SHARE

คัดลอกแล้ว

ศบค.ไม่มั่นใจตัวเลขติดเชื้อในประเทศเป็นศูนย์หลังพบผู้ป่วยไม่แสดงอาการเพิ่มมากขึ้น เร่งประสานชายแดนคุมเข้มแรงงานต่างด้าวเข้าประเทศผิดกฎหมาย ขณะที่วันนี้พบผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ใหม่ 5 รายกลับจากต่างประเทศ ผู้ป่วยยืนยันสะสมล่าสุด 3,202 ราย รักษาหายเพิ่ม 11 ราย กำลังรักษา 59 ราย

วันที่ 9 ก.ค.2563 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. รายงานว่า ไทยพบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อโควิด-19 รายใหม่ 5 ราย อยู่ในสถานกักกันตัวของรัฐ หรือ State Quarantine ผู้ป่วยยืนยันสะสมล่าสุดอยู่ที่ 3,202 ราย มีผู้ป่วยรักษาหายเพิ่ม 11 ราย รวมสะสม 3,085 ราย ขณะที่ผู้ป่วยกำลังรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 59 ราย ไม่มีผู้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น รวมเสียชีวิตอยู่ที่ 58 ราย

สำหรับผู้ติดเชื้อรายใหม่ทั้ง 5 รายมาจากสถานที่กักกันที่รัฐจัดให้ โดยเดินทางกลับมาจากสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ 4 ราย เป็นชาย 3 ราย อายุ 38 ปี 40 ปี และ 54 ปี และเป็นหญิงไทย 1 ราย อายุ 42 ปี ทั้งหมดมีอาชีพรับจ้าง เดินทางมาถึงประเทศไทยวันที่ 2 กรกฎาคม 2563 เข้าพัก State Quarantine ที่กรุงเทพฯ และจังหวัดชลบุรี โดยตรวจหาเชื้อในวันที่ 7 กรกฎาคม 2563 ผลตรวจพบเชื้อ ทั้งหมดไม่มีอาการ รวมทั้งเป็นผู้ที่เดินทางกลับมาจากอียิปต์ 1 ราย เป็นนักศึกษาชายไทย อายุ 22 ปี เดินทางมาถึงไทยเมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม 2563 โดยผ่านการคัดกรอง ณ ด่านควบคุมโรค พบว่ามีอาการการได้กลิ่นและรับรู้รสลดลง จึงส่งตรวจเชื้อในวันที่ 8 กรกฎาคม 2563 และผลตรวจพบเชื้อ

ภาพรวมสถานการณ์ผู้ติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) ในสถานกักกันของรัฐ จำแนกตามการมีอาการ และช่วงเวลาเริ่มมีอาการ 8 กรกฎาคม 63 จำนวน 260 ราย (ผู้ป่วยทั้งหมด 3,197 ราย) โดยพบว่าช่วงแรกมีอาการมากกว่าไม่มีอาการ ตัวเลขสะสม คือมีอาการ 51.2% และไม่มีอาการ 48.8% แต่ระยะหลังตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม – 8 กรกฎาคม 2563 จะพบว่าการตรวจพบผู้ติดเชื้อจะไม่ค่อยมีอาการ โดยพบว่าไม่มีอาการถึงเกือบ 60% ซึ่งสถานการณ์ที่เกิดขึ้นสะท้อนให้เห็นถึงการเปลี่ยนแปลงไปของโรคดังกล่าวในขณะนี้ สถิติตรงนี้จึงมีความสำคัญในการดูแลผู้ที่เดินทางเข้ามาในประเทศไทย พร้อมขอย้ำประชาชนทุกคนยังต้องสวมใส่หน้ากากอนามัยและหน้ากากผ้าในการดูแลสุขภาพส่วนบุคคลอยู่เสมอ เพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19)

นอกจากนี้ นพ.ทวีศิลป์ ได้ชี้แจงถึงกรณีผบ.ทบ. สหรัฐฯ แขกพิเศษของรัฐบาลเดินทางเข้าประเทศไทยว่า เป็นไปตามข้อตกลงพิเศษที่มาในระยะสั้น (Special Arrangement) จัดอยู่ใน 11 กลุ่มที่ผ่อนผันไม่ต้องเข้าสู่การกักตัว State Quarantine ตามข้อกำหนดในการผ่อนคลายมาตรการระยะที่ 5 การเดินทางเข้ามาในประเทศไทยครั้งนี้มีคณะผู้กำกับ/ติดตามการเดินทาง แบ่งออกเป็น 2 คณะ คณะที่ 1 คือกลุ่มผู้ติดตามที่จัดขึ้นโดยผู้เป็นฝ่ายเชิญ และคณะที่ 2 คือเป็นเจ้าหน้าที่สาธารณสุขและเจ้าหน้าที่ฝ่ายความมั่นคง ซึ่งทั้งหมดจะต้องผ่านการอบรมวิธีการป้องกันตนเองมาก่อนและต้องรายงานหน่วยงานของตน ให้มีการตรวจสุขภาพเพื่อความมั่นใจ

การปฏิบัติหน้าที่ของคณะทำงาน 2 กลุ่มนี้เป็นการทำงานระยะสั้น รักษาระยะห่าง Social Distancing ดังนั้นจึงไม่จำเป็นต้องกักตัว 14 วัน หลังเสร็จภารกิจ โดยเป็นการใช้หลักการเดียวกับการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ณ ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ ที่มีความใกล้ชิดกับชาวต่างชาติเป็นจำนวนมากแต่ไม่จำเป็นต้องทำการกักตัว หรือ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ ณ พื้นที่ State Quarantine ที่ใกล้ชิดกับกลุ่มผู้มีความเสี่ยง ก็ไม่จำเป็นต้องทำการกักตัวเช่นกัน

เมื่อถามว่า การเปิดรับชาวต่างชาติเดินทางเข้าประเทศไทยในโครงการ Medical and Wellness Tourism นำร่องโรงพยาบาลเอกชนเป็นการเอื้อประโยชน์ใช้หรือไม่

โฆษก ศบค. ชี้แจงว่า ชาวต่างชาติที่เดินทางเข้าไทยเป็นโครงการที่เคยทำมาก่อนหน้าสถานการณ์การแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสโควิด-19 เนื่องจากมีผู้ป่วยเดิมที่จะต้องติดตามการรักษาอีกจำนวนมากที่ได้รับผลกระทบเนื่องจากการงดเดินทางเข้า – ออก ประเทศไทย จึงถือว่าเป็นการรักษาต่อของผู้ป่วยเดิมและเป็นการขับเคลื่อนเศรษฐกิจอีกด้วย

การรักษาทั้งหมดอยู่ในโรงพยาบาลที่ถือว่ามีความเสี่ยงน้อย สามารถกำกับ/ควบคุมได้ ทั้งยืดระยะเวลาการรักษาในโรงพยาบาลให้ครบ 14 วัน เท่ากับระยะเวลาการกักตัวใน State Quarantine และจะต้องไม่เป็นการใช้ทรัพยากรที่เป็นภาระแก่โรงพยาบาล เช่น กรณีการผ่าตัดใหญ่ อย่างไรก็ตาม การรักษาที่สามารถทำได้ คือ การทำศัลยกรรมความงาม การรักษาโรคกระดูกและข้อ การทำเด็กหลอดแก้ว (IVF) การผ่าตัดแปลงเพศ เป็นต้น โดยข้อมูลเบื้องต้นปรากฏว่าอาจมีผู้เดินทางเข้ามาทั้งผู้เข้ารับการรักษาและผู้ติดตาม ประมาณ 2,000 คน ในอนาคตอาจมีการบูรณาการร่วมกับกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา ในการสนับสนุนการท่องเที่ยวหลังรับการรักษาเสร็จและไม่พบอาการติดเชื้อไวรัสโควิด-19

โฆษก ศบค. กล่าวว่า ที่ประชุมกระทรวงสาธารณสุขได้หารือในเรื่องของกลุ่มแรงงานที่เดินทางเข้ามายังประเทศไทยโดยไม่ถูกต้องตามกฎหมาย ซึ่งการเดินทางของกลุ่มบุคคลดังกล่าวนั้นยังไม่สามารถวางใจได้ ทั้งในกลุ่มของคนต่างด้าวหรือคนไทย อย่างไรก็ตามต้องมีการผ่อนคลายหลักเกณฑ์การเฝ้าระวัง (PUI) เพื่อให้สามารถดำเนินการเฝ้าระวัง ตรวจสอบโรคได้เพิ่มมากขึ้น ขณะเดียวกันต้องมีการเพิ่มความเข้มข้นของมาตรการป้องกันในจุดตรวจต่าง ๆ เพิ่มขึ้นด้วย

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า