Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กระทรวงสาธารณสุขพบผู้ป่วยยืนยันโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 เพิ่ม 7 ราย โดย 4 รายเป็นคนในครอบครัวเดียวกัน ผู้ป่วย 1 ใน 7 เป็นดารานักแสดงชาย ย้ำขอความร่วมมือผู้เดินทางกลับจากพื้นที่ระบาดขอให้กักกันตัวเอง แยกของใช้ เพื่อไม่ให้แพร่เชื้อให้คนในครอบครัวและสังคม

วันที่ 14 มี.ค.2563 นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค และแถลงข่าวสถานการณ์โรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 ว่า วันนี้ได้รับรายงานผู้ป่วยยืนยันรายใหม่ 7 ราย

1. ผู้ป่วยลำดับที่ 76 หญิงไทยอายุ 63 ปี เป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงผู้ป่วยยืนยันลำดับที่ 57 (กลุ่มสังสรรค์ 11 คน)

เป็นคนในครอบครัวเดียวกัน มารับการตรวจที่โรงพยาบาลเอกชนใน กทม. พบการติดเชื้อโควิด-19
2. ผู้ป่วยลำดับที่ 77  index case หญิงไทย 57 ปี (มารดา) เดินทางมาจากญี่ปุ่นวันที่ 4 มี.ค.63 ป่วยมีไข้ ไอ มีเสมหะ
3. ผู้ป่วยลำดับที่ 78 หญิงไทย อายุ 30 ปี (บุตรสาว) อาชีพพนักงานบริษัทฯ ให้ประวัติเพื่อนมาจากเกาหลีใต้ (วันที่ 2 มีนาคม 2563) และมารดามาจากญี่ปุ่น เริ่มป่วยวันที่ 9 มีนาคม 2563 ด้วยอาการไข้ ไอ มีน้ำมูก มีเสมหะ
4. ผู้ป่วยลำดับที่ 79 ชายญี่ปุ่น อายุ 33 ปี (สามีบุตรสาว)  อาชีพพนักงานบริษัทฯ เริ่มป่วย 9 มีนาคม 2563 ด้วยอาการไข้ ไอ มีเสมหะ
5. ผู้ป่วยลำดับที่ 80 เด็กหญิงไทย อายุ 4 ปี (หลาน) เริ่มป่วย 9 มีนาคม 2563 มีไข้ ไอ มีเสมหะ

6. ผู้ป่วยลำดับที่ 81 เป็นหญิงไทย อายุ 20 ปี เดินทางกลับจากญี่ปุ่นถึงไทย 14 กุมภาพันธ์ 2563 เริ่มป่วยวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2563 ด้วยอาการไข้ ไอ หายใจเหนื่อย ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ ปวดศีรษะ มีเสมหะ หลังมีเสมหะอาการมีไม่ดีขึ้น วันที่ 11 มีนาคม 2563 จึงเข้ารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอกชนแห่งหนึ่งในกทม.

7. ผู้ป่วยลำดับที่ 82 เป็นชายไทย อายุ 41 ปี อาชีพนักแสดงและพิธีกร เริ่มป่วย 11 มีนาคม 2563 ด้วยอาการไข้ ไอ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ มีประวัติมีเพื่อนเดินทางมาจากต่างประเทศ รักษาตัวที่โรงพยาบาลราชวิถี อยู่ระหว่างติดตามผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ขณะนี้มีผู้เข้าเกณฑ์เฝ้าระวังรอผลสอบสวนโรคประมาณ 36 ราย เมื่อได้รับการยืนยันจะแถลงให้ทราบต่อไป

สรุปมีผู้ป่วยยืนยันที่รักษาหายแล้ว 35 ราย ยังรักษาตัวอยู่ในโรงพยาบาล 46 ราย เสียชีวิต 1 ราย ผู้ป่วยสะสมในประเทศไทยขณะนี้ 82 ราย สำหรับผู้ป่วยอาการหนัก 1 ราย ที่รักษาตัวอยู่ที่สถาบันบำราศนราดูร ยังต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

นพ.สุขุม กล่าวว่า ผู้ที่สัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วยยืนยันโรคโควิด-19 ที่ถือเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง คือคนในครอบครัว ผู้สัมผัสใกล้ชิดหรือมีการพูดคุยกับผู้ป่วยในระยะไม่เกิน 1 เมตร นานกว่า 5 นาที หรือถูกผู้ป่วยไอ จามใส่ โดยไม่ได้ป้องกันตนเอง หรืออยู่ในสถานที่ปิด ไม่มีการถ่ายเทอากาศ เช่น รถปรับอากาศ ห้องปรับอากาศ ร่วมกับผู้ป่วยนานกว่า 15 นาที และอยู่ห่างกับผู้ป่วยโดยไม่มีการป้องกันในระยะไม่เกิน 1 เมตร ทุกคนจะได้รับการตรวจวินิจฉัย มีการติดตามอาการจากเจ้าหน้าที่ และจะต้องกักกันตัวเองที่บ้านอย่างเคร่งครัดเป็นเวลา 14 วัน ส่วนผู้สัมผัสคนอื่น ๆ ในทางระบาดวิทยาถือว่าเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ ขอให้สังเกตอาการตัวเองเป็นเวลา 14 วัน แนะนำให้ทำตัวเองให้ห่างจากสังคมทั้งระยะและช่วงเวลา (Social Distancing) งดกิจกรรมทางสังคม หากป่วยขอให้พบแพทย์ทันที ซึ่งการตรวจหาเชื้อขณะที่ยังไม่มีอาการ มีโอกาสพบเชื้อน้อยมาก

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ย้ำว่า โควิด-19 เป็นโรคติดต่ออันตราย เป็นโรคฉุกเฉิน ไม่เสียค่าใช้จ่ายสามารถรักษาในโรงพยาบาลทุกแห่งได้ทันทีโดยกระทรวงสาธารณสุขจะออกค่าใช้จ่ายให้ โรงพยาบาลรัฐหรือเอกชนต้องรับการรักษาทันที ไม่ใช่ปล่อยให้กลับบ้าน ยืนยันว่า หากเป็นผู้ป่วยเข้าเกณฑ์กรมควบคุมโรคไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายแม้แต่บาดเดียว แต่หากไม่ได้อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ไม่เข้าข่าย อยากตรวจหาเชื้อต้องออกค่าใช้จ่ายเอง

ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (เสื้อลาย)

กรมควบคุมโรคเตรียมเอาผิดโรงพยาบลเอกชนปล่อยผู้ป่วยโควิด-19 กลับบ้าน

ผู้สื่อข่าวถามกรณีนักแสดงชายตรวจครั้งแรกในโรงพยาลเอกชนพบติดเชื้อโควิด-19 ระหว่างรอผลการตรวจครั้งที่ 2 ทำไมจึงปล่อยให้กับบ้าน จะเป็นการแพร่เชื่อหรือไม่

ทพ.อาคม ประดิษฐสุวรรณ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กล่าวว่า ตามกฎหมายโรงพยาบาลเอกชน เมื่อผู้ป่วยเข้ามาแล้วเขาจะมีห้องเรียกว่าห้องเฝ้าระวังการติดเชื้อหรือห้องแยกโรค อยู่ติดกับห้องฉุกเฉินมีประกาศอย่างชัดเจน ผู้ดำเนินการหรือผู้ประกอบกิจการต้องจัดให้มีการซักประวัติและจุดคัดกรอง เมื่อเข้าข่าย คนไข้จะถูกแยกไปอยู่ในห้องแยกโรค จากนั้นโรงพยาบาลจต้องแจ้งพนักงานในส่วนของกรมควบคุมโรคภายใน 3 ชม. ตามกฎหมาย เมื่อพอแจ้งเสร็จแล้วจะออกรหัสโค้ดให้เพื่อที่จะนำตรวส่วนนี้ไปส่งแลปในโรงพยาบาลที่มีแลปที่กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์รับรอง พอเสร็จแล้ว ทั้งหมดคนไข้ต้องอยู่โรงพยาบาล ยังกลับบ้านไม่ได้ หากมีการปล่อยปละละเลยให้คนไข้กลับบ้าน โดยที่ไม่เป็นไปตามกลไกของกระทรวงสาธารณสุขนั้นจะมีโทษ โทษก็จะมีทั้งจำคุกและโทษปรับด้วย

เพราะฉะนั้นคนไข้ต้องอยู่โรงพยาบาลยังไม่สามารถกลับบ้านได้จนกว่าจะยืนยันว่าคนไข้นั้นผลตรวจเป็นลบ (Negative) แพทย์ที่อยู่ในโรงพยาบาลจะให้การรักผู้ป่วยหลัง จากนั้นจะให้คำแนะนำผู้ป่วยเมื่อกลับไปบ้านแล้วท่านควรจะปฏิบัติตนเช่นไร เพื่อไม่ให้เกิดการแพร่กระจาย ถ้าผล Negative เสร็จจะต้องยืนยันแลปอีกรอบหนึ่ง คราวนี้ยืนยันรอบ 2 จะยืนยันทั้ง 2 แลป 2 แห่งด้วยกัน เมื่อยืนยันแล้วเป็นนะครับ ทางโรงพยาบาลจะต้องเก็บประวัติคนไข้และผู้ที่เกี่ยวข้องและประสานผู้เชียวชาญกรมควบคุมโรคเพื่อที่จะเข้าสู้กลไกในการสอบสวนและกักกันผู้เกี่ยวข้องต่อไป ส่วนคนไข้ตรงส่วนนี้จะเป็นไปตามแนวทางของกรมควบคุมโรค เบื้อต้น เน้นให้โรงพยาบาลที่มีศักยภาพเข้าไปดูแลคนไข้เคสนี้

นพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค (เสื้อสีเหลือง)

ด้านนพ.ธนรักษ์ ผลิพัฒน์ รองอธิบดีกรมควบคุมโรค อธิบายว่า เรื่องของการแจ้งโรคหรือการรายงานโรคของสถานพยาบาลและห้องปฏิบัติการ ตาม พ.ร.บ.โรคติดต่อกำหนดให้ ถ้าโรคใดเป็นโรคติดต่ออันตราย โรงพยาบาลที่ดูแลรักษาผู้ป่วย แค่สงสัยนะครับ ก็จะต้องรายมาที่กรมควบคุมโรคภายใน 3 ชม. ซึ่งในส่วนนี้ทางกรมควบคุมโรคก็ได้พยายามกำชับกับโรงพยาบาลทุกแห่งทั้งของรัฐและเอกชน ถ้าหน่วยงานใดหรือโรงพยาบาลใดไม่ได้ปฏิบัติตาม ตามกฎหมายนะครับทางกรมควบคุมโรคก็จะดำเนินการอย่างเด็ดขาดต่อไป ซึ่งในส่วนนี้มีอยู่ 2 ส่วนที่จะต้องรายงาน

ส่วนแรกก็คือ โรงพยาบาล แค่สงสัย แค่คิดที่จะตรวจตัวอย่างโรงพยาบาลจะต้องแจ้งกรมควบคุมโรคภายใน 3 ชม. ซึ่งในส่วนนี้กรมควบคุมโรคจะไปดำเนินการกับโรงพยาบาลที่ไม่ได้แจ้งต่อไป

ส่วนที่สอง คือ ห้องปฏิบัติการที่รับตัวอย่างมาตรวจจะต้องแจ้งกรมควบคุมโรคภายใน 3 ชม.เหมือนกัน เพราะฉะนั้นในส่วนนี้ก็เหมือนกันในระยะแรกเราได้กำชับไปยังดรงพยาบาลหรือแลปห้องปฎิบัติการที่สามารถตรวจตัวอย่างได้ ระยะต่อไปกรมควบคุมโรคจะดำเนินการตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด ถ้าห้องปฏิบัติการใดรับตรวจแล้วไม่ได้รายงานมาที่กรมควบคุมโรคซึ่งตรวนี้เป้นนโยบายที่ขัดเจนของกระทรวงสาธารณสุขเพื่อให้เราสามารถติดตามจำนวนผู้ป่วยและสถานการณ์ได้อย่างรวดเร็วและเป็นจริงตามสถานการณ์รายวัน

สรุปสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ในประเทศไทยมีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม – 13 มีนาคม 2563 มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนต้องเฝ้าระวังสะสมทั้งหมด 5,713 ราย คัดกรองจากทุกด่าน 249 ราย มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอง 5,464 ราย อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้วและอยู่ระหว่างติดตามอาการ 4,014 ราย ส่วนใหญ่เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ยังคงรักษาในโรงพยาบาล 1,699 ราย

สถานการณ์ทั่วโลกใน 134 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ 1 เรือสำราญ ข้อมูลตั้งแต่ 5 มกราคม – 14 มีนาคม 2563 (07.00 น.) พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน 142,592 ราย เสียชีวิต 5,373 ราย ส่วนประเทศจีนพบผู้ป่วย 80,815 ราย เสียชีวิต 3,177 ราย

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า