SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมควบคุมโรค เผย ‘โอไมครอน’ ระบาดไทยผ่านจุดพีคไปแล้ว ย้ำยอดติดเชื้อรายวันนี้ยังอยู่ในแบบจำลองการติดเชื้อที่คาดการณ์ไว้

วันที่ 4 ก.พ. 2565 นพ.เฉวตสรร นามวาท ผู้อำนวยการกองควบคุมโรคและภัยสุขภาพในภาวะฉุกเฉิน กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข แถลงสถานการณ์โควิด-19 ประจำสัปดาห์ว่า ไทยฉีดวัคซีนแล้วกว่า 116 ล้านโดส เข็มที่ 3 ฉีดแล้วกว่า 14.9 ล้านโดส หรือ 21.4% การฉีดเข็มนี้จะกระตุ้นภูมิคุ้มกันได้ดีเพื่อป้องกันโอไมครอน

ส่วนสถานการณ์ผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตค่าเฉลี่ยในรอบ 7 วันจุดสูงสุดของการติดเชื้อระดับโลกได้ผ่านไปแล้ว เมื่อวันที่ 28 ม.ค.65 ที่ผ่านมา ส่วนประเทศไทยตัวเลขค่าเฉลี่ยสูงสุดติดเชื้ออยู่วันที่ 17 ม.ค. 2565 ซึ่งเรามีมาตรการทำให้จำนวนการติดเชื้อชะลอลงได้เป็นอย่างดี ขณะที่วันนี้มีผู้ติดเชื้อใหม่ 9,909 ราย เสียชีวิต 22 ราย ผู้ป่วยปอดอักเสบ 516 ราย ใส่ท่อช่วยหายใจ 105 ราย ซึ่งเป็นตัวเลขที่คงตัวจาก 2 สัปดาห์ที่แล้ว

ตัวเลขผู้ติดเชื้อขยับสูงขึ้นมายังอยู่ในสถานการณ์ที่คาดการณ์ไว้ และมีมาตรการรองรับอยู่แล้ว ขณะที่การคาดการณ์เสียชีวิตต่ำกว่าที่เคยมีการคาดการณ์ ดังนั้น ตัวเลขใกล้หมื่นวันนี้ แม้จะมากขึ้นแต่เราก็มีมาตรการควบคุม และยังจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือประชาชนในการป้องกันตัวเอง รวมทั้งการมาฉีดวัคซีน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง

นพ.เฉวตสรร กล่าวว่า ในวันนี้ที่พบผู้ติดเชื้อใกล้ถึงหมื่นราย หลายคนอาจจะกังวลในส่วนนี้ เราจำเป็นต้องอาศัยความร่วมมือจากประชาชนทุกคนด้วยมาตรการ VUCA ไปฉีดวัคซีนกระตุ้น โดยเฉพาะกลุ่มเสียง 608 รักษาการสวมหน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง และล้างมือเสมอ ตรวจ ATK และสถานประกอบการทำมาตรการ Covid-19 free settings

  • ครึ่งปีหลัง 2565 “โควิด” แนวโน้มลดลง

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า ขณะนี้โควิด-19 มีแนวโน้มผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น แต่ยังเป็นไปตามการคาดการณ์และสามารถควบคุมได้ ส่วนที่ผู้ติดเชื้อใกล้หมื่นรายขอว่าอย่ากังวลกับตัวเลขจนเกินไป ซึ่งการพิจารณาสถานการณ์สิ่งสำคัญคือ จำนวนผู้ติดเชื้ออาการหนัก ใส่เครื่องช่วยหายใจ และผู้เสียชีวิต ซึ่งปัจจุบันลดลงมากจากช่วงที่ระบาดใหญ่ ขณะนี้ค่อนข้างคงตัว และระบบสาธารณสุขรองรับได้ ซึ่งต่างประเทศก็พิจารณาในแนวทางนี้เช่นกัน โดยอนาคตหากจะเป็นโรคประจำถิ่นและอยู่ร่วมกับโรคให้ได้ ก็จะพิจารณาจากรายงานผู้ป่วยที่มีอาการในโรงพยาบาลเหมือนโรคอื่นๆ ทั่วไป

นพ.โอภาส กล่าวว่า การติดเชื้อระยะนี้ส่วนใหญ่เป็นคลัสเตอร์เล็กๆ กระจายทั่วทุกจังหวัด เกิดจากงานเลี้ยงสังสรรค์ งานบุญ งานแต่งงาน งานศพ งานบวช ทำให้กลับไปติดที่บ้าน ซึ่งโอมิครอนเบื้องต้นมีอัตราติดเชื้อในครอบครัว 40-50% จากเดิมสายพันธุ์เดลตาที่มีอัตราการติดเชื้อในครอบครัว 10-20% จะเห็นว่าติดเชื้อค่อนข้างง่าย ไม่รุนแรงไปกว่าเดลตา ส่วนใหญ่อาการน้อย โดยเฉพาะคนที่ฉีดวัคซีนแล้ว ซึ่งขณะนี้ฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นไปได้แล้ว 15 ล้านคน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยง เชื่อว่าจะทำให้ระบบสาธารณสุขดูแลผู้ป่วยอาการหนักและเสียชีวิตได้ ขอให้กลุ่มเสี่ยงอายุ 60 ปีขึ้นไป 7 โรคเรื้อรัง และหญิงตั้งครรภ์ เข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นตามกำหนด อย่างไรก็ตาม ผู้ติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นใกล้ระดับหลักหมื่นรายต้องอาศัยความร่วมมือของประชาชนในการป้องกันและควบคุมโรคไม่ให้เพิ่มมากไปกว่านี้

สำหรับการพยากรณ์โรคและภัยสุขภาพในปี 2565 มี 5 เรื่องที่ต้องแจ้งเตือน ได้แก่

1.โรคโควิด 19 หากไม่มีการกลายพันธุ์ที่มีนัยสำคัญ คาดว่าครึ่งปีหลัง จำนวนผู้ติดเชื้อจะลดลง เนื่องจากคนไทยฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นตามเป้าหมาย มีการฉีดเพิ่มเติมในเด็ก

2.ไข้หวัดใหญ่ คาดว่าผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้น 2 เท่า คือ 22,817 ราย โดยเฉพาะช่วงฤดูฝนและปลายฝนต้นหนาว เนื่องจากช่วงต้นปี 2565 การใส่หน้ากากอนามัยของคนไทยยังดี แต่ช่วงปลายปีหากสถานการณ์ดีขึ้น การใส่หน้ากากอนามัยลดลง อาจมีการระบาดของโรคเพิ่มขึ้นได้

3.ไข้เลือดออก คาดว่าจะมีการระบาดเพิ่มขึ้นมีผู้ป่วยถึง 85,000 ราย เนื่องจากปกติไข้เลือดออกจะระบาดปีเว้นปี หรือปีเว้น 2 ปี ซึ่ง 2 ปีที่ผ่านมามีผู้ติดเชื้อน้อย ภูมิคุ้มกันจึงมีน้อยและมีกิจกรรมทางสังคมเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยจะสูงสุดช่วงมิถุนายน-สิงหาคม 2565 จึงต้องเริ่มรณรงค์โดยเฉพาะการเป็นไข้ต้องคิดถึงโรคไข้เลือดออกด้วย ไม่ควรซื้อยาแก้ปวดแอสไรินและกลุ่มเอ็นเสดรับประทาน เรพาะจะทำให้เลือดออกในทางเดินอาหารจนเสียชีวิตได้ ซึ่งล่าสุดพบรายงานการเสียชีวิตรายแรกของปีแล้ว

4.อุบัติเหตุทางถนน อาจสูง 17,000 – 20,000 ราย มีสัญญาณเพิ่มขึ้น จึงต้องรณรงค์บังคับใช้กฎหมาย ร่วมมือร่วมใจทำตามวินัยจราจร จะช่วยลดการเสียชีวิตได้ และ 5.เด็กจมน้ำ เนื่องจากโรงเรียนมีการเปิดเรียนแบบออนไซต์ มีกิจกรรมต่างๆ มากขึ้น คาดว่ามีนาคม-เมษายนจะมีเด็กจมน้ำเสียชีวิตมากขึ้น จึงต้องแจ้งตือนพ่อแม่ให้ระวังมากขึ้น

  • ปลัด สธ.ย้ำเข้มมาตรการต่อเนื่อง

ด้าน นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า การติดเชื้อส่วนใหญ่ยังเป็นตลาดและกิจกรรมการรวมกลุ่มคน ที่มีการรับประทานอาหารและดื่มสุรา รวมถึงสถานที่ทำงาน สถานประกอบการ โรงงาน โรงเรียน และค่ายทหาร จึงยังต้องเน้นมาตรการป้องกันควบคุมโรค ทั้ง VUCA โดยฉีดวัคซีนตามกำหนด ป้องกันตนเองสูงสุดตลอดเวลา สถานประกอบการดำเนินมาตรการ COVID Free Setting และตรวจ ATK เป็นประจำ อย่างไรก็ตาม ต้องขอย้ำถึงข้อจำกัดของชุดตรวจ ATK เพราะแม้ผลตรวจจะเป็นลบ แต่อาจยังอยู่ในช่วงที่เชื้อไม่มากพอที่จะตรวจเจอ ดังนั้น แม้จะมีการตรวจ ATK ก่อนเข้างาน ก็ไม่ควรละเลยมาตรการป้องกันตนเอง โดยเฉพาะกิจกรรมที่มีการถอดหน้ากาก รับประทานและดื่มกันเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดความเสี่ยงแพร่โรคได้มากขึ้น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า