SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ.ชี้ตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิดหลังครึ่งปี 65 จะลดลงหากไม่พบสายพันธุ์ใหม่ นักวิชาการเตือนถ้าป้องกันไม่ดีไทยจะติดเชื้อรายวันอาจสูงกว่านี้ 2 – 4 เท่า

วันที่ 5 ก.พ. 2565 รศ.นพ.ธีระ วรธนารัตน์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยว่า เมื่อวานทั่วโลกติดเพิ่มสูงถึง 2,774,373 คน ตายเพิ่ม 10,092 คน รวมแล้วติดไปรวม 391,121,692 คน เสียชีวิตรวม 5,741,695 คน 5 อันดับแรกที่ติดเชื้อสูงสุดคือ ฝรั่งเศส เยอรมัน อเมริกา บราซิล และรัสเซีย จำนวนติดเชื้อใหม่ในแต่ละวันของทั่วโลกตอนนี้ มาจากทวีปเอเชีย ยุโรป และอเมริกาเหนือ ซึ่งรวมกันคิดเป็นร้อยละ 87.79 ของทั้งโลก ในขณะที่จำนวนการเสียชีวิตคิดเป็นร้อยละ 83.83

ล่าสุดจำนวนติดเชื้อใหม่จากทวีปยุโรปนั้นคิดเป็นร้อยละ 53.82 ของทั้งโลก ส่วนจำนวนเสียชีวิตเพิ่มคิดเป็นร้อยละ 33.79 เมื่อวานนี้จำนวนติดเชื้อใหม่มีประเทศจากยุโรปครอง 5 ใน 10 อันดับแรก และ 12 ใน 20 อันดับแรกของโลก

รศ.นพ.ธีระ เปิดเผยว่า ล่าสุดมี 3 ประเทศที่ติดเชื้อใหม่เกินแสนคนต่อวัน คือ อินเดีย ตุรกี และญี่ปุ่น ในขณะที่อีก 7 ประเทศอยู่หลักหมื่น แต่ไทยนั้นหากรวม ATK ด้วย ถือว่าเห็นเกินหมื่นมาตั้งแต่ช่วงกลางมกราคมมาเรื่อยๆ ดูธรรมชาติการระบาดของ Omicron ประเทศทั่วโลกมักมีกราฟการระบาดที่ขึ้นชันเหมือนหรือคล้ายกัน แม้บางประเทศจะดูยั้งๆ ในช่วงแรก แต่สุดท้ายพอเข้าสู่ช่วงอัตราเร่ง ก็จะเหมือนประเทศอื่นที่ขึ้นอย่างรวดเร็ว และลงเร็วในอัตราพอกัน

ดังที่เคยประเมินไว้ว่า เอเชียเริ่มช้ากว่าทวีปอื่น เราจึงเห็นว่าตอนนี้ทวีปอื่นเข้าสู่ขาลงไปแล้ว ทั้งแอฟริกา อเมริกา ยุโรป แต่ทวีปเอเชียหลายต่อหลายประเทศยังขึ้นต่อเนื่อง

สำหรับไทยเรานั้น การระบาดยังรุนแรงต่อเนื่อง ถ้าเราเป็นเหมือนภาพของทั่วโลก คาดว่าจำนวนติดเชื้อใหม่ต่อวันอาจสูงกว่านี้ไปได้อีก 2-4 เท่าหากไม่ป้องกันให้ดี โดยมีช่วงเวลาทีต้องเฝ้าระวังจับตาดูราวสองสัปดาห์

• ครึ่งปีนี้โควิดจะลดลงหากไม่พบสายพันธุ์ใหม่

นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมควบคุมโรค พยากรณ์โรคและภัยสุขภาพที่สำคัญปี 65 ได้แก่ โรคติดเชื้อโควิด-19 คาดว่าหากไม่มีสายพันธุ์อื่นเพิ่มเติม ในช่วงครึ่งปีหลังจำนวนผู้ติดเชื้อ และเสียชีวิตจะลดลง จากปัจจัยการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นตามเป้าหมายที่วางไว้

โรคไข้หวัดใหญ่ คาดว่าจะมีผู้ป่วยเพิ่มขึ้น 2 เท่า หรือประมาณ 22,817 ราย โดยจะพบผู้ป่วยสูงใน 2 ช่วง คือ ช่วงเดือนม.ค.-มี.ค. ประมาณ 1,000 ราย/เดือน และเดือนส.ค.-ธ.ค. ประมาณ 3,000 ราย/เดือน

หากประชาชนปฎิบัติตัวตามมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 จำนวนผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ก็จะลดลงตามไปด้วย โดยปัจจัยหนึ่งที่สำคัญ คือ การสวมหน้ากากอนามัย ซึ่งช่วยลดการติดเชื้อของโรคไข้หวัดได้

โรคไข้เลือดออก คาดว่าจะมีการระบาดเพิ่มขึ้นเป็น 85,000 ราย เนื่องจากไข้เลือดออกจะมีการระบาดแบบปีเว้นปี หรือปีเว้นสองปี ซึ่งในช่วง 2 ปีที่ผ่านมาประเทศไทยพบการติดเชื้อน้อย ดังนั้นปีนี้จึงมาถึงวงจรการระบาด จากปัจจัยภูมิคุ้มกันน้อยของคนไทย ประกอบกับการประกอบกิจกรรมที่น่าจะเพิ่มขึ้นในปีนี้
ทั้งนี้ จำนวนผู้ป่วยจะเพิ่มสูงสุดในช่วงเดือนมิ.ย.-ส.ค. โดยจะพบผู้ป่วยสูงสุดในเดือนก.ค. จำนวน 13,769 ราย ดังนั้น จึงต้องเร่งรณรงค์เรื่องโรคไข้เลือดออก เนื่องจากขณะนี้ไทยพบผู้เสียชีวิตจากโรคไข้เลือดออกแล้ว 1 ราย และมีแนวโน้มพบผู้ติดเชื้อที่เป็นผู้ใหญ่มากขึ้น

อุบัติเหตุทางถนน คาดว่าจะมีผู้เสียชีวิตมากขึ้นอยู่ในระดับ 17,000-20,000 ราย โดยผู้เสียชีวิตสูงสุดจะอยู่ในช่วงเดือนมี.ค. และเดือน ธ.ค.
ตกน้ำ จมน้ำ คาดว่าปีนี้โรงเรียนจะเปิดเรียนแบบ onsite มากขึ้น มีกิจกรรมมากขึ้น โดยคาดว่าจะมีเด็กจมน้ำในช่วงเดือนมี.ค.-เม.ย. เพิ่มมากขึ้น
โรคจากฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM 2.5)

สำหรับสถานการณ์การติดเชื้อโควิด-19 ในเด็ก เมื่อเทียบจากผู้ติดเชื้อจำนวน 100 คน พบว่า ในการระบาดระลอกแรกๆ พบเด็กติดเชื้อแค่ 1% แต่การระบาดในระลอกล่าสุดกับระลอกเม.ย. 64 เริ่มพบเด็กติดเชื้อมากขึ้น โดยเด็กอายุ 5-11 ปี พบติดเชื้อ 6% และเด็กอายุ 12-17 ปี พบติดเชื้อ 5.6% ซึ่งแสดงให้เห็นว่ามีแนวโน้มการติดเชื้อเด็กมากขึ้น

สำหรับการฉีดวัคซีนโควิด-19 ในเด็ก 3 ปี ต้องคำนึงถึงประสิทธิภาพของวัคซีน และความปลอดภัยเป็นหลัก ซึ่งหากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ให้การรับรองการขึ้นทะเบียนการฉีดวัคซีนซิโนแวคในเด็ก สธ. ก็พร้อมจะนำวัคซีนมาฉีดให้เด็กๆ ทันที

ทั้งนี้ จำนวนวัคซีนซิโนแวคในประเทศ ขณะนี้มีอยู่ประมาณ 6 ล้านโดส แบ่งเป็น วัคซีนตามโรงพยาบาลจังหวัดต่างๆ 4 ล้านโดส และวัคซีนบริจาคจากประเทศจีนในเดือน พ.ย.-ธ.ค.จำนวน 2 ล้านโดส โดยในส่วนนี้กรมควบคุมโรคได้ทำการเก็บรักษาไว้ ซึ่งหากอย. อนุมัติการฉีดวัคซีนซิโนแวคในเด็ก ก็มีรองรับเพียงพอ และไม่จำเป็นต้องซื้อวัคซีนเพิ่มเติมแต่อย่างใด

นพ.โอภาส กล่าวว่า ในส่วนของนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ไม่สวมหน้ากากอนามัยในพื้นที่สาธารณะ ในภาพรวมกระทรวงสาธารณสุขไม่มีนโยบายบังคับประชาชนให้ใส่หน้ากากอนามัย หรือการจ่ายค่าปรับ เนื่องจากประชาชนให้ความร่วมมือดีมาก ทั้งนี้ จะแตกต่างกับนักท่องเที่ยวต่างประเทศ ที่บางประเทศไม่นิยมใส่หน้ากากอนามัย จึงจะต้องมีการทำความเข้าใจกับนักท่องเที่ยวเรื่องวัฒนธรรมการใส่หน้ากากของไทย ซึ่งหากได้รับความร่วมมือดี ก็ยังไม่จำเป็นต้องใช้กฎหมายบังคับ แต่หากจำเป็นจริงๆ ก็คงต้องใช้มาตรการทางกฎหมาย แต่จะเป็นกรณีท้ายจริงๆ ที่จะใช้

ที่มา https://www.facebook.com/thiraw/posts/10223846339298887

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า