SHARE

คัดลอกแล้ว

คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ตอบ 11 คำถามสำคัญเชื้อโควิด-19 กลายพันธุ์ ‘โอไมครอน’

วันที่ 21 ธ.ค. 2564 ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ (Center for Medical Genomics) คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ตอนคำถามสำคัญเกี่ยวกับ ‘โอไมครอน’ ดังนี้

1. โอไมครอนมีที่มาอย่างไร
จากการวิเคราะห์รหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของ “โอไมครอน” ย้อนกลับคาดว่าเกิดเป็นโรคอุบัติใหม่ในทวีปแอฟริการาวเดือน ตุลาคม 2564

9 พฤศจิกายน 2564 เจ้าหน้าที่แล็บของ “Lancet Laboratories ใน พริทอเรีย หนึ่งในเมืองหลวงสามเมืองของแอฟริกาใต้” ตรวจพบความผิดปรกติในการตรวจ PCR คือตรวจไม่พบหนึ่งใน 3 ยีน (S gene dropout หรือ S gene target failure)

24 พฤศจิกายน 2564 ประเทศแอฟริกาใต้ แจ้งให้ WHO ทราบ ถึงการระบาดของสายพันธุ์ใหม่ “B.1.1.529” โดยจากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมพบว่ามีการกลายพันธุ์ต่างจากไวรัส “Wuhan” ถึง “60 ตำแหน่ง” โดยเฉพาะบริเวณหนาม ต่างไปถึง “35 ตำแหน่ง”

26 พฤศจิกายน 2564 WHO ตั้งชื่อตามอักษรกรีกลำดับที่ 15 ว่า “โอไมครอน”

2. โอไมครอนจะมีการระบาดเข้ามาแทนที่ “เดลตา” ได้อย่างสมบูรณ์หรือจะกลายเป็น Twindemic (Twin-แฝด + Pandemic-การระบาดใหญ่) กล่าวคือเกิดการระบาดสองสายพันธุ์ (เดลตา และ โอไมครอน) ไปพร้อมกัน

ข้อมูลจากแอฟริกาใต้ แสดงให้เห็นว่า “โอไมครอน” เข้ามาแทนที่ “เดลตา” เป็นที่เรียบร้อย

ข้อมูลจากสวีเดน โอไมครอน” กำลังระบาดเข้ามาแทนที่ “เดลตา” ในอีก 1 อาทิตย์ข้างหน้า แม้ประชากรจะฉีดวัคซีนแล้วร้อยละ 80%

ข้อมูลจากอังกฤษพบ “โอไมครอน”ประมาณ 50% จากผู้ติดเชื้อรายใหม่

ข้อมูลจากอเมริกา “โอไมครอน” เริ่มระบาด ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ยังเป็น “เดลตา”

สรุปได้ว่า “โอไมครอน” น่าจะระบาดเข้ามาแทนที่สายพันธุ์เดิม โดยในแต่ละประเทศจะใช้เวลาการเข้ามาแทนที่ช้าเร็วแตกต่างกัน

3. เราควรปิดประเทศหรือไม่ เพื่อเลี่ยงการระบาดของ “โอไมครอน”

การปิดประเทศเป็นเพียงทำให้การระบาดของ “โอไมครอน” ช้าลง เพื่อให้มีเวลาในการเตรียมพร้อม เช่น เร่งฉีดวัคซีน เตรียม ยา เตรียม รพ. เตรียมเครื่องช่วยหายใจให้พร้อม ฯลฯ อย่างไรก็ดีต้องชั่งน้ำหนักให้ดีหากจะปิดควรปิดในพื้นที่เล็ก และเท่าที่จำเป็นเท่านั้น เพราะการปิดทั้งจังหวัดหรือทั้งประเทศเนื่องจากความ “ตระหนก” จะส่งผลกระทบอย่างมากต่อ เศรษฐกิจ การศึกษา (ทั้งเด็กเล็กและเด็กโต) และ สุขภาพจิต (อาจนำมาสู่การประท้วงใหญ่ นำไปสู่การไม่ให้ความร่วมมือของประชาชนในการควบคุมโรค เช่น การใส่หน้ากากอนามัย การฉีดวัคซีน ดังที่เกิดขึ้นในหลายประเทศในยุโรบและอเมริกา)

4. มีโอกาสรับเชื้อ “โอไมครอน” จากประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกันหรือไม่
ข้อมูลจากไทยและประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดกับไทย พบการติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 อยู่ในช่วงขาลงด้วยกันทั้งสิ้น มีผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้เสียชีวิตลดลงมาก พบการติดเชื้อ “โอไมครอน” ประปราย ดังนั้นมีโอกาสพอๆกันที่ไทยจะแพร่สายพันธุ์ “โอไมครอน”ให้กับเพื่อนบ้านพอๆกับที่เพื่อนบ้านจะแพร่ให้กับไทยบริเวณชายแดน

5. จะเกิดสายพันธุ์ลูกผสมระหว่าง “โอไมครอน” และ เดลตา” หรือไม่ และหากเกิดขึ้นแล้วจะส่งผลอย่างไร
สายพันธุ์ลูกผสมเกิดขึ้นแล้วระหว่าง “โอไมครอน” กับ “ไวรัสโคโรนา” ที่ก่อให้เกิดไข้หวัด (common cold) มีโอกาสสูงที่จะเกิดลูกผสมระหว่าง “โอไมครอน” และ “เดลตา” แต่คาดเดาไม่ได้ว่าจะมีอาการรุนแรงขึ้นกว่าสายพันธุ์ดั้งเดิมหรือไม่

6. ท้ายที่สุด “โอไมครอน” จะกลายเป็นสายพันธุ์ที่ก่อให้เกิดโรคประจำถิ่น (Endemic) หรือไม่ ตอนนี้เริ่มเห็นแสงสว่างรำไรปลายอุโมงค์ ผู้ติดเชื้อ “โอไมครอน” มีอาการไม่รุนแรง ไม่ต้องเข้า รพ. เป็นส่วนใหญ่ ตัวไวรัสเองทำหน้าเสมือนวัคซีน “เชื้อเป็น” สร้างภูมิคุ้มกันไวรัสโคโรนา 2019 ไปทั่วโลก ผนวกกับภูมิคุ้มกันที่ประชากรโลกได้รับจากการฉีดวัคซีนน่าจะทำให้ไวรัสโคโรนา 2019 กลายสภาพเป็นโรคประจำถิ่นได้ กล่าวคือมีการติดต่อในวงแคบ อาการไม่รุนแรง และอาจมีการแพร่ระบาดตามฤดูกาล คล้ายไข้หวัดในที่สุด

7. ทำไมการติดเชื้อ “โอไมครอน” จึงมีอาการไม่รุนแรง เมื่อเทียบกับสายพันธุ์ดั้งเดิม มีความเป็นไปได้สองแนวทางซึ่งต้องใช้เวลาในการเก็บรวบรวมข้อมูลทางคลินิกมายืนยัน

แนวทางที่หนึ่ง “โอไมครอน” มิได้มีอาการมารุนแรง ลดลง แต่เป็นเพราะมนุษย์มีภูมิคุ้มกันมากขึ้นจากการติดเชื้อตามธรรมชาติและการฉีดวัคซีน

แนวทางที่สอง รายงานจากนักวิจัยจากมหาวิทยาลัยฮ่องกง พบว่า “โอไมครอน” เพิ่มจำนวนในหลอดลม (bronchus) ได้รวดเร็วกว่าเดลตาถึง “70 เท่า” แต่ไม่ติดเชื้อลงลึกเข้าไปในเนื้อปอด ไม่แพร่ไปที่ถุงลมอันก่อให้เกิดอาการปอดอักเสบ ซึ่งน่าจะปัจจัยที่ทำให้ “โอไมครอน” แพร่ระบาดได้รวดเร็ว กว่าทุกสายพันธุ์ แต่มีอาการไม่รุนแรง
https://researchnews.cc/…/HKUMed-finds-Omicron-SARS-CoV…

8. วัคซีนที่เราฉีดเข้าไปจะช่วยป้องกันการติดเชื้อ การเจ็บป่วย การเสียชีวิต ได้มากน้อยแค่ไหน
ต้องรอดูจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่และจำนวนผู้เสียชีวิตในประเทศเพื่อนบ้านที่มีชายแดนติดต่อกับเราว่าเป็นอย่างไร เพราะมีการฉีดวัคซีน เชื้อตาย ตามด้วยวัคซีนไวรัสเป็นพาหะ และฉีดเข็มกระตุ้นด้วยวัคซีน mRNA เช่นเดียวกับปะเทศไทย โดยข้อมูลล่าสุด จำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่และผู้เสียชีวิตลดลงอย่างต่อเนื่อง เช่นเดียวกับประเทศไทย

9. ทำไมต้องฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นที่ 3 และควรห่างจากเข็มที่สองกี่เดือน
เนื่องจากภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อไวรัสก่อโรคทางเดินหายใจตามธรรมชาติเองก็อยู่ไม่นาน ภูมิจะตกลงไปใน 3 เดือน 6 เดือนอันเป็นเรื่องปรกติ เราจึงควรฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นภายใน 3-6 เดือนหลังเข็มที่ 2 และอาจพิจารณาฉีดเข็มที่ 4 ใน 6-12 เดือนหลังจากเข็ม 3 (ภาพที่ 7-8) การฉีดวัคซีนกระชั้นไปจะไม่เกิดประโยชน์อะไร ควรรอให้ภูมิเริ่มตกสักหน่อยถึงฉีดกระตุ้นจะได้ประสิทธิภาพสูงกว่า การฉีดวัคซีนประเภทเดียวกันซ้ำๆ และถี่เกินไปจะทำให้เม็ดเลือดขาวในร่างกายเราทั้งประเภท B และ T cells จดจำแต่เฉพาะวัคซีนที่ฉีดเข้าไป หากในอนาคตเกิดมีความจำเป็นต้องใช้วัคซีนชนิดใหม่ B และ T cells อาจไม่เหลือ memory cells เพียงพอที่จะให้จดจับ

10. เราควรปฏิบัติตัวอย่างไรเพื่อช่วยลดการแพร่ระบาดของ “โอไมครอน”
I. สวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่างทางสังคม อยู่ในพื้นที่อากาศถ่ายเท อายน้ำ สระผมทุกวัน
II. ฉีดวัคซีนเข็ม 3 ใน 3 เดือน และเตรียมพร้อมรับการฉีดเข็ม 4 ใน 6 เดือนหากจำเป็น
III. เตรียมยาต้านไวรัส ทั้งสมุนไพรไทย และ ยาต่างประเทศ ให้พร้อมใช้ในทันทีที่ติดเชื้อ
IV. ภาครัฐบริหารจัดการเรื่องการตรวจกรองด้วย “PCR” ส่วนภาคประชาชนให้ความร่วมมือด้วยการตรวจ “ATK” แล้วรายงานให้เจ้าหน้าที่สาธารสุข ได้ทราบ
V. ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี ตรวจจีโนไทย์ 37 ตำแหน่ง เพื่อบ่งชี้ 7 สายพันธุ์พร้อมกัน (โอไมครอน, เดลตา, อัลฟา, บีตา, แกมมา, B.1.36.16, และ B.1.524 ภายใน 48 ชั่วโมง สามารถตรวจได้ 500-1,000 ตัวอย่างต่อ สัปดาห์
VI. ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ รพ. รามาธิบดี สนับสนุนกระทรวงสาธารสุข ในการถอดรหัสพันธุกรรม โดยสามารถช่วยถอดรหัสพันธุกรรมของไวรัสโคโรนา 2019 ทั้งจีโนมจำนวน 50-100 ตัวอย่างต่อสัปดาห์ และหากมีความจำเป็นสามารถปรับเป็น 1,000 ตัวอย่างต่อสัปดาห์ได้ในทันที เพื่อใช้เป็นเครื่องมือในการควบคุมโรค และติดตามการกลายพันธุ์ว่าส่งผลต่อ ชุดตรวจ วัคซีน และ ยา หรือไม่ (ภาพ 10)
VII. ให้ความร่วมมือกับทั่วโลกด้วยการแชร์ข้อมูลรหัสพันธุกรรมบนฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID”
VIII. สนับสนุนกรมควบคุมโรค และบุคลากรทางการแพทย์หน้างาน เช่น อาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (village health volunteers, VHV) หรือ อสม. เข้าควบคุมตัดตอนการระบาดอย่างรวดเร็ว

11. ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯ ตรวจพบสายพันธุ์ “โอไมครอน” จากผุู้ติดเชื้อกี่รายแล้ว คำตอบคือสองราย รายแรกเป็นตัวอย่างที่ส่งมาจากทางกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ฯ เพื่อให้ช่วยยืนยัน รายที่สองเป็นผู้ที่เดินทางกลับมาจากต่างประเทศ โดยเมื่อตรวจพบแล้วจะแจ้งต่อ สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง (สปคม.) และทีมสอบสวนกลาง กรมควบคุมโรค เพื่อดำเนินการเข้าควบคุมโรค

 

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า