SHARE

คัดลอกแล้ว

ดีเดย์ 1 มิ.ย.นี้ ศบค.ปลดล็อกให้เปิดสถานบันเทิงพื้นที่นำร่องท่องเที่ยว 17 จังหวัด และพื้นที่เฝ้าระวัง 14 จังหวัด ขายและนั่งดื่มได้ไม่เกิน 24.00 น. ผู้ใช้บริการ พนักงาน นักร้อง นักดนตรี ต้องได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์และเข็มกระตุ้น พนักงานต้องตรวจ ATK ทุก 7 วันหรือเมื่อมีความเสี่ยง

วันที่ 20 พ.ค. 2565 พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และ รมว.กลาโหม แถลงภายหลังเป็นประธานประชุมคณะกรรมการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด -19 (ศบค.ชุดใหญ่) ว่า สถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยดีขึ้น ติดเชื้อและเสียชีวิตลดลงอย่างต่อเนื่อง ขอขอบคุณทุกคนที่ให้ความร่วมมือ ขอให้ไปฉีดวัคซีน โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงไปฉีดวัคซีนป้องกันโควิดเข็มบูสเตอร์โดส เพราะช่วยลดอาการรุนแรง เสียชีวิตได้

นายกรัฐมนตรี กล่าวว่า วันนี้สถานการณ์โควิดดีขึ้นจึงมีการพิจารณาผ่อนคลายปรับพื้นที่สี เหลือสีเขียว สีฟ้า และสีเหลือง นอกจากนี้ยังได้เห็นชอบผ่อนคลายผับ-บาร์ต่างๆ ให้เปิดบริการได้ตั้งแต่วันที่ 1 มิ.ย.เป็นต้นไป แต่ขอให้ประชาชนและผู้ให้บริการพิจารณาหลักการด้านสาธารณสุขด้วย ทุกอย่างที่มาตรการรัฐออกไป ทราบดีว่าประชาชนเดือดร้อน ไม่สบายใจ ทุกคนถูกสถานการณ์ทำให้ลำบากในการประกอบอาชีพ ซึ่งรัฐบาลก็ทำเต็มที่ ขอให้เข้าใจรัฐบาล วันนี้ประเทศไทยเป็นประเทศหลักอันดับต้นๆ ในการดูแลเรื่องโควิด หลายอย่างองค์การอนามัยโลกนำของเราไปศึกษา

⚫ สรุปผลการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ 5 เรื่องสำคัญ

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษก ศบค. แถลงผลการประชุม ศบค.ชุดใหญ่ พร้อมรายงานสถานการณ์โควิด-19 ประเทศไทยดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง การติดเชื้อและเสียชีวิตลดลง ขอความร่วมมือทุกภาคส่วนร่วมกันทำให้วันที่ 1 ก.ค.สามารถปรับโควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่นได้ สาระสำคัญการประชุมวันนี้

1. ยกเลิกกักตัว ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ไม่ต้องกักตัว แต่ต้องสังเกตตัวเอง 10 วัน และสวมหน้ากากอนามัยสำหรับการปรับพื้นที่สถานการณ์และมาตรการป้องกันโรคแบบบูรณา ดังนี้

2. ปรับพื้นที่ความคุมโควิด-19 

– พื้นที่เฝ้าระวังสูง (สีเหลือง) จาก 65 จังหวัด ลดลงเหลือ 46 จังหวัด ห้ามรวมตัวกันเกิน 1,000 คน

– พื้นที่เฝ้าระวัง (สีเขียว) เพิ่มเป็น 14 จังหวัด

– พื้นที่สีฟ้า (นำร่องท่องเที่ยว) จาก 12 จังหวัด เพิ่มขึ้นเป็น 17 จังหวัด จังหวัดอื่นดำเนินการบางพื้นที่ จาก 16 จังหวัด เป็น 12 จังหวัด

3. เปิดผับ-บาร์-คาราโอเกะ-อาบอบนวด
ศบค.เห็นชอบ (ร่าง) แผนการปรับมาตรการป้องกันควบคุมโรคโควิด-19 สำหรับสถานบริการ สถานประกอบการ ที่มีลักษณะคล้ายสถานบริการ สถานบันเทิง ผับ บาร์ คาราโอเกะ หรือ สถานที่อื่นที่มีลักษณะคล้ายกัน เริ่ม 1 มิ.ย. 2565 ในพื้นที่ในการเปิดดำเนินการ ได้แก่ พื้นที่สีฟ้า และพื้นที่สีเขียว

ลักษณะการเปิดให้บริการ กำหนดเวลาในการให้บริการ-จำหน่าย และบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ไม่เกิน 24.00 น. ห้ามไม่ให้นั่งดื่ม และงดการใช้แก้วร่วมกัน การให้บริการที่มีการคลุกคลีและสัมผัสใกล้ชิดกับลูกค้า จะต้องสวนหน้ากาก

มาตรการสำหรับผู้ให้บริการ
– พนักงาน นักร้อง นักดนตรี และบุคคลที่เกี่ยวข้อง ต้องได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ รวมถึงวัคซีนเข็มกระตุ้น
– ตรวจคัดกรองความเสี่ยงพนักงานทุกวัน ด้วย (TST)
– ตรวจพนักงานทุกคนด้วย ATK ทุก 7 วัน และเมื่อมีอาการหรือมีความเสี่ยง
– ถือปฏิบัติตามาตรการ UP

มาตรการสำหรับผู้รับบริการ
– ผู้รับบริหารต้องแสดงหลักฐานการได้รับวัคซีนครบตามเกณฑ์ รวมถึงวัคซีนเข็มกระตุ้น
– ถือปฏิบัติตามมาตรการ UP
– แนะนำให้ประชากรกลุ่ม 608 หลีกเลี่ยงการเข้ารับบริการ

มาตรการสำหรับสถานประกอบการ
– สถานบริการ ฯ ที่จะเปิดดำเนินการ ต้องขออนุญาตจากคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด/กทม.
– อนุญาตให้เปิดดำเนินการเฉพาะสถานบันเทิงที่ขึ้นทะเบียน
– จัดพื้นที่ให้บริการโดยมีระยะห่างโต๊ะอย่างน้อย 1 เมตร
– มีการระบายอากาศที่ดีและเพียงพอ
– จัดให้มีการตรวจสอบผู้รับบริหารว่า เป็นผู้ที่ได้รับวัคซีนครบถ้วน รวมถึงวัคซีนเข็มกระตุ้น และไม่ใช่กลุ่ม 608

อนุญาตให้สถานประกอบการกลุ่มโรงภาพยนตร์ โรงมหรสพ การแสดงพื้นบ้าน หรือ สถานที่ลักษณะเดียวกัน เปิดดำเนินการได้ตามปกติ โดยไม่จำกัดจำนวนผู้เข้าชม

4. ปรับมาตรการ  Thailand Pass เริ่ม 1 มิ.ย.นี้ คนไทยไม่ต้องลงข้อมูลใน Thailand Pass
– ผู้เดินทางที่ไม่ได้รับวัคซีน หรือได้รับวัคซีนไม่ครบ สามารถแสดงผล pro-ATK หรือ RT-PCR ภายใน 72 ชม. ก่อนเดินทาง
– ยกเลิกการกักตัว ในกลุ่มที่ไม่ได้รับวัคซีน หรือได้รับไม่ครบ และไม่มีผลตรวจ โดยเมื่อเดินทางมาถึงสามารถตรวจ pro-ATK เมื่อถึงสนามบิน
– ประกันสุขภาพต่างชาติยังคงไว้ที่ 10,000 USD
– แนวปฏิบัติ ให้สายการบินตรวจสอบเอกสารต่างชาติ ที่ปรากฏตามหน้า QR code (วัคซีน หรื อผลตรวจทางห้องปฏิบัติการ) และออก Boarding Pass
– เดินทางถึงประเทศไทยทำการตรวจสอบและลงระบบคัดกรองเข้าประเทศ
– ระบบ Thailand Pass โอนให้กรมควบคุมโรค ทั้งระบบ ทรัพยากร และงบประมาณ เพื่อมาพัฒนาระบบการติดตามโรคติดต่ออันตราย ได้แก่ โรคไข้เหลือง อีโบลา และโรคอุบัติใหม่

5. แผนการฉีดวัคซีน 

6. ขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน ครั้งที่ 18 ระยะเวลา 2 เดือน (1 มิ.ย.-31 ก.ค. 2565)

⚫ ยังไม่พิจารณาให้โควิดเป็นโรคประจำถิ่น

ด้านนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรมว.สาธารณสุข กล่าวว่า วันนี้ยังไม่พิจารณาให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น และยังไม่เคยกำหนดว่าจะกำหนดให้วันที่ 1 ก.ค.จะต้องเป็นวันเริ่ม แต่การดำเนินการอยู่ในแนวนี้อยู่แล้ว โรคประจำถิ่นไม่ใช่อยู่ดีๆ จะประกาศได้ เบื้องต้นสถานการณ์โควิด-19 ของประเทศไทยเริ่มเข้าสู่การเป็นโรคประจำถิ่น การเป็นโรคประจำถิ่นคือมีผู้เสียชีวิตจำนวนไม่มาก แต่อาจมีผู้ติดเชื้อจำนวนมากได้ แต่อาการไม่รุนแรง คนที่ได้รับวัคซีนแล้วอาการไม่รุนแรงไม่ถึงขั้นเสียชีวิต นี่คือบริบทหนึ่งของโรคประจำถิ่น

เมื่อถามถึงความคืบหน้าการแก้ไข พ.ร.บ.โรคติดต่อ ที่จะมาบังคับใช้แทน พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ นายอนุทิน ล่าวว่า พ.ร.บ.โรคติดต่อถูกนำมาใช้อยู่แล้ว ควบคู่ไปกับ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ เป็นการรวมความร่วมมือของทุกฝ่าย โดยนายกรัฐมนตรีเป็นประธาน ตราบใดที่ ศบค. ยังไม่ยุบ พ.ร.ก.ฉุกเฉินฯ ยังมีผลบังคับใช้เราก็ทำงานร่วมกัน

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า