SHARE

คัดลอกแล้ว

ศบค.เผยวันนี้พบผู้เสียชีวิตโอไมครอน 2 รายของไทย ชี้ติดเชื้อมาจากคนในครอบครัว ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงวัย ป่วยติดเตียงมีโรคประจำตัว 

วันที่ 17 ม.ค. 2565 พญ.อภิสมัย ศรีรังสรรค์ ผู้ช่วยโฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 หรือ ศบค. แถลงรายละเอียดผู้เสียชีวิตจากการติดเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน รายที่ 2 ดังนี้

• ผู้เสียชีวิต เพศหญิง อายุ 84 ปี ภูมิลำเนา อำเภอกุดจับ จังหวัดอุดรธานี ไม่มีประวัติการได้รับวัคซีน
• โรคประจำตัว : มะเร็งที่ปอดระยะสุดท้าย รักษาแบบประคับประคอง ใส่ออกซิเจน
• ไม่มีประวัติการได้รับวัคซีน
• ประวัติเสี่ยง : เป็นผู้ป่วยติดเตียง ครอบครัวเป็นผู้ติดเชื้อโควิด 19

9 ม.ค. 2565 : ตรวจหาเชื้อโควิด 19 ด้วยวิธี RT -PCR เนื่องจากเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูงของลูกชาย

10 ม.ค.2565 : ตรวจพบเชื้อ โรงพยาบาลประสานเพื่อเข้ารับรักษา ผู้ป่วยและญาติปฏิเสธการเข้ารักษาในโรงพยาบาล
– แพทย์อนุญาติให้เข้าสู่ระบบ Home Isolation ตามความประสงค์ของผู้ป่วยและญาติ
– แพทย์ให้ยาฟาวิพิราเวียร์ ตามแผนการรักษา และจัดเครื่องวัดอุณหภูมิร่างกายและออกซิเจนปลายนิ้ว โดยออกซิเจนปลายนิ้วอยู่ระหว่าง 86-90% ไม่มีไข้

11-12 ม.ค.2565 : ออกซิเจนปลายนิ้วอยู่ระหว่าง 86-90% ไม่มีไข้

13-14 ม.ค.2565 : รับประทานอาหารได้น้อยลง ไม่มีหายใจหอบ ไม่มีไข้ ออกซิเจนปลายนิ้ว 86-87%

15 ม.ค.2565 : เริ่มมีอาการเหนื่อย หายใจหอบ ออกซิเจนปลายนิ้ว <76% ประสานนำส่งผู้ป่วยไปโรงพยาบาล แต่ญาติปฏิเสธการเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล
– แพทย์ให้เพิ่มฟาวิพิราเวียร์ จาก 5 วัน เป็น 10 วัน และเพิ่มมอร์ฟีน ให้เนื่องจากยาเดิมหมด
– เวลา 16.00 น. ผู้ป่วยตอบสนองได้น้อยลง หายใจหอบลึก และคลำชีพจรไมได้ หัวใจหยุดเต้น เสียชีวิตเวลา 19.45 น. รวมระยะเวลารักษา Home Isolation 6 วัน

สำหรับสูตรการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นในเดือน ม.ค.2565 กรณีฉีดฉีดชิโนแวค-ชิโนแวคทั้ง 2 เข็ม หลังจากเข็ม 2 4 สัปดาห์ให้ไปรับเข็ม 3 เข็มกระตุ้นได้ทันที ส่วนฉีดชิโนแวค-แอสตร้าเซเนก้าตั้งแต่เดือนส.ค.-เดือนต.ค.2564 ฉีดเข็มกระตุ้นด้วยแอสตร้าเซเนก้าเป็นหลักส่วนผู้ฉีดแอสตร้าเซเนก้าทั้งเข็ม 1 และเข็ม 2 โดยเข็ม 2 ฉีด ตั้งแต่เดือนส.ค.-เดือนต.ค.2564 เมื่อระยะเว้นสามเดือนขึ้นไปขอให้ไปฉีดกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยวัคซีนไฟเซอร์ ส่วนผู้ฉีดวัคซีนสูตรไขว้ โดยเข็ม 1 เป็นชิโนแวค เข็ม 2 เป็นแอสตร้าเซเนก้า ตั้งแต่เดือนส.ค.-เดือนต.ค.2564 ให้ฉีดกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยวัคซีนแอสตร้าเซเนก้าตั้งแต่ตอนนี้เป็นต้นไป รวมทั้งกลุ่มผู้ที่เคยมีประวัติติดเชื้อโควิด-19 มาก่อน ซึ่งภูมิคุ้มกันจะลดลงโดยธรรมชาติหลัง 3 เดือน ต้องฉีดกระตุ้นเข็ม 3 ด้วยวัคซีนแอสตร้าเซเนก้า

พญ.อภิสมัย กล่าวต่อว่า สูตรการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นที่กระทรวงสาธารณสุขประกาศออกมามีผลวิจัยรองรับว่ามีความปลอดภัยและกระตุ้นภูมิคุ้มกันให้มีประสิทธิภาพสูงได้ถึง 90% และ 100% ป้องกันการป่วยหนักและเสียชีวิตแต่หากต้องการการฉีดวัคซีนด้วยสูตรอื่น นอกเหนือจากนี้ขอให้ดูตามความพร้อมของวัคซีนในพื้นที่ หากในพื้นที่มีความพร้อม สามารถแจ้งความจำนงค์และระบุขอฉีดวัคซีนที่ท่านเลือกได้ ในกรณีที่พื้นที่มีความพร้อมในเรื่องของวัคซีน ทั้งนี้ ประชาชนในพื้นที่กทม.ลงทะเบียนผ่านแอพพลิเคชั่น QUEQ หรือติดต่อที่สถานีกลางบางซื่อ ซึ่งมีการฉีดวันละ 5-6 หมื่นโดส อย่างไรก็ตาม ขออย่าให้ประมาท หมั่นตรวจ ATK หากพบว่ามีอาการไข้ หรือไอ ซึ่งในกทม.เปิดสายด่วนโควิด 50 เขต รับผู้ป่วยโควิดเข้าระบบการรักษา

สธ.เผยผู้เสียชีวิตทั้ง 2 ราย เป็นผู้สูงอายุ ป่วยติดเตียง ลูกหลานนำเชื้อไปแพร่

นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กล่าวว่า ไทยพบผู้ติดเชื้อโอไมครอนเสียชีวิต 2 ราย

รายที่ 1 จ.สงขลา เป็นหญิงไทย อายุ 86 ปี เป็นผู้ป่วยติดเตียงและอัลไซเมอร์ ได้รับวัคซีนไฟเซอร์ 2 เข็ม ประวัติเสี่ยง หลานชายที่เดินทางกลับมาจาก จ.ภูเก็ต เป็นผู้ป่วยยืนยันโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอน แพร่เชื้อให้แก่คนในครอบครัว

วันที่ 6 ม.ค. ผู้ป่วยมีไข้ มีเสมหะ ทราบข่าวลูกสาวตรวจพบโควิด-19 หลานสาวตรวจหาเชื้อด้วย ATK ผลบวกจึงส่งต่อเข้ารับรักษาที่โรงพยาบาล (รพ.) หาดใหญ่

วันที่ 7 ม.ค. เข้ารับรักษาเป็นผู้ป่วยในที่ รพ.หาดใหญ่ แพทย์เก็บตัวอย่าง ส่งตรวจยืนยันที่ห้องปฏิบัติการ (แล็บ) ผลพบเชื้อมีอาการไข้ 38.5 องศาเซลเซียส ไอ หายใจลำบาก แพทย์รับไว้ที่แผนก เอกซเรย์ปอด ผล infltration both lungs, on ETT แพทย์จ่ายยา Dexamethasone 10mg., Remdesivir

วันที่ 12 ม.ค. ผู้ป่วยเสียชีวิต เวลา 09.20 น. ส่งตัวอย่างตรวจยืนยันสายพันธุ์ที่ ศวก.12 สงขลา ผลพบเชื้อ SAR-COV-2 สายพันธุ์ โอไมครอน

รายที่ 2 จ.อุดรธานี เพศหญิง อายุ 84 ปี ภูมิลำเนา อ.กุดจับ จ.อุดรธานี โรคประจำตัว มะเร็งที่ปอดระยะสุดท้าย รักษาแบบประคับประคอง ใส่ออกซิเจน ไม่มีประวัติการได้รับวัคซีน ความเสี่ยง เนื่องจากเป็นผู้ป่วยติดเตียง ครอบครัวเป็นผู้ติดเชื้อโควิด

นพ. เฉวตสรร กล่าวว่า การเสียชีวิตของผู้ป่วยทั้ง 2 รายนี้ จะเห็นว่ามีการติดเชื้อมาจากคนในครอบครัว และปัจจัยสำคัญของการเจ็บป่วยและเสียชีวิต คือ สูงอายุ มีโรคประจำตัว ขอให้ทุกครอบครัวระมัดระวัง อย่าใกล้กลุ่มคนเปราะบาง ขอให้เคร่งครัดมาตรการส่วนบุคคล และพากลุ่มคนเปราะบางเหล่านี้มารับวัคซีน เข็มกระตุ้น หรือ เข็มที่ 3 เพื่อให้มีระดับภูมิคุ้มกันที่สูงขึ้น เพราะอาจเป็นไปได้ว่า ธรรมชาติของคนสูงอายุระดับภูมิคุ้มกันไม่ได้สูงอยู่แล้ว พร้อมีแนวคิดปรับร่นระยะเวลาการรับวัคซีน ชนิด mRNA ทั้ง ไฟเซอร์ และ โมเดอร์นา จากเดิม การรับเข็มกระตุ้น หรือ เข็มที่ 3 ต้องห่าง 6 เดือน เหลือแค่ 3 เดือน เท่านั้น เพื่อให้ได้รับวัคซีนเร็วขึ้น เพื่อภูมิคุ้มกันต่อโอไมครอน

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า