SHARE

คัดลอกแล้ว

แพทย์ย้ำความจำเป็นฉีดวัคซีนเด็ก ยืนยันวัคซีนไฟเซอร์ฝาสีส้มปลอดภัย เริ่มฉีดกลุ่มแรก 31 ม.ค.นี้ที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี

วันที่ 27 ม.ค. 2565 วัคซีนไฟเซอร์เด็กกว่า 3 แสนโดสถูกส่งถึงประเทศไทยเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อวานนี้ หลังจากผ่านการตรวจสอบคุณภาพแล้วกระทรวงสาธารณสุขจะเริ่มฉีดวัคซีนให้กับเด็กอายุระหว่าง 5-11 ปี โดยเด็กกลุ่มแรกที่จะได้ฉีดก่อนคือเด็กที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยง ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่หเลขา ประธานราชวิทยาลัยกุมารแพทย์แห่งประเทศไทย อธิบายเหตุผลของการฉีดวัคซีนในเด็กว่า เด้กที่ติดเชื้อโควิด-19 ส่วนใหญ่จะมีอาการไม่มากแต่จำเป็นต้องฉีดวัคซีนเพราะจะมีปัญหาแทรกซ้อนเวลาติดโควิด-19 แล้วไม่มีอาการ แต่หลังจาก 1 เดือนให้หลังเด็กอาจมีอาการอักเสบของอวัยวะต่างๆ ที่เรียกว่า MIS-C ซึ่งอาจรุนแรงได้ ดังนั้น การฉีดวัคซีนป้องกันไว้ก่อนจะดีกว่า

ศ.นพ.สมศักดิ์ ระบุว่า รายงานจากทั่วโลก และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้ให้การรับรองวัคซีนไฟเซอร์เอาไว้แล้ว โดยวัคซีนไฟเซอร์ที่ใช้สำหรับเด็กจะไม่เหมือนวัคซีนไฟเซอร์ที่ใช้กับผู้ใหญ่ วัคซีนไฟเซอร์ของเด็กจะมีฝาสีส้ม ฉีดในปริมาตร 0.2 ซีซี เพื่อปลอดภัย ย้ำว่าไม่ต้องกังวลการฉีดวัคซีนชนิด mRNA ในอเมริกาฉีดเด็กไปเกือบ 9 ล้านคนแล้วไม่มีปัญหา นอกจากแขนบวมนิดหน่อยและไม่เกิน 2 วันอาการก็หายหมด ส่วนข้อมูลวัคซีนซิโนแวค และซิโนฟาร์ม ยังไม่มี และอย.ก็ยังไม่ให้การรับรอง ซึ่งการฉดีวัคซีนในเด็กต้องรอข้อมูลที่ปลอดภัย การฉีดวัคซีนในเด็กจำเป็ และควรฉีดวัคซีนที่มีการรับรองจาก อย. และเป็นไปตามคำแนะนำ

⚫️  เปิดขั้นตอนฉีดวัคซีนเด็ก มีโรคประจำตัว

นพ.อดิศัย ภัตตาตั้ง ผู้อำนวยการสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (โรงพยาบาลเด็ก) กล่าวว่า เด็กเล็กอายุ 5-11 ปี มีประมาณ 5 ล้านคน จำนวนนี้ที่มีโรคประจำตัว 7 กลุ่มโรค มีประมาณ 9 แสนคน โดยแนวทางการฉีดวัคซีนโควิดในเด็กอายุ 5-11 ปีที่มีโรคประจำตัว ยืนยันว่าเป็นไปตามความสมัครใจของผู้ปกครอง โดยคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดหรือ กทม. จะบริหารวัคซีนตามความเหมาะสมของจำนวนผู้ป่วยอายุ 5-11 ปีที่มีโรคประจำตัวและผู้ปกครองยินยอม ตามจำนวนวัคซีนที่รับการจัดสรร และตามความพร้อมของบุคลากร รวมถึงกุมารแพทย์ที่ให้การดูแลแต่ละจังหวัด

ขั้นตอนการฉีดเด็กที่มีโรคประจำตัว มี 4 ขั้นตอน 

1.คัดกรอง โดยเด็กสามารถรับประทานยาโรคประจำตัวได้ตามปกติที่แนะนำ รับประทานอาหารและน้ำได้ตามปกติ กุมารแพทย์จะประเมินว่า เด็กที่มีโรคประจำตัวมีข้อควรระวังอะไรหรือไม่ ซึ่งหลักๆ มี 2 เรื่อง คือ หนึ่ง ขณะป่วยมีไข้ ร่างกายอ่อนเพลีย ควรรักษาให้หายดีก่อน ชะลอหรือเลื่อนการฉีด จนกว่าจะเป็นปกติ หรือ สอง เด็กที่มีโรคประจำตัวอาการรุนแรงที่อาจอันตรายถึงเสียชีวิต อาการไม่คงที่ อาจชะลอไปก่อน ให้รักษาโรคประจำตัวให้ดีก่อน

2.ลงทะเบียนยืนยันการฉีดอีกครั้ง โดยเซ็นใบยินยอมว่าทบทวนดีแล้ว

3.การฉีดวัคซีน ซึ่งในผู้ใหญ่ให้จัดสถานที่โล่ง แต่ในเด็กเล็กหรืออนุบาล ซึ่งบางทีเมื่อเห็นเด็กคนไหนฉีดแล้วมีการร้อง อาจจะเกิดผลด้านจิตใจ เกิดอุปาทานหมู่ ยอมรับฉีดยากขึ้น ดังนั้น ขอให้จัดฉีดในสถานที่มิดชิด มีฉากกั้น ม่านกั้น หรือเป็นห้อง จะช่วยลดการกังวลของเด็ก

4.หลังฉีดรอดูอาการ 30 นาที เมื่อกลับบ้านไปแล้ว 1 สัปดาห์ไม่ควรออกกำลังกาย ปีนป่าย ว่ายน้ำ ที่ต้องใช้แรง ขอให้ช่วยกันดูแลตรงนี้

ข้อกังวลอาการข้างเคียงด้านหัวใจว่า ตามรายงานมีจริง แต่ทุกรายสามารถรักษากลับสู่ปกติได้หมด แต่เพื่อความไม่ประมาท ให้ผู้ปกครองเบาใจ จึงมีการจัดระบบเครือข่ายการส่งต่อดูแล โดยหากเด็กที่ฉีดวัคซีนแล้วเกิดอาการสงสัยใน 2 กลุ่มโรค ให้รีบพามา รพ.ใกล้บ้านทันทีเพื่อประเมินอาการ คือ

1.กลุ่มโรคหัวใจในช่วง 2-7 วัน ได้แก่ เจ็บหน้าอก หายใจเร็ว เหนื่อยง่าย ใจสั่น ซึ่งตามสถิติมักพบในช่วงวันที่ 2 ของการฉีด แต่หากเกิดในวันแรกก็พามาได้เช่นกัน

2.กลุ่มอาการอื่น ไข้สูงมากกว่า 39 องศาเซลเซียส ปวดหัวรุนแรง อาเจียนทานอะไรไมได้ เด็กซึมหรือไม่รู้สึกตัว
ถ้ามีอาการสงสัยใน 2 กลุ่มโรค ให้หา รพ.ใกล้บ้าน ซึ่งเรามีกุมารแพทย์กระจายทั่วประเทศ 2 พันกว่าราย ในทุกจังหวัด รพ.อำเภอหลายแห่งมีกุมารแพทย์ที่สามารถประเมินอาการได้ว่าสามารถรักษาตรงนั้น หรือต้องส่งต่อระดับโรงพยาบาลศูนย์หรือโรงพยาบาลทั่วไป ซึ่งหากยังเกินศักยภาพก็สามารถส่งมายังสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี หรือโรงพยาบาลมหาวิทยาลัย

นพ.อดิศัย กล่าวว่า การคิกออฟฉีดวัคซีนเด็กเล็กที่สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติฯ วันที่ 31 ม.ค.นี้ จะเริ่มฉีดวัคซีนในกลุ่มเด็กที่มีโรคประจำตัว ซึ่งเรามีคนไข้ของเราเอง 4,000 คน เรามีแผนฉีดแล้ว โดยจะทยอยฉีด ไม่แออัดมาก ก่อนฉีดจะมีพยาบาลแต่ละหน่วยงานโทรไปหา ให้คำปรึกษา ข้อมูล และสอบถามความสมัครใจของผู้ปกครอง หลังฉีดมีคิวอาร์โคดประเมินผลข้างเคียง และช่องทางให้ความรู้เรื่องการดูแลหลังฉีดถ้ามีผลข้างเคียง และเนื่องจากเรามีผู้ป่วยเด็กจากหลายจังหวัด ก็สามารถเข้า รพ.ที่ใกล้บ้านก่อนได้ หรือถ้ามาโดยตรงที่สถาบันสุขภาพเด็กฯ ก็ยินดี โดยมีไลน์ และสายด่วน 1415 ให้ปรึกษา และมีฟาสต์แทร็กในรายที่สงสัยรุนแรงเพื่อเข้ารับการดูแลด้วย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า