีทั้งแอสตร้าเซนเนก้า ซิโนแวค และไฟเซอร์อีก 1.5 ล้านโดส ดังนั้น คาดว่าเดือนนี้เป้าหมายการฉีดผู้สูงอายุจะได้ตามเป้าหมาย อย่างนนทบุรี ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา นครปฐม และสมุทรสาคร เปอร์เซ็นต์การฉีดในผู้สูงอายุอยู่ช่วง 20-40% ใน ส.ค.จะได้รับวัคซีนมากขึ้น ส่วนฉะเชิงเทรา ชลบุรี สมุทรปราการ ที่มีการระบาดเพิ่มใน ก.ค. ทำให้ความเสี่ยงเพิ่มขึ้น วัคซีนที่ไปในทุกสัปดาห์จะตกสัปดาห์ละ 1-2 ล้านโดส ทั้งซิโนแวคและแอสตร้าฯ ซึ่งตอนนี้ทุกกลุ่มอายุสามารถฉีดสูตรผสม ซิโนแวคเข็มแรก และแอสตร้าฯ ใน 3 สัปดาห์ต่อมา

ส่วนในพื้นที่ภาคใต้ตอนล่าง คือ นราธิวาส ปัตตานี ยะลา และสงขลา มีเปอร์เซ็นต์การฉีดวัคซีนที่ต่ำ เพราะช่วงที่ผ่านมาได้รับการจัดสรรในเปอร์เซ็นต์น้อยกว่า แต่เมื่อมีสถานการณ์แพร่ระบาดขึ้น วัคซีนที่ไปจะมากขึ้นเช่นเดียวกัน ดังนั้น ต้องถือว่าโอกาสเร่งรัดการฉีดวัคซีนให้ได้ตามเป้าหมาย คงใช้เวลาประมาณ 1-2 เดือน ขณะที่ กทม.ยังมีการฉีดวัคซีนต่อเนื่อง แต่จำนวนจะน้อยลงประมาณ 1 ล้านกว่าโดส

ที่มา : https://web.facebook.com/fanmoph/videos/1680237078835424

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า