SHARE

คัดลอกแล้ว

แพทย์จุฬาฯ ย้ำการฉีดวัคซีนเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ให้ได้ 60-70% ขึ้นไป ทำให้การระบาดเชื้อโควิด-19 ลดและบรรเทาลง ยืนยีน ‘โควิด-19’ โรคนี้จะคงอยู่กับเรา ซีนโควิดที่ใช้มีประสิทธิภาพมากกว่า 90%

วันที่ 24 พ.ย. 2564 ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย โพสต์ข้อความระบุว่า ‘โควิด-19 โรคนี้จะคงอยู่กับเรา’ เดิมเมื่อมีการระบาดใหม่ๆ เรามีความพยายามที่จะกวาดล้าง ให้ได้เหมือนกับโรค SARS ที่ระบาดในปี 2003 แต่แล้วก็ไม่สามารถที่จะกำจัดได้ โรคได้ระบาดไปทั่วโลก pandemic ต่อมาได้มีการคิดถึงภูมิคุ้มกันหมู่ เพื่อจะยุติการระบาดของโรค

แนวคิดการเร่งสร้างภูมิคุ้มกันด้วยวัคซีนจึงเป็นทางออก ให้ประชากรส่วนใหญ่มีภูมิต้านทาน เพื่อปกป้องประชากรส่วนน้อยที่ไม่มีภูมิต้านทาน โดยคาดการณ์ตามอํานาจการกระจายโรค อยู่ที่ 2-3 ก็จะใช้ภูมิต้านทานหมู่ประมาณ 60-70 เปอร์เซ็นต์ ก็น่าจะยุติบรรเทาลงได้ เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงพันธุกรรมเป็นสายพันธุ์เดลต้า การแพร่กระจายของโรคใด้เกิดขึ้นอย่างรวดเร็ว และมีการระบาดรอบใหม่เกิดขึ้น

ปัจจุบันเรารู้แล้วว่า วัคซีนป้องกันความรุนแรงของโรค ลดการป่วยตาย ลดการนอนโรงพยาบาลให้ระบบสาธารณสุขคงอยู่ได้ ไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อได้ ความหวังภูมิคุ้มกันหมู่ จึงไม่สามารถที่จะให้โรคสงบลงได้ จากบทเรียนของไข้หวัดใหญ่ วัคซีนก็ไม่สามารถที่จะป้องกันการติดเชื้อได้ สามารถป้องกันกลุ่มเสี่ยงลดการป่วยตาย และการระบาดเป็นฤดูกาล สายพันธุ์มีการเปลี่ยนแปลง จึงต้องมีการเฝ้าระวังสายพันธุ์ คัดเลือกสายพันธุ์ที่เหมาะสม นำมาพัฒนาวัคซีนประจำปี ไม่ว่าจะเป็น ซีกโลกเหนือ หรือซีกโลกใต้ องค์การอนามัยโลกจะเป็นคนกำหนด Covid 19 vaccine เมื่อเริ่มต้นพัฒนา เห็นหนทางสดใสมาก เพราะ มีวัคซีนที่มีประสิทธิภาพมากกว่าร้อยละ 90 ในการลดการป่วยแบบมีอาการ ซึ่งสูงกว่าไข้หวัดใหญ่มาก ไข้หวัดใหญ่มีประสิทธิภาพเพียง 50% และบางปีอาจจะน้อยกว่าด้วยซ้ำ แต่ความจริงหาเป็นเช่นนั้นไม่ ประสิทธิภาพในการป้องกันดังกล่าวเกิดขึ้นในช่วง 2-3 เดือนแรกเท่านั้น เมื่อนานขึ้นภูมิต้านทานลดลง ไวรัสเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ทำให้ประสิทธิภาพลดลงอย่างมาก เพียงแค่ 6 เดือนเท่านั้น ก็เห็นได้ชัดว่าการป้องกันโรคลดลง จึงมีความพยายามที่จะให้มีการกระตุ้น ให้ภูมิต้านทานขึ้นสูงและอยู่นาน

ในปัจจุบันทราบแล้วว่าภูมิต้านทานที่สร้างขึ้นจากวัคซีนส่วนใหญ่ จะเป็นเพียงส่วน ต่อหนามแหลม ของตัวไวรัส และภูมิต้านทานที่เกิดขึ้นจากวัคซีน สู้ภูมิต้านทานที่เกิดจากการติดเชื้อไม่ได้ ถ้ามีการติดเชื้อ แล้วกระตุ้นด้วยวัคซีน ประสิทธิภาพในการป้องกันจะสูงกว่าภูมิต้านทานจากวัคซีนอย่างเดียว

ตรรกะนี้น่าสนใจ ถ้าจำลองให้เกิดการติดเชื้อแบบไม่มีอาการ หรือการใช้วัคซีนให้คล้ายกับการติดเชื้อมากที่สุด แล้วกระตุ้นด้วยวัคซีนที่มีอยู่ ก็จะได้ประโยชน์สูงสุด ฝรั่งเศสเอง (Valneva) กำลังพัฒนาวัคซีนเชื้อตาย ที่ให้มีประสิทธิภาพสูง โดยการใส่สารช่วยกระตุ้นภูมิต้านทาน ถึง 2 ชนิด คือ Alum เช่นเดียวกับวัคซีนของจีน และเพิ่ม CpG เข้าไปอีก 1 ตัว เพื่อจะจำลองให้คล้ายกับการติดเชื้อมากที่สุด ผลการศึกษา ทำให้หลายประเทศโดยเฉพาะในยุโรป ตั้งความหวังไว้มาก มีการจองวัคซีนของฝรั่งเศสไว้เป็นจำนวนมาก

จากข้อมูลทั้งหมดแต่เห็นว่า ถ้าต้องการลดการป่วยตาย ทุกคน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงจะต้องได้รับวัคซีนทั้งหมด จะหวังรอภูมิคุ้มกันหมู่ไม่ได้ ประเทศไทยจะต้องฉีดวัคซีนให้มากที่สุด เป้าหมายกระทรวงสาธารณสุข ภายในวันที่ 5 ธันวาคมนี้ จะต้องฉีดวัคซีนให้ครบ 100 ล้านโดส

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า