SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ.สรุปผลการเสียชีวิตจากการรับวัคซีนพบผู้เสียชีวิต 1 ราย หลังฉีดแอสตร้าฯ แล้ว 6 วัน เกิดภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับเกร็ดเลือดต่ำ ขณะที่ผู้เสียชีวิตอีก 122 รายอยู่ระหว่างรอผลสรุป

วันที่ 8 ก.ย. 2564 นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค แถลงผลการติดตามข้อมูลเหตุไม่พึงประสงค์หลังได้รับวัคซีนป้องกันโรคโควิด-19 ในประเทศไทยว่า ข้อมูลวันที่ 5 ก.ย. กองระบาดวิทยา รายงานข้อมูลไม่พึงประสงค์หลังรับวัคซีนพบว่า ไทยมีการฉีดวัคซีนสะสม 35.9 ล้านโดส มีอาการร้ายแรงที่ต้องนำสู่การพิจารณาของผู้เชี่ยวชาญ เช่น นอนโรงพยาบาล (รพ.) แต่ยังพบไข้สูงต่อเนื่อง นำไปสู่การสอบสวนโรค เช่น ซิโนแวค ฉีด 15.2 ล้านโดส รายงาน 2,667 เหตุการณ์มีผู้แพ้เป็นผื่น ความดันต่ำใน 30 นาทีแรก ถึง 1 วัน เป็นลักษณะแพ้รุนแรง 24 ราย คิดเป็น 0.16 ต่อแสนโดส ถือเป็นจำนวนไม่มากต่อการฉีด และส่วนใหญ่หายเป็นปกติ แอสตร้าฯ ฉีด 15.4 ล้านโดส พบ 3,004 เหตุการณ์ เป็นการแพ้รุนแรง 6 ราย

ผอ.กองระบาดวิทยา กล่าวว่า มีรายงานข้อมูลผู้ที่มีอาการรุนแรงและเสียชีวิตรับรายงานทั้งหมด 628 ราย โดยมีการชันสูตรศพหาสาเหตุ ข้อมูลทางคลินิก การตรวจทางห้องปฏิบัติการและคณะผู้เชี่ยวชาญฯ ได้พิจารณาแล้ว 416 ราย ส่วนใหญ่ไม่เกี่ยวข้องกับวัคซีน แต่เป็นเหตุการณ์ร่วมอื่นๆ (Coincidental event) มี 249 ราย ได้แก่ การติดเชื้อในระบบประสาทและสมอง 2 ราย เลือดออกในสมอง 26 ราย เกิดในผู้ที่มีภาวะความดันโลหิตสูงอยู่แล้ว เส้นเลือดสมองอุดตัน 5 ราย ปอดอักเสบ 69 ราย ลิ่มเลือดอุดตันในปอด 3 ราย โรคเกี่ยวกับระบบหัวใจและหลอดเลือดหัวใจ 64 ราย และภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด 19 ราย ส่วนอาการทางมะเร็งที่รุนแรงขึ้นและเสียชีวิต ได้แก่ มะเร็งเต้านม 1 ราย มะเร็งท่อน้ำดี 2 ราย และมะเร็งปอด 1 ราย ภาวะอื่นๆ เช่น เลือดออกในช่องท้อง 4 ราย รับประทานเห็ดพิษ 2 ราย โรคอื่นๆ 25 ราย

ส่วนเหตุการณ์ที่ไม่สามารถสรุปได้ว่า เกี่ยวข้องกับวัคซีนโดยตรงหรือไม่ (Indeterminate event) 32 ราย

นพ.จักรรัฐ  กล่าวว่า เหตุการณ์ที่สรุปว่าเกี่ยวข้องกับวัคซีนมี 1 ราย เป็นหญิง อายุ 28 ปี จ.นนทบุรี เป็นภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำหลังจากการฉีดวัคซีนแอสตร้าฯ โดยเหลือที่ยังรอผล 122 ราย และมีที่สรุปไม่ได้ 12 ราย

สำหรับประเทศไทยพบข้อมูลหลังฉีดแอสตร้าฯ เข็มแรก พบภาวะลิ่มเลือดอุดตันร่วมกับเกล็ดเลือดต่ำ 5 ราย คิดเป็น 0.03 รายต่อการฉีดแสนโดส เป็นหญิง 3 ราย ชาย 2 ราย อายุต่ำสุด 26 ปี สูงสุด 76 ปี โดยหายเป็นปกติ 2 ราย และเสียชีวิต 3 ราย โดยไทยพบภาวะดังกล่าวน้อยกว่าอังกฤษถึง 30 เท่า ถือว่าน้อยมาก หากพบแพทย์เร็วและแจ้งว่าฉีดวัคซีนมา เพื่อให้รับการรักษาก็จะอาการดีขึ้นและหายได้ ส่วนใหญ่อาการหลักจะขึ้นได้ใน 4-30 วันหลังรับวัคซีน คือ ปวดศีรษะรุนแรง แขนขาอ่อนแรง ปากหน้าเบี้ยว เจ็บหน้าอก หายใจติดขัด หรือพบจุดเลือดออก คล้ายไข้เลือดออกแต่ไม่มีไข้

ส่วนคซีนไฟเซอร์พบกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบเฉียบพลัน 1 ราย เป็นเด็กชาย อายุ 13 ปี ที่ได้รับวัคซีนไฟเซอร์เพราะเป็นกลุ่มเสี่ยงคือ โรคอ้วน โดยพบอาการหลังฉีด 2 วัน และหลังได้รับการรักษาก็หายเป็นปกติ ทั้งนี้ ข้อมูลพบว่า ไฟเซอร์จะพบอาการไม่พึงประสงค์ในเพศชาย อายุน้อย โดยอาการสำคัญคือ เจ็บหน้าอก หายใจหอบ เหนื่อยง่าย อ่อนเพลีย หรือใจสั่น อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่า ถึงแม้วัคซีนโควิด-19 ชนิด mRNA จะมีผลข้างเคียงดังกล่าวเกิดขึ้นได้ แต่น้อยมาก และผลประโยชน์ที่ได้จากการฉีดวัคซีนมีมากกว่า จึงยังแนะนำให้มีการฉีดต่อไป

นพ.จักรรัฐ แนะนำว่า หากผู้ที่มีประวัติกล้ามเนื้อหัวใจอักเสบ หรือล้มเหลวมาก่อน ต้องแจ้งแพทย์ก่อนฉีดวัคซีนชนิด mRNA

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า