SHARE

คัดลอกแล้ว

ศบค.ชุดใหญ่เคาะยกเลิก Test & Go  หากฉีดวัคซีนไม่ครบให้ตรวจหาเชื้อโควิดด้วยวิธี RT-PCR ในวันที่ 4-5 ที่เดินทางมาถึงประเทศไทย นอกจากนี้ ศบค.เห็นชอบยกเลิกพื้นที่คุมโควิด-19 โซนสีสม และเพิ่มพื้นที่ท่องเที่ยวอีก 2 จังหวัดเริ่ม 1 พ.ค.นี้

วันที่ 22 เม.ย. 2565 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา  นายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม เป็นประธานการประชุมศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 ครั้งที่ 7/2565 ติดตามการประเมินสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 ช่วงเทศกาลสงกรานต์ที่ผ่านมา

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19(ศบค.) แถลงสรุปมติที่สำคัญดังนี้

  1. ปรับโซนคุมโควิด-19 แต่ละพื้นที่ใหม่ ให้ดื่มเหล้าเบียร์ในร้านอาหารได้ไม่เกิน 24.00 น.
  • โซนสีแดงพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 0 จังหวัด
  • ยกเลิกพื้นที่ควบคุมโซนสีส้มทั้งหมด
  • โซนสีเหลือง พื้นที่เฝ้าระวังสูงเพิ่มเป็น 65 จังหวัด จากเดิม 47 จังหวัด ได้แก่

กาฬสินธุ์ กำแพงเพชร ขอนแก่น จันทบุรี ฉะเชิงเทรา ชัยนาท ชัยภูมิ ชุมพร เชียงราย ตรัง ตราด นครพนม นครสวรรค์ นราธิวาส น่าน บึงกาฬ ปราจีนบุรี ปัตตานี พะเยา เพชรบูรณ์ แพร่ มหาสารคาม มุกดาหาร แม่ฮ่องสอน ยโสธร ยะลา ร้อยเอ็ด ลพบุรี ลำปาง ลำพูน เลย ศรีสะเกษ สกลนคร สตูล สมุทรสงคราม สระแก้ว สระบุรี สิงห์บุรี สุโขทัย สุพรรณบุรี สุรินทร์ หนองคาย หนองบัวลำภู อ่างทอง อำนาจเจริญ อุทัยธานี อุบลราชธานี ตาก นครนายก นครปฐม นครราชสีมา นครศรีธรรมราช บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ พระนครศรีอยุธยา พัทลุง พิจิตร พิษณุโลก ระนอง ราชบุรี สมุทรปราการ สมุทรสาคร สุราษฏร์ธานี อุดรธานี และอุตรดิตถ์

  • เพิ่มจังหวัดท่องเที่ยวโซนสีฟ้าเป็น 12 จังหวัด จากเดิม 10 จังหวัด ดื่มเหล้าเบียร์ในร้านอาหารได้ไม่เกิน 24.00 น. คือ กรุงเทพฯ กาญจนบุรี กระบี่ ชลบุรี เชียงใหม่ นนทบุรี ปทุมธานี พังงา เพชรบุรี ภูเก็ต ระยอง สงขลา และบางจังหวัดกำหนดพื้นที่ย่อยในระดับอำเภอ

2. ยกเลิกเข้าไทยแบบ Test & Go ไม่ต้องตรวจหาเชื้อโควิด ด้วยวิธี RT-PCR 

ศบค.เห็นชอบแนวทางการผ่อนคลายมาตรการการเดินทางเข้าราชอาณาจักร ตามคณะกรรมการวิชาการ กระทรวงสาธาณสุขเสนอยกเลิกเข้าไทยแบบ Test & Go ให้มีผลบังคับใช้วันที่ 1 พ.ค. 2565 ดังนี้

2.1 ผู้เดินทางที่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ (Vaccinated Travelers)
– ยกเลิกการตรวจหาเชื้อโควิดเมื่อเดินทางมาถึงประเทศ
– แนะนำให้ตรวจ Self-ATK ระหว่างพำนัก หากพบเชื้อฯ ให้เข้าสู่กระบวนการตามประกันภัย หรือตามความรับผิดชอบของบุคคล

2.2 ผู้เดินทางที่ไม่ได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ หรือได้รับแต่ไม่ครบตามเกณฑ์ (Unvaccinated Travelers)
– ให้ตรวจหาเชื้อโควิด ด้วยวิธี RT-PCR ในวันที่ 4-5 ที่เดินทางมาถึงประเทศไทย
– แนะนำให้ตรวจ Self-ATK ระหว่างพำนัก หากพบเชื้อฯ ให้เข้าสู่กระบวนการตามประกันภัย หรือตามความรับผิดชอบของบุคคล

2.3 ปรับลดวงเงินประกันสำหรับผู้เดินทางทั้ง 2 กลุ่ม (ข้อ 1 และ ข้อ 2) จากไม่ต่ำกว่า 20,000 เหรียญสหรัฐ เป็นไม่ต่ำกว่า 10,000 เหรียญสหรัฐ

3. ลดวันกักตัวผู้สัมผัสเสี่ยงสูงกักตัว 5 วัน + สังเกตอาการ 5 วัน

คำนิยาม ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง คือ ผู้ที่ร่วมกับผู้ป่วย เช่น ทานอาหาร ดื่มสุรา อยู่ในสถานที่ระบบปิดร่วมกันโดยไม่สวมหน้ากาก  แนวทางการจัดการผู้สัมผัสเสี่ยงสูงของผู้ป่วยส/ผู้ติดเชื้อโควิด-19 คือ

  • ให้ให้กักตัวที่บ้าน 5 วัน ตรวจสอบอาการป่วยทุกวัน
  • ตรวจ ATK วันที่ 5 หลังสัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยครั้งสุดท้าย ถ้าหากมีอาการให้ตรวจ ATK ทันที
  • สังเกตอาการตนเอง 5 วัน
  • ไปทำงานได้ แยกพื้นที่กับผู้อื่น
  • ปฎิบัติตามมาตรการ Universal Prevention
  • งดไปสถานที่สาธารณะ
  • งดร่วมกิจกรรมรวมกลุ่มคนจำนวนมาก
  • งดใช้ขนส่งสาธารณะที่หนาแน่น

  • โควิดไทยถึงช่วงขาลงเร็วกว่าที่คาด แต่ยังไม่เป็นโรคประจำถิ่น

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า ตอนนี้เราอยู่ในระยะที่กำลังต่อสู้กับโควิด-19 พบว่า 21 จังหวัดอยู่ในกลุ่มของตัวเลขผู้ติดเชื้อ โควิด-19 ขาขึ้น ที่ยังต้องต่อสู้กับการแพร่ระบาด ประกอบด้วย จังหวัดลำพูน แพร่ ลำปาง พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร นครสวรรค์ สกลนคร บึงกาฬ เลยอุดรธานี ขอนแก่น นครพนม หนองคาย ยโสธร มหาสารคาม ศรีสะเกษ นนทบุรี นครนายก กาญจนบุรี และอุทัยธานี

สถานการณ์เริ่มทรงตัว มี 44 จังหวัด คือ กรุงเทพ  แม่ฮ่องสอน เชียงราย เชียงใหม่ น่าน เพชรบูรณ์ อุตรดิตถ์ พะเยา พิจิตร ชัยนาท พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี สิงห์บุรี ลพบุรี ตาก สมุทรสงครามสมุทรสาคร ราชบุรี นครปฐม อ่างทอง สระบุรี ประจวบคีรีขันธ์ สุพรรณบุรี พัทลุง พังงา ชุมพร ชลบุรี สมุทรปราการ มุกดาหาร ฉะเชิงเทรา จันทบุรี ระยอง ปราจีนบุรี ตราด สระแก้ว หนองบัวลำภู อำนาจเจริญ อุบลราชธานี นครราชสีมา ร้อยเอ็ด กาฬสินธุ์ ชัยภูมิ บุรีรัมย์ และสุรินทร์

และ 12 จังหวัดเป็นช่วงขาลง พบว่ามี 12 จังหวัด คือ เพชรบุรี สุราษฎร์ธานี กระบี่ ระยอง ตรัง นครศรีธรรมราช ภูเก็ต สตูล สงขลา ยะลาปัตตานี และนราธิวาส

“การประกาศโรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นนั้น อัตราจำนวนผู้เสียชีวิตถือเป็นเรื่องที่สำคัญที่จะนำมาใช้ในการบอกว่า เราไปถึงระยะนั้นแล้วหรือไม่ การเสียชีวิตจะต้องน้อยกว่า 0.1% เป็นรายสัปดาห์หรือสองสัปดาห์ติดต่อกัน นั่นคือสิ่งที่ต้องพยายามทำให้อัตราผู้เสียชีวิตต่ำไปกว่านี้ เพื่อจะได้นำไปสู่การประกาศเป็นโรคประจำถิ่น” นพ.ทวีศิลป์ กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า