SHARE

คัดลอกแล้ว

กระทรวงสาธารณสุข ลงนามจัดซื้อยาโมลนูพิราเวียร์ 5 หมื่นคอร์สการรักษา เพื่อให้ผู้ป่วยโควิด-19 เข้าถึงยาใหม่ชนิดรับประทาน เน้นกลุ่มที่มีอาการเล็กน้อยถึงปานกลางและมีความเสี่ยงเกิดอาการรุนแรง อธิบดีกรมการแพทย์ เผยการพิจารณาร่างสัญญาและดำเนินการการจัดหายาโมลนูพิราเวียร์ มีเงื่อนไขสำคัญ 5 ข้อ

วันที่ 25 พ.ย. 2564 นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วย นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ร่วมพิธีลงนามสัญญาการจัดซื้อยาโมลนูพิราเวียร์ สำหรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศไทย ระหว่างรัฐบาลไทย โดย นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ และ ดร.แมรี เสรฐภักดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด โดยนายอนุทิน  กล่าวว่า โรคโควิด-19 เป็นโรคอุบัติใหม่ มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตจำนวนมาก องค์การอนามัยโลกประกาศให้เป็นการระบาดใหญ่ ส่งผลกระทบต่อประชาชนและระบบเศรษฐกิจทั่วโลก

สำหรับประเทศไทยมีมาตรการควบคุมโรคโควิด-19 คือ

1.ป้องกันการติดเชื้อ โดยสวมหน้ากาก ล้างมือ และเว้นระยะห่าง

2.เสริมสร้างภูมิต้านทานด้วยการให้วัคซีนครอบคลุมประชากรมากที่สุด

3.รักษาผู้ติดเชื้ออย่างมีประสิทธิภาพตามความรุนแรงของโรค โดยใช้สารสกัดจากฟ้าทะลายโจรในผู้ที่ไม่มีอาการ และใช้ยาฟาร์วิพิราเวียร์ในผู้ที่มีอาการแต่ไม่มีความเสี่ยงเกิดอาการรุนแรง กรณีที่ผู้ติดเชื้อที่มีอาการและมีความเสี่ยงเกิดอาการรุนแรง ยาโมลนูพิราเวียร์จะเป็นประโยชน์สำหรับผู้ป่วยกลุ่มนี้

ยารักษาโควิด-19 จึงมีความสำคัญและจำเป็น นโยบายการจัดหาจึงเน้นการเข้าถึงยาที่มีประสิทธิผลได้อย่างรวดเร็ว โดยอาศัยข้อมูลทางวิชาการหรือผลการศึกษาวิจัยที่มีคุณภาพเพียงพอในการสนับสนุนการตัดสินใจเชิงนโยบาย เพื่อพิจารณาเลือกและจัดหายาที่เหมาะสมมาใช้ ซึ่งยาโมลนูพิราเวียร์มีประสิทธิผลลดจำนวนผู้ป่วยที่ต้องเข้ารักษาในโรงพยาบาลและเสียชีวิตลงได้อย่างมีนัยสำคัญ

นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปัจจุบันประเทศไทยมีการใช้ยาต้านไวรัสเพื่อรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ได้แก่ ยาฟาวิพิราเวียร์ ยาเรมเดซิเวียร์ ส่วนยาโมลนูพิราเวียร์ที่จะจัดหาเข้ามานั้น มีผลการศึกษาระยะที่ 3 จากอาสาสมัครที่เข้าร่วมในโครงการจำนวน 762 รายที่สหรัฐอเมริกา โดยติดตามหลังให้ยาเป็นเวลา 29 วัน ผลการศึกษาทางคลินิกในเบื้องต้น (interim result) พบว่ากลุ่มที่ได้รับยาโมลนูพิราเวียร์เข้ารักษาที่โรงพยาบาล 28 ราย คิดเป็นร้อยละ 7 ไม่มีผู้เสียชีวิต

ส่วนกลุ่มที่ได้รับยาหลอกเข้ารักษาที่โรงพยาบาล 53 ราย คิดเป็นร้อยละ 14 มีผู้เสียชีวิต 8 ราย สรุปได้ว่ายาโมลนูพิราเวียร์ลดความเสี่ยงเสียชีวิตหรือรักษาตัวในโรงพยาบาลในกลุ่มผู้ป่วยที่มีความรุนแรงของโรคน้อยถึงปานกลางได้ร้อยละ 50 เมื่อเทียบกับกลุ่มที่ได้รับยาหลอก ดังนั้น เพื่อให้ผู้ป่วยโควิด 19 ในประเทศไทยเข้าถึงยาชนิดใหม่ กระทรวงสาธารณสุข โดยกรมการแพทย์พิจารณาแล้วว่า จำเป็นต้องจัดหาและจัดซื้อยาโมลนูพิราเวียร์ โดยกรมการแพทย์รับผิดชอบสัญญาการจัดหาและจัดซื้อจำนวน 5 หมื่นคอร์สการรักษา เพื่อช่วยลดความเสี่ยงการเสียชีวิตหรือการรักษาตัวในโรงพยาบาลต่อไป

ด้าน นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า จากการแพร่ระบาดของโรคโควิด 19 ทั่วโลก ทำให้มีการศึกษาวิจัยโดยค้นพบว่า ยาโมลนูพิราเวียร์สามารถรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีอาการเล็กน้อย หรือปานกลางที่มีความเสี่ยงเกิดอาการรุนแรง เช่น ภาวะอ้วน อายุมากกว่า 60 ปี เป็นเบาหวาน โรคหัวใจ โรคมะเร็ง เป็นต้น

ปัจจุบันอยู่ระหว่างการขอขึ้นทะเบียนกับองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (US FDA) รวมถึงสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ประเทศไทย

สำหรับแผนการจัดหายาดำเนินการโดยประมาณการผู้ติดเชื้อประมาณ 1 หมื่นรายต่อวัน คาดว่ามีผู้ติดเชื้อที่มีข้อบ่งชี้ในการใช้ยา 1 พันรายต่อวัน จึงพิจารณาจัดหายาโมลนูพิราเวียร์ 5 หมื่นคอร์สการรักษา ซึ่งยาขนาดบรรจุภัณฑ์ 1 หน่วย ประกอบด้วยยาขนาด 200 มิลลิกรัมต่อแคปซูล จำนวน 40 แคปซูล รับประทานครั้งละ 4 แคปซูล (800 มิลลิกรัม) วันละ 2 ครั้ง ห่างกันทุก 12 ชั่วโมง เป็นระยะเวลาติดต่อกัน 5 วัน

การพิจารณาร่างสัญญาและดำเนินการการจัดหายาโมลนูพิราเวียร์ มีเงื่อนไขสำคัญ ได้แก่

1.ได้รับอนุมัติกรอบวงเงินจำนวน 500 ล้านบาทจากคณะรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 9 พฤศจิกายน 2564 ในการจัดซื้อยา 5 หมื่นคอร์สการรักษา

2.สามารถนำยาเข้ามาในประเทศไทย เมื่อได้รับการขึ้นทะเบียนจาก อย.ไทยแล้วเท่านั้น

3.มีการเจรจาต่อรองราคายาโดยให้รวมภาษีและค่าขนส่ง

4.จำเป็นต้องดำเนินการสัญญาภายใต้มาตรฐานสัญญา (ภาษาอังกฤษ) ที่บริษัท เมอร์ค แอนด์ คัมปานี อินคอร์ปอเรท ซึ่งได้ทำสัญญากับหลายประเทศ โดยได้ส่งร่างสัญญาดังกล่าวให้สำนักงานอัยการสูงสุดตรวจพิจารณาแล้ว

5.จัดซื้อยาเป็นไปตามเงื่อนไขการซื้อยาภายใต้เงื่อนไขการรักษาโรคโควิด-19 ตามที่คณะกรรมการวินิจฉัยปัญหาการจัดซื้อจัดจ้างและการบริหารพัสดุภาครัฐกำหนด

ดร.แมรี เสรฐภักดี กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท เอ็มเอสดี (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า เอ็มเอสดี รู้สึกภูมิใจเป็นอย่างยิ่งที่ได้ทำงานร่วมกับกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในการต่อสู้กับวิกฤตโรคระบาด การลงนามในสัญญาข้อตกลงนี้ เป็นตัวอย่างของการทำงานร่วมกันระหว่างภาครัฐและบริษัทผู้ค้นคว้าวิจัยและผลิตยานวัตกรรม ในการร่วมกันจัดการกับวิกฤตโรคระบาดในประเทศไทย
ดร.แมรี กล่าวเพิ่มเติมว่า เอ็มเอสดี ได้ทำงานร่วมกันกับกรมการแพทย์ และแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ทำให้ประเทศไทยได้เข้าร่วมในโครงการวิจัยทางคลินิก “MOVe-AHEAD Study” ซึ่งอยู่ระหว่างศึกษาวิจัยในระยะที่ 3 ร่วมกับอีกหลายประเทศทั่วโลก โดยมี 5 สถาบันในประเทศไทย ซึ่งโรงพยาบาลราชวิถี กรมการแพทย์เข้าร่วมการศึกษาดังกล่าวด้วย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า