Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ชมรมแพทย์ชนบทเห็นว่าด้วย “เจอ-แจก-จบ” ชี้เป็นอีกแนวทางที่สอดรับการระบาดของเชื้อโอไมครอน ขณะที่ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ตรวจเยี่ยมการจัดบริการรักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 แบบผู้ป่วยนอก “เจอ-แจก-จบ” วันแรกที่โรงพยาบาลราชวิถี แนะผล ATK เป็นบวกติดต่อผ่าน 1330 หรือเบอร์โรงพยาบาลเพื่อรับการรักษาแบบผู้ป่วยนอกได้ 

วันที่ 1 มี.ค. 2565 นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข พร้อมด้วยนพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ และ นพ.จินดา โรจนเมธินทร์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลราชวิถี ตรวจเยี่ยมการให้บริการผู้ติดเชื้อโควิด-19 แบบผู้ป่วยนอก (OPD) ด้วยความสมัครใจ หรือ “เจอ-แจก-จบ” ที่คลินิกโรคทางเดินหายใจ (ARI Clinic) โรงพยาบาลราชวิถี ซึ่งเริ่มให้บริการวันนี้เป็นวันแรก ผู้ที่มีความเสี่ยงติดเชื้อโควิด-19 สามารถตรวจ ATK ด้วยตนเองที่บ้าน หรือมาตรวจที่คลินิกโรคทางเดินหายใจ (ARI Clinic) ซึ่งมีในโรงพยาบาลสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกแห่ง หากพบผลเป็นบวก แพทย์จะพิจารณาความเสี่ยงและโรคประจำตัว หากไม่มีความเสี่ยงจะให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอกและกลับไปแยกกักตัวที่บ้าน ซึ่งเป็นไปตามความสมัครใจ

การรับยาตามระดับอาการ 3 กลุ่ม คือ กลุ่มยาตามอาการ เช่น ลดไข้ แก้ไอ เจ็บคอ ขับเสมหะ เป็นต้น, ยาฟ้าทะลายโจร และยาต้านไวรัสฟาวิพิราเวียร์ และจะติดตามอาการหลังครบ 48 ชั่วโมง เรียกว่า เจอ-แจก-จบ หมายถึง เมื่อเจอว่าติดเชื้อ จะแจกยา แจกเอกสารให้ความรู้การกักตัวเองที่บ้าน (Self Isolation) ข้อแนะนำการรับประทานยาและผลข้างเคียง และจบด้วยการลงทะเบียนอยู่ในระบบบริการหรือรับไว้ดูแลแบบครบวงจร

สำหรับการจัดบริการของโรงพยาบาลราชวิถี มีระบบอย่างดีไม่ให้เกิดความแออัด เมื่อผู้ติดเชื้อสมัครใจเข้ารับการดูแลแบบผู้ป่วยนอก จะส่งไปยังศูนย์ HI/CI ของโรงพยาบาล เพื่อลงทะเบียนรับการติดตามอาการ พร้อมให้คิวอาร์โคดไปรับยาผ่านตู้จ่ายยาอัตโนมัติเพื่อลดการสัมผัส ทั้งนี้ ผู้ที่มีผลตรวจ ATK เป็นบวกแล้ว สามารถโทรสายด่วน 1330 หรือเบอร์โทรศัพท์โรงพยาบาล เพื่อรับการประเมินดูแลได้ แต่หากมีความจำเป็นหรือเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงและต้องการเดินทางมาตรวจที่โรงพยาบาล ขอให้ยึดหลักป้องกันตนเอง (Universal Prevention) โดยใส่หน้ากากตลอดเวลา หากมีอาการป่วยอาจใส่ 2 ชั้นเพื่อเพิ่มการป้องกัน รักษาระยะห่างจากคนอื่น ล้างมือด้วยเจลแอลกอฮอล์ ซึ่งเป็นหลักการพื้นฐานสำหรับทุกคนไม่ว่าจะป่วยหรือไม่ป่วย

ปลัดกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า สธ.วางแผนในการบริหารจัดการโรคโควิด-19 ในแนวทางที่กำลังเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น ซึ่งปัจจุบันเป็นสายพันธุ์โอมิครอนที่มีความรุนแรงน้อย ผู้ติดเชื้อกว่า 95% ไม่มีอาการหรือมีอาการน้อย ต่างจากสายพันธุ์เดลตาที่ผู้ป่วยอาการเปลี่ยนแปลงจากสีเขียวเป็นสีเหลืองได้มาก แต่สายพันธุ์โอมิครอนเบื้องต้นพบว่าอาการเปลี่ยนจากสีเขียวเป็นสีเหลือง น้อยกว่า 1% ซึ่งหากผู้ป่วยที่แยกกักที่บ้านมีอาการเพิ่มขึ้นก็สามารถติดต่อกลับมาโรงพยาบาลได้ เพราะมีการลงทะเบียนไว้แล้ว

ด้าน นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า ในพื้นที่ กทม. โรงพยาบาลทุกสังกัดมีคลินิกโรคทางเดินหายใจเช่นกัน หากผล ATK เป็นบวก ขอให้โทรสายด่วน 1330 หรือเบอร์โทรศูนย์บริการสาธารณสุข กทม.ในเขตที่ตนอาศัยก่อน เพื่อรับบริการให้คำปรึกษาและขึ้นทะเบียนรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยไม่ต้องเดินทางมาที่โรงพยาบาล และได้ประสานกับเลขาธิการ สปสช. ในการนำระบบ Auto Screening มาช่วยคัดกรองอาการ ทั้งนี้ บริการรักษาแบบผู้ป่วยนอก ไม่ได้นำมาใช้ทดแทนระบบ HI/CI แต่เป็นบริการเสริมหรือทางเลือกสำหรับผู้ติดเชื้อที่สบายดี ไม่มีอาการ ไม่มีภาวะเสี่ยง และสมัครใจรักษาที่บ้าน ช่วยลดภาระเจ้าหน้าที่ที่ไม่ต้องติดตามอาการทุกวัน

นพ.จินดา กล่าวว่า คลินิกโรคทางเดินหายใจ โรงพยาบาลราชวิถี มีผู้ป่วยมารับบริการวันละ 150-250 ราย ส่วนใหญ่มีอาการของระบบทางเดินหายใจและสงสัยโควิด 19 ซึ่งตรวจพบประมาณ 60-70% และส่วนใหญ่เป็นกลุ่มสีเขียวที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย เจ้าหน้าที่จะให้คำแนะนำและคัดกรองความเสี่ยงอื่นๆ เพื่อจัดบริการให้เหมาะสมกับแต่ละกลุ่มและจ่ายยาตามการประเมินของแพทย์

นพ.สุภัทร ฮาสุวรรณกิจ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจะนะ ประธานชมรมแพทย์ชนบท แสดงความคิดเห็นผ่านเฟซบุ๊กระบุว่า แนวทางของกระทรวงสาธารณสุขเรื่อง ‘เจอ-แจก-จบ’  โดยปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ที่กำลังจะประกาศใช้ 1 มีนาคม 2565 โดยมีชุดความคิดหลักคือ การรักษาผู้ติดเชื้อโควิดที่ไม่มีอาการหรือมีอาการเพียงเล็กน้อย ซึ่งหมายถึงผู้ป่วยสีเขียวนั้น ให้โรงพยาบาลต่างๆรักษาแบบ OPD case คือ เจอผู้ติดเชื้อ ให้จ่ายยา แล้วให้กลับบ้านไปทานยาดูแลตนเองและกักตนเอง (โดยไม่ต้องเข้าระบบ Home isolation ที่มีเจ้าหน้าที่ดูแล และในส่วนของการจ่ายยานั้น ให้มียาสามระดับคือ ยาฟาวิพิราเวียร์สำหรับผู้ป่วยที่มีอาการมาก ยาฟ้าทะลายโจรสำหรับผู้ป่วยที่มีอาการเล็กน้อย และยารักษาตามอาการเช่นยาไข้ ยาไอ ยาลดน้ำมูก สำหรับผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ

ชมรมแพทย์ชนบทได้มีการถกกัน และมีข้อสรุปและข้อเสนอแนะดังนี้

1. ชมรมแพทย์ชนบท เห็นด้วยกับปลัดกระทรวงสาธารณสุขสำหรับแนวคิดเรื่อง “เจอ-แจก-จบ” และ “การจ่ายยาเป็น 3 ระดับ” ซึ่งเป็นแนวทางที่สอดคล้องกับการอยู่ร่วมกับโควิด ลดภาระของสถานบริการ ลดค่าใช้จ่ายภาครัฐที่ต้องใช้งบจากเงินกู้ รวมทั้งเป็นอีกแนวทางที่สอดรับการระบาดของเชื้อโอไมครอนที่ผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่มีอาการไม่รุนแรง

2. อย่างไรก็ตาม ชมรมแพทย์ชนบทอยากจะให้ทางกระทรวงสาธารณสุขสื่อสารให้ชัดเจนว่า “แนวทาง เจอ-แจก-จบ” นั้นเป็นอีกแนวทางทางเลือกใหม่สำหรับการรักษาผู้ติดเชื้อโควิดแบบ OPD case แต่ต้องไม่ใช่แนวทางหลักหรือแนวทางเดียวของการดูแลผู้ป่วยโควิด เพื่อป้องกันการเข้าใจผิดหรือการสื่อสารที่ขาดความชัดเจน เมื่อเป็นเช่นนี้จะทำให้การดูแลรักษาผู้ป่วยโควิดของประเทศไทย จะประกอบด้วย การ admit เข้า โรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม CI HI หรือรักษาแบบ OPD case (เจอ-แจก-จบ) ตามแต่ดุลยพินิจของแพทย์หรือวิชาชีพสุขภาพจะพิจารณา ให้สอดคล้องกับบริบททั้งของผู้ป่วย การระบาด และความเพียงพอของเตียงและกำลังคนในสถานพยาบาล

3. ข้อน่าห่วงกังวลประการสำคัญของ แนวทาง “เจอ-แจก-จบ” คือ การหย่อนมาตรการการควบคุมโรค เพราะการอนุญาตให้ผู้ป่วยกลับไปกักตัวเองและดูแลตนเอง 10 วัน เสมือนเป็นไข้หวัดทั่วไป อาจมีบางคนที่มีความจริงจังในการกักตัวน้อย หรือบางรายก็มีข้อจำกัดเรื่องที่พักที่คับแคบ ทำให้มีโอกาสที่จะเกิดการแพร่ระบาดของโรคสูงขึ้น ดังนั้นในพื้นที่ที่ยังมีการระบาดน้อย อาจต้องใช้การกักตัวใน CI หรือ HI ที่มีเจ้าหน้าที่สาธารณสุขดูแล ซึ่งจะช่วยลดการระบาดได้มากกว่าการใช้แนวทาง “เจอ-แจก-จบ”

4. อุปสรรคสำคัญประการหนึ่งของแนวทาง “เจอ-แจก-จบ” คือ เมื่อแนวทางนี้เป็นการรักษาแบบ OPD case ทำให้โรงพยาบาลต่างๆไม่สามารถขอรับค่าใช้จ่ายในการดูแลผู้ติดเชื้อโควิดจากงบการรักษาพยาบาลกองกลางของรัฐบาลได้ ต้องใช้งบจากเงินจัดสรรรายหัวตามสิทธิหลักประกันสุขภาพของกองทุนผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลเอง ซึ่งการรักษาผู้ป่วยกลุ่มนี้ แม้ค่ายาจะไม่มาก แต่ค่าใช้จ่ายของชุด PPE รวมทั้งค่าจ้างค่าตอบแทนเจ้าหน้าที่ เป็นรายจ่ายที่เพิ่มขึ้นมาจากระบบปกติ ดังนั้นทางกระทรวงสาธารณสุขควรหารือเรื่องดังกล่าวกับหน่วยงานต่างๆเพื่อกำหนดวิธีการเบิกค่าใช้จ่ายคืนให้กับทางโรงพยาบาลในลักษณะ Fee for Schedule ด้วย ไม่ควรผลักภาระให้กับโรงพยาบาลและ รพ.สต.

5. ทั้งนี้ หากกระทรวงสาธารณสุขยืนยันว่า เราต้องอยู่กับโควิดให้ได้ (ซึ่งควรเป็นเช่นนั้น) ด้วยการประกาศให้โควิดเป็น endemic disease แทนการเป็นโรคระบาด กระทรวงสาธารณสุขก็ต้องคุยกับนายกรัฐมนตรีเพื่อให้มีการยกเลิกการใช้พระราชกำหนดการบริหารราชการในสถานการณ์ฉุกเฉินในการควบคุมโรคโควิดได้แล้ว เพราะหมดความจำเป็นแล้ว และถอดโรคโควิดจากการเป็นโรคติดต่ออันตราย จึงจะทำให้เกิดความสมเหตุสมผล มิเช่นนั้นก็จะเกิดความลักลั่นสับสนของทั้งในระดับหลักการและในระดับปฏิบัติ

“เจอ-แจก-จบ” คืออีกทางเลือกในการดูแลผู้ติดเชื้อโควิด แต่ต้องไม่ตอกย้ำจนกลายเป็นทางหลักทางเดียว ชมรมแพทย์ชนบท 28 กุมภาพันธ์ 2565

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า