SHARE

คัดลอกแล้ว

สถานการณ์โควิด-19 ประเทศไทย วันนี้ติดเชื้อ 7,706  ราย รักษาหายกลับบ้านเพิ่ม 10,513 ราย ล่าสุดมีฉีดวัคซีนสะสมแล้ว 61,410,579 โดส

สถานการณ์โควิด-19 ประจำวันที่ 26 ต.ค. 2564 ครั้งแรกที่ผู้ป่วยกำลังรักษาลดต่ำกว่าแสนราย
– ติดเชื้อเพิ่ม 7,706 ราย สะสม 1,866,863 ราย
– เสียชีวิต 66 ราย สะสม 18,865 ราย
– หายป่วย 9,532 ราย
– กำลังรักษา 98,150 ราย

สถานการณ์โควิด-19 ทั่วโลก ณ เวลา 06:00 น.
– ผู้ป่วยยืนยัน 244,750,051 ราย
– กลับบ้านแล้ว 221,814,129 ราย
– ยังรักษาใน รพ.17,967,033 ราย
– เสียชีวิต 4,968,889 ราย

สถิติตัวเลขผู้ติดเชื้อและผู้เสียชีวิตช่วง 7 วันที่ผ่านมา
– 21 ต.ค. 2564 ติดเชื้อ 9727รายเสียชีวิต 73 ราย
– 20 ต.ค.2564 ติดเชื้อ 8,918 ราย เสียชีวิต 79 ราย
– 19 ต.ค.2564 ติดเชื้อ 9,122 ราย เสียชีวิต 71 ราย
– 18 ต.ค.2564 ติดเชื้อ 10,111 ราย เสียชีวิต 63 ราย
– 17 ต.ค.2564 ติดเชื้อ 10,863 ราย เสียชีวิต 68 ราย
– 16 ต.ค.2564 ติดเชื้อ 10,648 ราย เสียชีวิต 82 ราย
– 15 ต.ค.2564 ติดเชื้อ 10,486 ราย เสียชีวิต 94 ราย
– 14 ต.ค.2564 ติดเชื้อ 11,276 ราย เสียชีวิต 112 ราย

ไทยฉีดวัคซีนแล้ว 71 ล้านโดส ในจำนวนนี้มีผู้ได้รับวัคซีนครบ 2 เข็มประมาณ 28,830,021 โดส

วันที่ 22 ต.ค. 2564 ‘หมอพร้อม’ รายงานสถิติการฉีดวัคซีน วันที่ 28 ก.พ. – 26 ต.ค. 2564 ฉีดวัคซีนเพิ่มขึ้น694,868 โดส สะสม 71,410,579 โดส จำแนกเป็น
• เข็ม 1 : เพิ่ม 328,533 ราย สะสม 40,436,856 โดส
• เข็ม 2 : เพิ่ม 330,534 ราย สะสม 28,830,021 โดส
• เข็ม 3 : เพิ่ม 35,697 ราย สะสม 2,141,937 โดส
• เข็ม 4 : เพิ่ม 104 ราย สะสม 1,765 โดส

ทำความรู้จัก โควิด-19 สายพันธุ์ย่อย เดลตาพลัส AY.4.2

โควิดสายพันธุ์ เดลตาพลัส (Delta Plus) เป็นสายพันธุ์ย่อยของสายพันธุ์เดลตา ( AY.4.2) ถูกจัดให้เป็นเชื้อกลายพันธุ์ที่น่ากังวลเมื่อเดือน พ.ค. ที่ผ่านมา ก่อนที่ในเดือน ก.ค. ผู้เชี่ยวชาญจะพบสายพันธุ์ AY.4.2 จากนั้นได้เริ่มแพร่ระบาดอย่างช้า ๆ การกลายพันธุ์ของเชื้อไวรัส จะส่งผลต่อโปรตีนส่วนที่เป็นปุ่มหนาม (spike protein) ซึ่งเชื้อไวรัสใช้ในการเข้าไปยังเซลล์ของร่างกายคนเรา

สายพันธุ์ AY.4.2 แพร่ระบาดได้ง่าย แต่เทียบไม่ได้กับสายพันธุ์อย่างอัลฟาและเดลตา ซึ่งแพร่ระบาดได้ง่ายกว่าถึง 50-60% ดร.แอนดรูว์ โพลลาร์ด หัวหน้ากลุ่ม Oxford Vaccine Group ระบุว่า เดลตาพลัส ไม่น่าจะทำให้สถานการณ์โควิดเปลี่ยนไป แต่เมื่อมีการค้นพบสายพันธุ์ใหม่ แน่นอนว่าก็ควรเฝ้าระวัง แต่ก็ไม่มีอะไรบ่งชี้ว่า สายพันธุ์ใหม่นั้นจะมาแทนที่เดลตา

นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค (คร.) ระบุว่า ประเทศไทยมีระบบเฝ้าระวังสายพันธุ์หลักและสายพันธุ์ย่อยต่าง ๆ อย่างต่อเนื่องและเมื่อตรวจสอบดูพบรายงานของ เดลตาพลัส เพียง 1 ราย และไม่มีรายอื่นที่เกี่ยวเนื่อง

ทั้งนี้ ผู้ป่วยเป็นชายอายุ 49 ปี ประวัติทำงานที่บางไทร จ.อยุธยา ซึ่งมีการส่งตัวอย่างที่สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์การแพทย์ทางทหาร กองทัพบก (AFRIMS) พบสายพันธุ์ AY.4.2 เป็นการตรวจพบตั้งแต่เดือน ก.ย. 2564 ซึ่งปัจจุบันผู้ป่วยได้รักษาหายแล้ว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า