SHARE

คัดลอกแล้ว

รัฐบาลฝรั่งเศสมอบวัคซีนไฟเซอร์ 3.2 ล้านโดสให้รัฐบาลไทย โดยแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคืออุปกรณ์การฉีด-วัคซีนไฟเซอร์  400,140 โดส และวัคซีนไฟเซอร์ ชนิด Ready to Use จำนวน 2,868,480 โดส 

วันที่ 4 เม.ย. 2565 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม พร้อมด้วยนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข รับมอบวัคซีนไฟเซอร์ (Pfizer) ป้องกันโควิด-19 จากสาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยมีนายตีแยรี มาตู (H.E. Mr. Thierry Mathou) เอกอัครราชทูตสาธารณรัฐฝรั่งเศสประจำประเทศไทย เป็นผู้แทนรัฐบาลสาธารณรัฐฝรั่งเศส โดยภายหลังการรับมอบฯ นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยสาระสำคัญ ดังนี้

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวขอบคุณรัฐบาลฝรั่งเศสสำหรับการสนับสนุนวัคซีนโควิด-19 ไฟเซอร์รวมจำนวน 3,268,620 โดส ขอบคุณเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสฯ ถือเป็นบุคคลสำคัญที่ผลักดันและสานต่อความสัมพันธ์ระหว่างไทย-ฝรั่งเศสให้มีความใกล้ชิดมาอย่างต่อเนื่อง พร้อมยินดีที่ได้ร่วมมือกันในทุกมิติอย่างต่อเนื่องต่อไป โดยเฉพาะด้านสาธารณสุขเพื่อร่วมกันก้าวผ่านสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 นายกรัฐมนตรียืนยันว่าไทยจะใช้ประโยชน์จากวัคซีนที่ได้การสนับสนุนให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง เท่าเทียม และจะสนับสนุนการบริจาควัคซีนให้แก่ประเทศต่าง ๆ เช่นกัน เพื่อให้ทุกประเทศสามารถเข้าถึงวัคซีนได้ โดยไทยได้บริจาควัคซีนแอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca) ให้แก่ประเทศเพื่อนบ้าน ประเทศในภูมิภาคเอเชียใต้ และภูมิภาคแอฟริกา นอกจากนี้ ได้ขอบคุณรัฐบาลฝรั่งเศสความร่วมมือและมิตรภาพที่ดีต่อกัน ซึ่งนายกรัฐมนตรีได้ติดตามการเลือกตั้งประธานาธิบดีฝรั่งเศส และขอให้การเลือกตั้งเป็นไปอย่างราบรื่น

เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสฯ ยินดี และเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ได้ส่งมอบวัคซีนในครั้งนี้ ถือเป็นนัยยะสำคัญที่แสดงให้เห็นถึงมิตรภาพที่ดีระหว่างไทย-ฝรั่งเศส เชื่อมั่นว่าทั้งสองประเทศจะสามารถแลกเปลี่ยนประสบการณ์และองค์ความรู้ด้านการบริหารจัดการสถานการณ์โควิด-19 และด้านการสาธารณสุขได้อย่างมีประสิทธิภาพ พร้อมยินดีส่งเสริมความสัมพันธ์ทวิภาคี โดยเฉพาะการแลกเปลี่ยนการเยือนระหว่างกัน การยกระดับการเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ไทย-ฝรั่งเศส ตลอดจนความร่วมมือพหุภาคีผ่านอาเซียน – ฝรั่งเศส ในฐานะที่ฝรั่งเศสเป็นประเทศหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาของอาเซียน

โอกาสนี้ ทั้งสองฝ่ายได้หารือประเด็นความร่วมมือต่าง ๆ  ได้แก่ ความร่วมมือทวิภาคี ทั้งสองฝ่ายยินดีที่การลงนามในแผนการ (Roadmap) สำหรับการดำเนินความสัมพันธ์ไทย-ฝรั่งเศส (ค.ศ.2022-2025) ในช่วงระหว่างการประชุมรัฐมนตรีต่างประเทศเกี่ยวกับความร่วมมือในอินโด – แปซิฟิก ณ กรุงปารีส เป็นผลสำเร็จ นายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่าจะสามารถผลักดันความร่วมมือภายใต้แผนการดังกล่าวให้เป็นรูปธรรมได้โดยเร็ว บนพื้นฐานของผลประโยชน์ร่วมกันต่อการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากสถานการณ์โควิด-19 ด้านเอกอัครราชทูตฝรั่งเศสเห็นพ้องและพร้อมที่จะยกระดับความสัมพันธ์ของทั้งสองประเทศสู่การเป็นหุ้นส่วนทางยุทธศาสตร์ผ่านการลงนามความตกลงว่าด้วยความเป็นหุ้นส่วนและความร่วมมือรอบด้าน (Partnership and Cooperation Agreement – PCA) ให้บรรลุผลสำเร็จโดยเร็ว

ความร่วมมือพหุภาคี เอกอัครราชทูตฝรั่งเศสฯ กล่าวว่าการเป็นประธานคณะมนตรีแห่งสหภาพยุโรป (อียู) ของฝรั่งเศสในช่วงครึ่งแรกของปี 2565 ได้มีการจัดการประชุมครั้งแรกเป็นที่เรียบร้อย ซึ่งประสบผลสำเร็จด้วยดี โดยฝรั่งเศสให้ความสำคัญกับภูมิภาคอินโด-แปซิฟิก และพร้อมที่จะร่วมมือกับอาเซียนให้มากขึ้น ด้านนายกรัฐมนตรีเชื่อมั่นว่า ฝรั่งเศสจะช่วยส่งเสริมการกำหนดทิศทางนโยบายของสหภาพยุโรปให้มีศักยภาพเพิ่มขึ้น โดยนายกรัฐมนตรียินดีที่จะขยายความร่วมมือรอบด้าน โดยเฉพาะการฟื้นฟูเศรษฐกิจและสังคมจากวิกฤตโควิด-19 อย่างยั่งยืน

นอกจากนี้ทั้งสองฝ่ายได้หารือแลกเปลี่ยนความคิดเห็นถึงสถานการณ์ความขัดแย้งระหว่างรัสเซียกับยูเครนอย่างสร้างสรรค์

การรับมอบวัคซีนฯ ครั้งนี้ แบ่งออกเป็น 2 ส่วน ได้แก่ 1. วัคซีนไฟเซอร์ จำนวน 400,140 โดส และอุปกรณ์การฉีด และ 2. วัคซีนไฟเซอร์ ชนิด Ready to Use (RTU) จำนวน 2,868,480 โดส ซึ่งทั้งหมดได้ส่งถึงไทยแล้วและจะจัดสรรวัคซีนให้เหมาะสมและครอบคลุมแก่ประชาชนต่อไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า