Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ.สำรองเตียง 1.8 แสนเตียงรับผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่เพิ่มขึ้นหลังสงกรานต์ เผยอัตราครองเตียงล่าสุดอยู่ที่ 35.8% พบผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่ไม่ได้ฉีดวัคซีน

วันที่ 22 เม.ย. 2565 นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า หลังวันหยุดเทศกาลสงกรานต์พบผู้ติดเชื้อรายใหม่ที่เพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่ไม่มีอาการหรือมีอาการเล็กน้อย การติดเชื้อในเด็กมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับการติดเชื้อเดือน ม.ค.ที่ผ่านมา การเสียชีวิตในเด็กพบว่ามากกว่า 50% เด็กที่มีอายุน้อยกว่า 5 ปี ส่วนใหญ่มีโรคร่วม และเกือบทั้งหมดไม่มีข้อมูลได้ฉีดวัคซีน นอกจากนี้ยังพบว่ากลุ่มที่เสียชีวิต จากผู้ป่วยอาการหนักยังเป็นกลุ่มสูงวัย กลุ่มเปราะบาง มีโรคเรื้อรัง ติดบ้าน ติดเตียงที่รับเชื้อจากคนใกล้ชิด

นพ.สมศักดิ์ กล่าวว่า รักษาขณะนี้ทั่วประเทศมีเตียงรักษาโควิดประมาณ 1.8 แสนเตียง อัตราครองเตียงประมาณ 35.8% การระบาดของโควิด-19 มีแนวโน้มสูงขึ้นจากก่อนช่วงเทศกาลสงกรานต์ ส่วนมากเป็นกลุ่มอาการสีเขียว การรักษาผู้ป่วยส่วนใหญ่จึงเป็นรูปแบบ Home Isolation (HI) / Community Isolation (CI) และแบบผู้ป่วยนอก หรือ “เจอ แจก จบ” (Outpatient with Self Isolation : OPSI) จึงยังมีเตียงรองรับกลุ่มอาการหนัก

การรักษาผู้ป่วยโควิด-19 เป็นไปตามแนวทางการรักษา (CPG) ของกรมการแพทย์ แบ่งเป็น 4 กลุ่ม
1. กลุ่มที่ไม่มีอาการหรือสบายดี ไม่ต้องกินยาต้านไวรัส อาจให้ยาฟ้าทะลายโจรขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์
2. กลุ่มอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยง พิจารณาให้ Favipiravir เร็วที่สุด
3. กลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อโรครุนแรงหรือกลุ่มที่มีปอดอักเสบ แต่ยังไม่ต้องให้ออกซิเจน พิจารณาให้ยาต้านไวรัสเร็วที่สุด ตัวใดตัวหนึ่ง ตาม CPG ของกรมการแพทย์ ได้แก่ Favipiravir หรือ Remdesivir หรือ Molnupiravir หรือ Nirmartelvir/ritonavir (Paxlovid) โดยประเมินจากประวัติวัคซีนและปัจจัยเสี่ยงต่อโรครุนแรง
4. กลุ่มอาการปอดอักเสบต้องได้รับการรักษาด้วยออกซิเจน พิจารณาให้ Remdesivir เร็วที่สุด

สำหรับการรักษาในผู้ป่วยกลุ่มเด็ก มีแนวทางรักษา คือ การให้ยา Favipiravir ชนิดเม็ดและชนิดน้ำในกลุ่มอาการไม่รุนแรง และ Remdesivir ในกลุ่มอาการปานกลางถึงรุนแรง

การรักษาในกลุ่มหญิงตั้งครรภ์ แนวทางคือ การให้ยา Remdesivir และอาจพิจารณาให้ Favipiravir ในไตรมาสที่ 2-3 พิจารณาเป็นกรณี ทั้งนี้ การรักษาผู้ป่วยโควิด 19 ขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ โรคประจำตัว และประวัติการได้รับวัคซีน เพื่อให้ผลการรักษามีประสิทธิภาพสูงสุด

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้บริหารจัดการเตียงร่วมกับหน่วยงานเครือข่ายต่างๆ ได้แก่ โรงพยาบาลภาคีเครือข่าย UHosNeT กรุงเทพฯ โรงพยาบาลเอกชน ภาคประชาสังคม หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง และได้ประชุมเตรียมความพร้อมด้านการรักษาพยาบาลและการป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาลในเขตกรุงเทพมหานครกลุ่มปฏิบัติการด้านการจัดการเตียงและรักษาพยาบาล UHosNeT BKK กรมการแพทย์ทุกสัปดาห์ เพื่ออัปเดต สถานการณ์ภาพรวมการรักษาผู้ป่วยโควิด-19 ประเมินสถานการณ์และศักยภาพเตียงรองรับผู้ป่วย ในโรงพยาบาลต่าง ๆ ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งภาพรวมของประเทศด้วย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า