SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมการแพทย์ ย้ำเตียงมีเพียงพอรักษาผู้ป่วยโควิดทุกระดับ เตรียมให้ สบส.ปรับเกณฑ์ UCEP Plus รักษาป่วยโควิดที่มีโรคร่วม อาการเหลือง แดง ให้เบิกจ่ายฉุกเฉินได้ แจงผู้ป่วยโควิด-19 ยังถือเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน ห้าม รพ.เอกชน เรียกเก็บค่ารักษา

สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์

วันที่ 18 ก.พ. 2565 นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยถึงการบริหารจัดการเตียงผู้ป่วยโควิด-19 หลังผู้ติดเชื้อเพิ่มมากขึ้นทำให้หลายฝ่ายกังวลว่าเตียงจะมีเพียงพอรองรับผู้ป่วยหรือไม่ว่า แนวโน้มสถานการณ์การติดเชื้อเพิ่มขึ้นเป็นเท่าตัว ครองเตียงทั่วประเทศ 64,900 ราย ขณะที่ผู้ป่วยปอดอักเสบมี 728 ราย ผู้ป่วยใส่ท่อช่วยหายใจ 163 ราย ส่วนจำนวนผู้ป่วยเด็กเพิ่มมากขึ้น สถาบันสุขภาพเด็กฯ รายงานว่า มีผู้ป่วยเด็กและผู้ปกครองไปรักษาตัวช่วงวันที่ 1-16 ก.พ. จำนวน 147 ราย อายุระหว่าง 0-18 ปี

นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ช่วงเดือน ก.พ. ผู้ป่วยให้ความร่วมมือในการรักษาตัวที่บ้านหรือระบบ Home Isolation (HI) เพิ่มมากขึ้นถึง 2,179 ราย พร้อมระบุว่า จำนวนผู้ป่วย HI ที่ระบบสาธารณสุขรองรับได้ประมาณวันละ 5,540 ราย สามารถเพิ่มเติม ส่วนการดูแลในศูนย์พักคอยชุมชน หรือ ระบบ Community Isolation (CI) ตอนนี้มีผู้ป่วยครองเตียงอยู่ประมาณ 1,701 ราย เหลือเตียง 1,780 เตียง ขณะที่ผู้ว่าฯ กทม.กำลังจะเปิดเพิ่มอีก 13 แห่ง ยืนยันมีเตียงรับผู้ป่วยใหม่ได้ถึง 10,000 ราย เฉพาะผู้ป่วยสีเขียวในกรุงเทพฯ สำหรับภาพรวมอัตราครองเตียงทั้งประเทศ 13 เขตสุขภาพ มีเตียงทั้งหมด 174,029 เตียง ครองเตียง 80,756 ราย เหลือเตียงว่าง 93,273 เตียง

  • ผู้ป่วยสีเขียวไม่มีอาการ แต่มีโรคร่วมจะถือเป็นเหลืองเข้าข่ายในเกณฑ์ UCEP Plus

อธิบดีกรมการแพทย์ ชี้แจงถึงเกณฑ์การรับรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ที่มีภาวะฉุกเฉินวิกฤตว่า กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กำลังพิจารณาเกณฑ์หลักๆ คือ ผู้ป่วยเริ่มมีอาการรุนแรงคือกลุ่มสีเหลือง ต้องใช้ออกซิเจน ไม่ว่าจะเป็นออกซิเจน แต่หากใส่ท่อช่วยหายใจจะเป็นสีแดงสามารถเข้ารักษาฟรีที่ไหนก็ได้

นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ตอนนี้มีการเพิ่มเกณฑ์ผู้ป่วยสีเหลืองจะเป็นผู้ป่วยสีเขียวที่มีโรคร่วมและควบคุมไม่ได้ เช่น โรคกระเพาะและเจอเลือดออกในกระเพาะ ซึ่งตอนนี้พบหลายรายที่โรงพยาบาลราชวิถี โดยสบส. จะออกเกณฑ์ขึ้นมาว่าต้องทำอย่างไร สามารถรักษาโรงพยาบาล เอกชนได้ หรือหากไปรักษาสถาบันประสาทฯ แต่ไม่มีเตียงสามารถส่งต่อโรงพยาบาลเอกชนได้เช่นกัน” นพ.สมศักดิ์ กล่าว และสรุปคือ อาการสีเขียวไม่มีอาการ แต่มีโรคร่วมจะถือเป็นเหลือง ซึ่งก็จะเข้าข่ายในยูเซปพลัส

นพ.สมศักดิ์ ยืนยันว่า ผู้ป่วยที่ต้องเข้าระบบ Home Isolation (HI) มีการดูแลเป็นอย่างดี มีแพทย์โทรสอบถามอาการตลอด มีเครื่องมือ มีที่วัดออกซิเจน มีอาหารพร้อม 3 เวลา ขอให้ผู้ป่วยผ่านการคัดกรองแล้วว่าเข้าระบบ HI หากท่าน HI ไม่ได้ ก็ยังมี Community Isolation (CI) ซึ่งเป็นการรักษาในชุมชน ปัจจุบันยังมีว่างอีกมากในกทม. นอกจากนี้ยังมี CI เด็กที่รามคำแหงยังว่าง ขอทำความเข้าว่าหากทำได้เตียงในโรงพยาบาลจะไม่มีปัญหา ขอให้ถติดต่อสปสช. 1330 ได้เพื่อจัดระบบ HI ประเมินก่อน

นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.)

  • ผู้ป่วยโควิด-19 ยังถือเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน ห้าม รพ.เอกชน เรียกเก็บค่ารักษา

ล่าสุด นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (กรม สบส.) กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้เตรียมการปรับให้ผู้ป่วยโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 ให้ได้รับสิทธิการรักษาตามระบบปกติ เนื่องจากความรุนแรงของโรคโควิด-19 ลดลง ผู้ป่วยส่วนใหญ่สามารถดูแลรักษาที่บ้านได้ โดยไม่จำเป็นต้องเข้าพักที่สถานพยาบาล ซึ่งจะช่วยให้การบริหารจัดการเตียงสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรงจากโรคโควิด-19 หรือโรคอื่นๆ เป็นไปอย่างเหมาะสม โดยคาดว่าจะมีการออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขเพื่อรองรับสิทธิการรักษาของผู้ป่วยโรคโควิด-19 ในช่วงเดือนมี.ค. 2565 นั้น ขณะนี้กลับพบว่ามีสถานพยาบาลเอกชนบางแห่งที่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนทำการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วยโรคโควิด-19 หรือญาติ

นพ.ธเรศ ชี้แจงว่า ในขณะนี้ ยังไม่มีเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกประกาศกระทรวงสาธารณสุข เรื่อง หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการกำหนดค่าใช้จ่ายในการดำเนินการผู้ป่วยฉุกเฉินโรคติดต่ออันตรายตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 หรือโรคโควิด-19 แต่อย่างใด ดังนั้น หากสถานพยาบาลเอกชนมีการเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากผู้ป่วยโควิด-19 หรือญาติ ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลง หรือยกเลิกประกาศฉบับเดิม ก็จะถือว่าเป็นการกระทำผิดพระราชบัญญัติสถานพยาบาล พ.ศ.2541 ซึ่งผู้ประกอบกิจการและผู้ดำเนินการสถานพยาบาล จะต้องระวางโทษจำคุกไม่เกิน 2 ปี หรือปรับไม่เกิน 40,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ

สำหรับการเปลี่ยนแปลง หรือออกประกาศกระทรวงสาธารณสุขฉบับใหม่นั้น จะต้องมีการประชุมหารือร่วมกับ กองทุนสุขภาพทั้ง 4 กองทุน ประกอบด้วย กรมบัญชีกลาง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) สำนักงานประกันสังคม (สปส.) และกองเศรษฐกิจสุขภาพและหลักประกันสุขภาพ เสียก่อนเพื่อเตรียมความพร้อมของสถานพยาบาลตามสิทธิผู้ป่วย และสถานพยาบาลภาครัฐ ในการรองรับผู้ป่วยตามสิทธิ หรือผู้ป่วยที่มีปัญหาไร้สิทธิหรือสถานะได้อย่างเต็มศักยภาพ

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขจะดำเนินการจัดทำ UCEP Plus ขึ้น เพื่อรองรับการรักษาพยาบาลผู้ป่วยโรคโควิด-19 โดยเฉพาะ ซึ่งจะกำหนดให้ผู้ป่วยด้วยโรคโควิด-19 ที่มีอาการฉุกเฉินวิกฤติเข้าข่ายสีเหลือง หรือสีแดง อาทิ ผู้ป่วยที่มีอาการเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจซึ่งต้องใช้ออกซิเจน หรือผู้ป่วยที่ต้องเข้ารับการรักษาในหออภิบาลผู้ป่วยหนัก (ICU) สามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลกับสถานพยาบาลทุกแห่ง ส่วนผู้ติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ หรือสีเขียว ก็จะมีการสนับสนุนให้รักษาแบบกักตัวอยู่ ณ ที่พัก (Home Isolation) กักตัวในชุมชน (Community Isolation) หรือสถานที่กักตัวในโรงแรม (Hotel Isolation) ต่อไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า