SHARE

คัดลอกแล้ว

ไทยยังไม่เข้าเงื่อนไขปรับโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น นายกฯ ขอความร่วมมือปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุข เพื่อให้ตัวเลขผู้ติดเชื้อลดลงจนกว่าจะเข้าเกณฑ์ ติดเชื้อต่ำกว่าหมื่นรายต่อวัน เสียชีวิตน้อยกว่า 0.1% ต่อเนื่องอย่างน้อย 2 สัปดาห์

วันที่ 30 เม.ย. 2565 นายธนกร วังบุญคงชนะ โฆษกประจำสำนักนายกรัฐมนตรี เปิดเผยว่า พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชานายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงกลาโหม ยืนยันว่า ขณะนี้รัฐบาลก็ยังไม่ได้มีการประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น (endemic disease) แม้รัฐบาลและศบค.ได้มีการผ่อนคลายปรับมาตรการต่าง ๆ แล้ว แต่ยังไม่เข้าหลักเกณฑ์และค่าเป้าหมายที่กำหนด เช่น ผู้ป่วยรายใหม่ไม่เกิน 10,000 ราย/วัน อัตราป่วยตาย น้อยกว่าร้อยละ 0.1 ดังนั้นจึงต้องขอความร่วมมือประชาชนทุกภาคส่วนช่วยกันปฏิบัติตามมาตรการด้านสาธารณสุขต่อเนื่อง เพื่อเตรียมรองรับในอนาคตเมื่อเข้าหลักเกณฑ์ที่จะประกาศให้โรคโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นต่อไป โดยยืนยันจะไม่กระทบในส่วนการรักษาพยาบาล เพราะระบบการคลัง ระบบ สปสช. ยังคงเข้าดูแลเช่นเดิมตามสิทธิที่ทุกคนมีสิทธิ์การรักษาสิทธิ์ใดสิทธิ์หนึ่งอยู่แล้วทั้งบัตรทอง ประกันสังคม และบัตรข้าราชการ เป็นต้น

ล่าสุดสำนักงานการบินพลเรือนแห่งประเทศไทย (CAAT) ได้ออกประกาศนักบิน (NOTAM) แจ้งสายการบินทั่วโลกถึงมาตรการที่ปรับปรุงในการเดินทางทางอากาศเข้ามายังประเทศไทยแล้ว เพื่อสร้างความเข้าใจและให้สายการบินปฏิบัติตามมาตรการได้อย่างถูกต้อง ซึ่งจะมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม 2565 เป็นต้นไป พร้อมเน้นย้ำและขอความร่วมมือสายการบินให้ช่วยตรวจสอบกลั่นกรองเอกสารและเฝ้าระวัง อย่างเคร่งครัดตามมาตรการใหม่ รวมทั้งให้สายการบินแจ้งข้อมูลผู้โดยสารให้ครบถ้วนถูกต้องเพื่อสามารถเตรียมพร้อมและอำนวยความสะดวกแก่ผู้เดินทางเข้าประเทศตามมาตรการใหม่ได้อย่างเต็มที่และเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ

สำหรับเกณฑ์พิจารณาปรับให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น มี 3 เงื่อนไข คือ

1. ผู้ป่วยรายใหม่ไม่เกิน 10,000 คนต่อวัน

2. อัตราป่วยตายน้อยกว่า ร้อยละ 0.1 ต่อเนื่องอย่างน้อย 2 สัปดาห์

3. เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาล น้อยกว่าร้อยละ 10

4. กลุ่มเสี่ยงป่วยรุนแรงได้รับวัคซีนอย่างน้อย 2 โดส มากกว่าร้อยละ 80

เพจเฟซบุ๊กศูนย์ข้อมูล COVID-19 โพสต์ว่า มติคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ เห็นชอบปรับโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น เริ่ม 1 ก.ค.นี้ แบ่งระยะของโควิดเป็นโรคประจำถิ่น 4 ระยะ

– ระยะที่ 1 (12 มี.ค.-ต้น เม.ย.) เรียกว่า Combatting ต้องออกแรงกดตัวเลขไม่ให้สูงกว่านี้ เป็นระยะต่อสู้ เพื่อลดการระบาด ลดความรุนแรงลง จะมีมาตรการต่างๆ ออกไป การดำเนินการให้กักตัวลดลง

– ระยะที่ 2 (เม.ย.-พ.ค.) เรียกว่า Plateau คือ การคงระดับผู้ติดเชื้อไม่ให้สูงขึ้น ให้เป็นระนาบจนลดลงเรื่อยๆ

– ระยะที่ 3 (ปลาย พ.ค.-30 มิ.ย.) เรียกว่า Declining การลดจำนวนผู้ติดเชื้อลงให้เหลือ 1,000-2,000 คน

– ระยะ 4 ตั้งแต่ 1 ก.ค. 65 เป็นต้นไป เรียกว่า Post pandemic คือ ออกจากโรคระบาด เข้าสู่โรคประจำถิ่น

สถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 วันนี้มีผู้ติดเชื้อรายใหม่เพิ่มจำนวนรวม 12,888 ราย จำแนกเป็น ผู้ป่วยจากในประเทศ 12,784 ราย และผู้ป่วยมาจากต่างประเทศ 104 ราย  มียอดการได้รับวัคซีนสะสม ตั้งแต่วันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2564 – 28 เมษายน 2565 รวม 133,141,807 โดส ใน 77 จังหวัด จำแนกเป็น จำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 1 สะสม 56,232,122 รายจำนวนผู้ได้รับวัคซีนเข็มที่ 2 สะสม 51,177,370 ราย และจำนวนผู้ได้รับวัคซีน เข็มที่ 3 สะสม 25,732,315 ราย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า