SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ.ยืนยันการแพร่ระบาดโควิด-19 ไทยอยู่ในระยะ 2 ไม่มีการแพร่ระบาดในวงกว้าง ขณะที่วันนี้มีรายงานผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่ม 6 ราย รวมป่วยสะสม 59 ราย รักษาหายแล้ว 34 ราย

วันที่ 11 มี.ค.2563 นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป แถลงสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ในประเทศไทย พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ 6 ราย ประกอบด้วย ผู้ป่วยยืนยันรายที่ 54 ชายไทย อายุ 21 ปี เป็นเจ้าหน้าที่ตรวจคนเข้าเมืองที่สนามบินสุวรรณภูมิ เข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลรัฐแห่งหนึ่งในกทม.เมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2563 ด้วยอาการไข้มีน้ำมูก ปวดศีรษะ ส่งรักษาตัวที่โรงพยาบาลกลาง

ผู้ป่วยยืนยันรายที่ 55 ชายไทย อายุ 40 ปี เป็นเจ้าหน้าที่ตรวจค้นประจำสนามบินสุวรรณภูมิ เริ่มป่วยวันที่ 7 ด้วยอาการไข้ มีน้ำมูก ปวดศีรษะ เข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกรุงเทพเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2563 ด้วยอาการไข้ ไอ มีเสมหะ ปวดศีรษะ และรักษาตัวที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง  (นับเป็นผู้ป่วยยืนยันรายที่ 55)

ผู้ป่วยยืนยันรายที่ 56 ชายไทยอายุ 25 ปี พนักงานบริษัทเอกชน เริ่มป่วยวันที่ 25 กุมภาพันธ์ 2563 ด้วยอาการไข้ ปวดกล้ามเนื้อ และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งใน กทม. 2 ครั้ง (วันที่ 27 กุมภาพันธ์ และ 2 มีนาคม 2563) ด้วยอาการไข้ แพทย์รับตัวไว้รักษาในโรงพยาบาล ผลเอกซเรย์พบปอดอักเสบ รักษาแล้วอาการไม่ดีขึ้น และหาสาเหตุไม่ได้ เข้านิยามการเฝ้าระวัง จึงตรวจทางปฏิบัติการยืนยันพบเชื้อ ขณะนี้ส่งมารักษาที่สถาบันบำราศนราดูร นพ.โสภณ อธิบายว่า รายที่ 56 พบว่าเดินทางไปหลายจุดมีโอกาสพบคนต่างชาติ ส่วนใหญ่ทำงานเกี่ยวกับวิศวกรที่ต้องลงพื้นที่ซึ่งจะต้องหาว่าจุดใดบ้างที่มีความเสี่ยง เบื้องต้นเพื่อนร่วมงานยังไม่มีใครป่วย เป็นการติดเชื้อภายในประเทศเพราะไม่ได้เดินทางไปต่างประเทศ ในประวัติพบว่าไปในสถานที่ที่มีชาวต่างชาติ เบื้องต้นไม่สามารถระบุได้ว่าติดจากคนชื่ออะไร ลักษณะการทำงานมีความเสี่ยง มีโอกาสสูงที่เป็นการรับเชื้อจากผู้ติดเชื้อมาจากต่างประเทศ

ผู้ป่วยยืนยันรายที่ 57 หญิงไทย อายุ 27 ปี เดินทางกลับจากเกาหลีใต้ถึงไทยเมื่อวันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2563 เริ่มป่วยวันที่ 20 กุมภาพันธ์ 2563 และเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกทม.เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2563 ด้วยอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก เจ็บคอ ปวดศีรษะ ขณะนี้ ส่งรักษาตัวที่โรงพยาบาลที่โรงพยาบาลนพรัตนราชธานี  (นับเป็นผู้ป่วยยืนยันรายที่ 57)

ผู้ป่วยยืนยันรายที่ 58 ชายไทยอายุ 40 ปี เดินทางกลับจากประเทศญี่ปุ่น โดยก่อนเดินทางกลับ (25 กุมภาพันธ์ 2563) ประสบอุบัติเหตุเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลที่ญี่ปุ่น เดินทางกลับถึงไทย 26 กุมภาพันธ์ 2563 วันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 เข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งจากกระดูกข้อมือซ้ายหัก ได้รับการตรวจทางห้องปฏิบัติการ ผลพบเชื้อไวรัสสาเหตุโควิด-19 รักษาตัวที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่ง

ผู้ป่วยยืนยันรายที่ 59 ชายชาวสิงคโปร์ อายุ 36 ปี เจ้าของร้านอาหารแห่งหนึ่งในกทม. เริ่มป่วยวันที่ 6 มีนาคม ด้วยอาการไข้ ไอ ปวดเมื่อยตามตัว เข้ารับการตรวจที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งเมื่อวันที่ 9 มีนาคม 2563 ขณะนี้รักษาที่สถาบันบำราศนราดูร  นพ.โสภณ อธิบายว่า สำหรับรายที่ 59 เข้าใจว่าเป็นพื้นที่เดียวกับที่แชร์ในโซเชียล เป็นชาวต่างชาติมีการเดินทางไปมาหาสู่กัน ให้บริการนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติก็มีโอกาสที่จะติดเชื้อ

สรุปวันนี้มีผู้ป่วยยืนยันที่รักษาหายแล้ว 34 ราย ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 24 ราย เสียชีวิต 1 ราย ผู้ป่วยสะสม 59 ราย สำหรับผู้ป่วยอาการหนัก 1 ราย ที่รักษาตัวอยู่ที่สถาบันบำราศนราดูร ยังต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

ส่วนกรณีพนักงานบริษัทชาวสิงคโปร์ที่มีข่าวว่าติดเชื้อภายหลังเดินกลับจากประเทศไทย เข้ามาพักในประเทศไทยเพียง 1 วันและมีประวัติเดินทางไปหลายประเทศก่อนมาไทย กรมควบคุมโรคได้สอบสวนโรคและเก็บตัวอย่างผู้สัมผัสในบริษัทเดียวกัน 84 คน ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการไม่พบเชื้อ ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมควบคุมโรคจะร่วมมือกับผู้เชี่ยวชาญ จัดเสวนาถอดบทเรียนผู้ป่วยยืนยันและผู้สัมผัส

แรงงานไทยนอกระบบจากเกาหลีใต้ที่ฐานทัพเรือสัตหีบทั้งหมด 241 คน เป็นชาย 104 คน หญิง 137 คน (มาจากเมืองแทกูและคย็องซังเหนือ 8 คน) มีกลุ่มดูแลพิเศษ 29 คน เป็นหญิงตั้งครรภ์ 6 คน เด็กเล็ก 5 คน มีโรคประจำตัว 18 คน ผลการคัดกรองไม่พบผู้อยู่ในเกณฑ์เฝ้าระวัง ทุกคนไม่มีไข้

นพ.ณรงค์ อภิกุลวณิช รองอธิบดีกรมการแพทย์ อธิบายถึงการกำหนดหลักเกณฑ์ในการให้ยาฟาวิพิราเวียร์ว่า ได้มีการสำรองและกำหนดหลักเกณฑ์กระกระจายไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้องอย่างทั่วถึงเพื่อให้สามารถใช้ได้ตามข้อบ่งชี้

ผู้สื่อข่าวถามว่า เราเข้าใกล้ระยะที่ 3 แล้วหรือยัง นพ.โสภณ กล่าวว่า เมื่อไรก็ตามที่ทราบว่ามีคนป่วย และทราบว่ามีการจำกัด ยังไม่มีการแพร่ระบาดสู่รุ่นอื่น ยังควบคุมได้ถือว่าอยู่ในระยะที่ 2 เรายังไม่มีการแพร่เชื้ออย่างต่อเนื่อง การรู้ว่าติดจากใครสำคัญ และที่สำคัญจะต้องไม่มีการแพร่ต่อ ตอนนี้ทุกคนเข้าสู่การรักษาเร็วทำให้ไม่มีการแพร่เชื้อต่อ

นพ.โสภณ กล่าวว่า ตอนนี้มีการเพิ่มประเทศที่ให้หลีกเลี่ยงการเดินทางคือ ประเทศสเปน มีการติดเชื้อเป็นอันดับ 5 ของโรค ผู้เดินทางกลับจากสเปนขอให้แยกตัวเองและหมั่นสังเหตุอาการ เกณฑ์ที่จะตรวจคนที่กลับมา 14 วัน แล้วมีไข้ขอให้แจ้งเจ้าหน้าที่ด้วยว่าไปประเทศใดบ้างทั้งในเขตยุโรปหรือประเทศเสี่ยง ประวัติการเดินทางสำคัญที่จะช่วยประเมินความเสี่ยงและตรวจวินิจฉีย

ตม.ที่ติดเชื้อจะมีมาตรการดูแลอย่างไร นพ.โสภณ กล่าวว่า สำหรับผู้ทำงานเกี่ยวข้องกับชาวต่างชาติต้องป้องกันตัวเองสำคัญสุดคือการล้างมือทุกชั่วโมงเพื่อฆ่าเชื้อ ลดความเสี่ยง ไม่นำมือไปจับบริเวณใบหน้า หมั่นสั่งเกตุว่าคนที่ไปใช้บริการมีอาการทางเดินหายใจหรือไม่ เจ้าหน้าที่ต้องสวมหน้ากากอนามัยเพื่อลงความเสี่ยง

เมื่อถามว่านักท่องเที่ยวที่เข้ามาแล้วต้องกักตัว 14 วันจะต้องทำอย่างไรบ้า นพ.โสภณ กล่าวว่า หากมาจาก 4 ประเทศจะต้องกักตัวในสถานที่ติดตามได้ ถ้าไม่ใช้ 4 ประเทศจะแนะนำให้สังเกตุอาการตัวเองไม่ไปยุ่งกับคนอื่น เท่าที่สังเกตุต่างชาติมาระยะสั้นเสี่ยงน้อยกว่า แรงงานที่กลับมา จะต้องบริหารจัดการระดับความเสี่ยงให้พอดีกันไม่มีมาตรการเดียว

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวเสริมว่า การแพร่ระบาดในประเทศไทยยังอยู่ในระยะ 2 พร้อมอธิบายบริบทของการแพร่ระบาดของแต่ละระยะว่า ระยะที่ 1 คือ มีการนำเชื้อจากต่างประเทศเข้ามาในไทย ระยะที่ 2 คือ การติดเชื้อภายในประเทศอย่างจำกัด และระยะที่ 3 คือ การแพร่ระบาดในวงกว้าง ยกตัวอย่างประเทศอิตาลี และเกาหลีใต้

“ความร่วมมือของประชาชนสำคัญมาก แรงงานที่เดินทางมาจากต่างประเทศกักตัว เราต้องให้การสนับสนุน เพราะถ้าเรารักษาป้องกันตัวเองก็เหมือนกับเรารักษาป้องกันคนอื่นด้วย คนไหนทำดีเราต้องสนับสนุนเขา สังคมต้องร่วมมือกัน”  นพ.โอภาส กล่าว

https://www.facebook.com/fanmoph/videos/200778827679914/

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า