SHARE

คัดลอกแล้ว

ศูนย์จีโนมฯ แนะไทยจับตาสายพันธุ์ย่อย 2.2 ล่าสุด สธ. แถลงพบสัดส่วนโอไมครอน BA.2 เพิ่มขึ้น ถอดรหัสพบ 4 รายเข้าข่าย BA.2.2

วันที่ 14 มี.ค. 2565 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ เปิดเผยถึงการเฝ้าระวังสายพันธุ์และการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ว่า จากการเฝ้าระวังสายพันธุ์โควิด-19 ช่วงวันที่ 5-11 มี.ค. 2565 พบสายพันธุ์เดลตาเพียง 6 ราย คิดเป็น 0.3% ที่เหลือ 1,961 ราย เป็นสายพันธุ์โอไมครอน คิดเป็น 99.7% เมื่อจำแนกสายพันธุ์ย่อยของโอไมครอน พบเป็น BA.1 จำนวน 610 ราย คิดเป็น 32% และ BA.2 จำนวน 1,272 ราย คิดเป็น 68% เพิ่มขึ้นจากสัปดาห์ก่อนที่พบ 52% และมีการกระจายทุกเขตสุขภาพทั่วประเทศ

นพ.ศุภกิจ กล่าวว่า สำหรับ BA.2 ยังมีการแบ่งเป็นสายพันธุ์ย่อยอีก 3 สายพันธุ์ คือ BA.2.1 , BA.2.2 และ BA.2.3 ซึ่งเป็นการแบ่งของกลุ่มนักวิเคราะห์ข้อมูลที่เตรียมส่งเข้ามายังฐานข้อมูลโลก GISAID แต่ยังไม่ได้กำหนดชื่อสายพันธุ์อย่างเป็นทางการ เนื่องจากต้องรอการตรวจสอบและวิเคราะห์ข้อมูลต่างๆ ก่อน คาดว่าจะมีความชัดเจนในเร็ววันนี้

สำหรับ BA.2.2 มีการกลายพันธุ์ที่โปรตีนหนามตำแหน่ง I1221T (S:I1221T) ที่มีรายงานพบมากที่ฮ่องกง และพบได้บ้างที่อังกฤษ ตามที่มีการเสนอข่าวในช่วง 2-3 วันมานี้นั้น ยังไม่สามารถสรุปได้ว่าเป็นสาเหตุที่ทำให้มีผู้ติดเชื้อและเสียชีวิตสูงขึ้นในฮ่องกง เนื่องจากการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นต้องมีการติดเชื้อมาก่อนอย่างน้อย 7-8 วัน

และหากมีการติดเชื้อจำนวนมากจนเกินกว่าระบบการแพทย์รองรับได้ก็อาจทำให้การเสียชีวิตเพิ่มขึ้นได้เช่นกัน นอกจากนี้ ยังไม่พบหลักฐานว่าทำให้เกิดพยาธิสภาพที่ปอดมากขึ้นหรือทำลายอวัยวะมากขึ้น และในอังกฤษก็ไม่ได้พบการติดเชื้อหรือเสียชีวิตเพิ่มขึ้นต่างจากเดิม

สำหรับประเทศไทยมีการตรวจโดยการถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสทั้งตัวประมาณ 500-600 รายต่อสัปดาห์ ขณะนี้พบ 4 ราย ที่มีโอกาสเป็นสายพันธุ์ BA.2.2 เป็นต่างชาติ 1 ราย และคนไทย 3 ราย แต่รายละเอียดต่างๆ ยังอยู่ในระหว่างการวิเคราะห์ อย่างไรก็ตาม จากการติดตามความสามารถในการแพร่เชื้อ ความรุนแรง หรือความสามารถในการหลบภูมิคุ้มกันจากการติดเชื้อหรือวัคซีน ยังไม่พบสัญญาณที่น่ากังวล

ด้าน นพ.บัลลังก์ อุปพงษ์ รองอธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ฮ่องกงมีประชากร 7.6 ล้านคน ช่วง 7 วันที่ผ่านมา มีการติดเชื้อโควิดสูงขึ้นจากเดิม 5 หมื่นราย เป็น 2.5 แสนราย และเสียชีวิต 1,900 ราย ซึ่งผิดปกติจากทุกประเทศที่เผชิญการระบาดของสายพันธุ์โอไมครอนที่ไม่ได้มีการติดเชื้อหรือเสียชีวิตเพิ่ม จึงต้องติดตามข้อมูลโดยละเอียดต่อไป โดยเฉพาะการเสียชีวิตในผู้สูงอายุหรือข้อมูลการฉีดวัคซีน

  • ศูนย์จีโนมฯ แนะจับตาสายพันธุ์ย่อย BA.2.2

ก่อนหน้านี้เมื่อวันที่ 10 มี.ค.ที่ผ่านมา ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ โรงพยาบาลรามาธิบดีได้โพสต์ข้อความระบุว่า โอไมครอน BA.2.2  (B.1.1.529.2.2)  จาก ฮ่องกงที่อาจเป็นภัยร้ายในอนาคต

การระบาดใหญ่ระลอกล่าสุดของโอไมครอนบนเกาะฮ่องกง อาจเป็นสาเหตุให้เกิดสายพันธุ์ใหม่  “BA.2.2”  หรือ  B.1.1.529.2.2 ที่มีการกลายพันธุ์เด่นตรงหนามแหลมซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโนตำแหน่งที่ 1221 จาก I (Isoleucine) เป็น T (Threonine) หรือ “S:I1221T” และการกลายพันธุ์ตรงยีน “ORf1a: T4087I” โดยมีการซับมิท รหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของ BA.2.2 ที่สุ่มตรวจได้ที่ฮ่องกงขึ้นบนฐานข้อมูลโควิดโลก “GISAID” ประมาณ 386 ตัวอย่าง และสุ่มพบการแพร่ระบาดในอังกฤษประมาณ  236  ตัวอย่างเช่นกัน

จากการโพสต์วันที่ 10 มี.ค. 2565 ระบุว่า ยังไม่พบ BA.2.2 ในประเทศไทย (จากการสุ่มตรวจจากตัวอย่างที่ RTPCR เป็นผลบวกต่อไวรัสโคโรนา 2019 ในอัตราร้อยละ 0.1  หรือตรวจในสัดส่วน 1 ใน 1,000) แต่จากการสุ่มถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมในอาเซียนพบในสิงคโปร์พบ 11  ราย อินโดนีเซีย 4 ราย  บูรไน 2 ราย  และ กัมพูชา 1 ราย แต่เพื่อไม่ประมาททางศูนย์จีโนมทางการแพทย์ฯได้เริ่มพัฒนาชุดตรวจ BA.2.2 แล้ว  คาดว่าจะแล้วเสร็จนำออกใช้ตรวจกรอง BA.2.2 ได้ภายในอีก 2 สัปดาห์ด้วยเทคโนโลยี “MassArray Genotyping” ซึ่งใช้เวลาในการตรวจรู้ผลบรรดาสายพันธุ์ที่น่ากังวล (variants of concern: VOC)  รวมทั้ง BA.2.2 ในการตรวจเพียงครั้งเดียว (single reaction) โดยใช้เวลาประมาณ 24-48 ชั่วโมงในการออกผล

การระบาดระลอกใหม่นี้ทำให้มีอัตราผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 ในฮ่องกงพุ่งขึ้นทำสถิติสูงสุดในโลก โดยมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยในรอบ 7 วันอยู่ที่ 30 คนต่อประชากร 1 ล้านคน ในขณะที่ประเทศไทยอยู่ที่ 0.85 คนต่อประชากร 1 ล้านคน ส่วนใหญ่เป็นผู้สูงอายุและผู้ที่ยังไม่ได้รับการฉีดวัคซีน ดังนั้นท่านที่ยังไม่ได้ฉีดวัคซีนควรรีบไปฉีด   ที่น่ากังวลคือจากการที่มีจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่จากโอไมครอนในฮ่องกงเพิ่มขึ้นอย่างมากเฉลี่ยในรอบ 7 วันอยู่ที่ 5,425 คนต่อประชากร 1 ล้านคน เมื่อเทียบกับอันดับสองประเทศลัตเวียจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่ใกล้เคียงกันคือ 5,278 ต่อประชากร 1 ล้านคน

ประเทศไทยอยู่ที่ 315 คนต่อประชากร 1 ล้านคน แต่ปรากฏว่าอัตราผู้เสียชีวิตจากโรคโควิด-19 บนเกาะฮ่องกงสูงมากคือโดยมีผู้เสียชีวิตเฉลี่ยในรอบ 7 วันอยู่ที่ 30 คนต่อประชากร 1 ล้านคน …

ที่มา : https://www.facebook.com/CMGrama

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า