Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ที่มาของข้อมูล จ.ยะลา พบผู้ติดเชื้อโควิด 40 คน และกระทรวงสาธารณสุข ให้มีการตรวจซ้ำครั้งที่ 2 พบว่าทั้งหมดไม่มีการติดเชื้อ จึงให้ส่งตัวอย่างเข้า กทม.เพื่อตรวจซ้ำครั้งที่ 3 เพื่อยืนยัน
.
เริ่มจาก 18-24 เม.ย. จ.ยะลา ได้ค้นหาผู้ติดเชื้อเชิงรุก (Active case finding) ในชุมชนทุกอำเภอรวม 3,277 ตัวอย่าง จำนวนนี้พบผู้ติดโควิด 20 คน จาก อ.เมืองยะลา 3 คน,อ.ยะหา 3 คน และอ.บันนังสตา 14 คน
.
จากผู้ติดเชื้อ 20 คนนี้ มีสอบสวนโรคค้นหาผู้ที่มีความเชื่อมโยง สัมผัสใกล้ชิดอีก 671 คน หลังคัดกรองด้วยการสัมภาษณ์ซักประวัติแล้วเหลือที่ต้องตรวจหาเชื้อ 222 คน จำนวนนี้พบผู้ติดเชื้อ 6 คน จาก อ.บันนังสตา 5 คน และ อ.ยะหา 1 คน
.
ทีมสอบสวนโรคค้นหาผู้สัมผัสใกล้ชิดจาก 6 คนนี้ พบมี 311 คน นำมาซึ่งปฏิบัติการตรวจและผลจากห้องแล็บ จ.ยะลา พบติดเชื้อ 40 คน จาก อ.เมืองยะลา 4 คน, อ.ยะหา 24 คน ,อ.บันนังสตา 7 คน และ อ.รามัน 5 คน
.
อย่างไรก็ตามข้อมูลชุดนี้เป็นข้อมูลภายในที่อยู่ระหว่างการประมวลผล แต่กลับหลุดออกไปก่อนการแถลงอย่างเป็นทางการ จนกลายเป็นข่าวในวงกว้างตลอดวันที่ 3 พ.ค. ทำให้สาธารณสุขจังหวัดยะลา ต้องออกมาตั้งโต๊ะแถลงในช่วงเย็นวันเดียวกันว่า มีการเก็บสิ่งส่งตรวจหาเชื้อใหม่เพื่อส่งตรวจยืนยันอีกครั้ง ณ ศูนย์วิทยาศาสตร์การแพทย์ จ.สงขลา
.
เช้าวันที่ 4 พ.ค. ผลจากห้องแล็บสงขลา ให้ข้อมูลตรงกันข้ามกับห้องแล็บยะลาว่า ทั้งหมดไม่ติดเชื้อ จึงให้มีการส่งตรวจซ้ำอีกครั้งที่ห้องแล็บของ กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ที่กรุงเทพฯ

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผอ.กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค


นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผอ.กองโรคติดต่อทั่วไป กรมควบคุมโรค ระบุว่า สาเหตุน่าจะเกิดการขั้นตอนการตรวจในห้องปฏิบัติการ ดังนั้นเพื่อความมั่นใจและเพื่อให้ได้ข้อสรุปที่ชัดเจนจะส่งตัวอย่างมาตรวจอีกครั้งที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ ขอให้รอผลการตรวจอีกครั้งว่าเป็นผู้ที่ติดเชื้อหรือไม่
.
“แต่ในเบื้องต้นโอกาสที่จะเป็นผู้ติดเชื้อน่าจะน้อยเพราะทั่วไปคนที่ไม่มีอาการ เรามักจะไม่พบการติดเชื้อในเปอร์เซ็นต์ที่สูง เว้นแต่ว่าจะมีการพบผู้ป่วยที่ต่อเนื่องมาจำนวนมากและอยู่ในระยะเวลานานๆ ”
.
ส่วนกรณีของห้องแล็บ จ.ยะลา ที่รายงานผลว่าติดเชื้อ 40 คน อยู่ระหว่างการตรวจสอบสาเหตุโดยผู้เชี่ยวชาญ ส่วนการป้องกันไม่ให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต จะมีทีมผู้เชี่ยวชาญลงไปให้คำแนะนำ และวางมาตรฐานการตรวจวินิจฉัย ให้กลับมาอยู่ในระดับหรือขั้นตอนที่ถูกต้อง หลังจากที่มีการจัดการจุดที่มีความคลาดเคลื่อน
.
ขณะที่ นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผอ.รพ.จะนะ จ.สงขลา โพสต์เฟซบุ๊กถึงกรณีนี้ตอนหนึ่งว่า “เหตุที่ห้องแล็บ รพ.ยะลา รายงานผลเป็นบวกนั้น เป็นความผิดพลาดทางเทคนิค เข้าใจว่าเกิดจากการปนเปื้อนของไวรัสโควิดในระบบเครื่องตรวจ RT- PCR ทั้งนี้ ในการตรวจพบว่า หลอดที่เป็นน้ำไม่มีตัวเชื้อ ที่เป็นตัว control (No Template Control) ซึ่งในการเดินเครื่อง PCR ทุกรอบก็ต้องมีการ control ด้วย NTC เสมอ นั้น ที่แล็บยะลาผลการทดสอบของ NTC เป็นบวกด้วย ซึ่งบอกถึงการปนเปื้อน จึงทำให้ไม่อาจตัดสินได้ว่า ผลการตรวจนั้นเป็นผลบวกจริง (true positive) หรือ ผลบวกลวง (false positive) จึงต้องตรวจใหม่ทั้งหมด”

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า