SHARE

คัดลอกแล้ว

ยอดติดโควิดไทยวันนี้ทำนิวไฮ แพทย์แนะต้องช่วยกันลดก่อนเทศกาลสงกรานต์ที่จะมาถึง ชี้ไม่ช้าก็เร็วคนไทยเกือบทุกคนจะได้รับเชื้อ เมื่อไม่มีทางเอาชนะโอไมครอนก็ต้องปรับให้อยู่ร่วมกันให้ได้

นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผู้อำนวยการกองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค

วันที่ 9 ก.พ. 2565 นพ.จักรรัฐ พิทยาวงศ์อานนท์ ผอ.กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค กล่าวถึงการแพร่ระบาดเชื้อโอไมครอนว่า ระบาดทั่วประเทศไทยแล้ว การเสียชีวิตของผู้ป่วยโรคโควิด-19 จึงไม่เกี่ยวกับสายพันธุ์เพราะไม่ว่าจะเป็นสายพันธุ์ใดก็มีโอกาสที่จะเสียชีวิตได้

นพ.จักรรัฐ ระบุว่า สายพันธุ์โอไมครอนแพร่เร็ว แต่ยังไม่รุนแรงไปกว่าสายพันธุ์อื่นก่อนหน้านี้ ขณะเดียวกันไทยมีการฉีดวัคซีนโควิดที่ครอบคลุมมากขึ้นทำให้ตัวเลขผู้เสียชีวิตไม่ได้เพิ่มขึ้นมาก แต่ต้องเฝ้าระวังกลุ่มเด็กเสี่ยงที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง กลุ่ม 608 โดยเฉพาะหากในกลุ่มนี้ไม่ได้รับวัคซีนโควิด-19 หรือยังไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น โอกาสที่ติดเชื้อแล้วมีอาการรุนแรงจนเสียชีวิตได้สูง

สำหรับอัตราการติดเชื้อของผู้ป่วยรายใหม่จะค่อยๆ เพิ่มขึ้น และยังไม่ถึงจุดพีคของโอไมครอนระลอกเดือน ม.ค. จึงยังบอกไม่ได้ว่าอัตราการเสียชีวิตจะอยู่ในระดับไหน ในต่างประเทศโอไมครอนระบาดเร็ว ถึงจุดสูงสุดเร็วและลงมาเร็วเช่นกัน ส่วนประเทศไทยเราพยายามให้ค่อยๆ ขึ้น ส่วนยอดผู้ติดเชื้อที่สูงหลักหมื่นต่อเนื่องกัน นั้น ส่วนหนึ่งเป็นผลพวงมาจากช่วงปีใหม่ถึงช่วงหยุดเทศกาลตรุษจีนที่มีการรวมกลุ่มสังสรรค์กัน ซึ่งก็กังวลในช่วงก่อนถึงช่วงเทศกาลสงกรานต์ตัวเลขอาจจะขึ้นสูงอีก หากเป็นไปได้ต้องทำให้ยอดการติดเชื้อลงมาให้ได้ก่อนกลางเดือน มี.ค. เพื่อจะได้ไม่มีผลต่อช่วงสงกรานต์ปีนี้

• เรียนรู้อยู่ร่วมกับโอไมครอน

ด้าน นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ หัวหน้าห้องไอซียู เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ ผู้ป่วยหนัก และโรคผู้สูงอายุ โรงพยาบาลวิชัยยุทธ โพสต์เฟวบุ๊กระบุว่า ออสเตรเลียเป็นประเทศที่เคยประสบความสำเร็จในการควบคุมโรคโควิด-19 ด้วยการล็อกดาวน์ ปิดประเทศตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 แต่หลังจากที่ฉีดวัคซีนให้ประชาชนอายุมากกว่า 16 ปีครบโดสร้อยละ 95

ก่อนหน้าที่มีการแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19 สายพันธุ์โอไมครอนในประเทศ ออสเตรเลียเปลี่ยนมาตรการควบคุมโควิดอย่างเข้มข้น เป็นการอยู่ร่วมกับโควิดเพื่อให้เศรษฐกิจ สังคมและการศึกษาเดินหน้าในเดือนธันวาคม พ.ศ.2564 ด้วยการผ่อนคลายมาตรการการบังคับใส่หน้ากากอนามัย รวมตัวกันได้ในเทศกาลคริสต์มาส ปีใหม่ เปิดผับ เปิดบาร์ อนุญาตให้เด็กนักเรียนและนักธุรกิจจากต่างประเทศเดินทางเข้าประเทศ แนะนำตรวจ ATK ที่บ้านเวลามีอาการ ถ้าผลบวกต้องรายงานรัฐ เลิกตรวจค้นหาผู้สัมผัสใกล้ชิดกับคนติดเชื้อ
ออสเตรเลียมีประชากร 25 ล้านคน

ก่อนหน้าคลายมาตรการล็อกดาวน์มีผู้ติดเชื้อประมาณ 210,000 คน เสียชีวิต 2,000 คน หลังเปิดประเทศในต้นเดือนธันวาคม 2564 ปัจจุบันมีผู้ติดเชื้อทั้งหมด 2,750,000 คน เสียชีวิต 4,200 คน วันที่ 13 มกราคมปีนี้ ออสเตรเลียมีผู้ติดเชื้อสูงสุด/วัน 150,000 คน แต่คนป่วยหนัก เสียชีวิตไม่มาก ระบบสาธารณสุขยังรองรับไหว
ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อรายวันลดลงเหลือ 23,000 คน การระบาดระลอกใหม่ของสายพันธุ์โอไมครอนไม่นำไปสู่การล็อกดาวน์อีกครั้ง การล็อกดาวน์ก่อนหน้านี้สร้างความเสียหายทางเศรษฐกิจอย่างมหาศาลทำให้จีดีพีประเทศออสเตรเลียลดลงมากกว่า 20%

ประเทศออสเตรเลียยืนยันที่จะเปิดประเทศต่อไป กำลังอนุญาตให้นักเดินทางจากทุกประเทศที่มีประวัติฉีดวัคซีนครบโดสเข้าประเทศได้ในวันที่ 21 กุมภาพันธ์นี้ ประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวทางของรัฐบาล
ประเทศไทยควรศึกษาแนวทางการเปิดประเทศจากออสเตรเลีย

“เราต้องเรียนรู้การอยู่ร่วมกับโรคโควิด-19 เชื้อสายพันธุ์โอไมครอนติดกันง่ายมาก ไม่ช้าก็เร็วคนไทยเกือบทุกคนจะได้รับเชื้อ เราไม่มีทางเอาชนะเชื้อสายพันธุ์โอไมครอนได้ ถึงเวลาเราควรจะผ่อนคลายมาตรการต่างๆ ให้มากกว่านี้ โดยเฉพาะนักเดินทางจากต่างประเทศ สำหรับมาตรการสุขอนามัยส่วนบุคคล ใส่หน้ากากอนามัย เว้นระยะห่าง หมั่นล้างมือยังคงไว้ต่อไปก่อน” นพ.มนูญ ระบุ

ที่มา : https://www.facebook.com/หมอมนูญ-ลีเชวงวงศ์-FC-604030819763686/

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า