SHARE

คัดลอกแล้ว

กระทรวงสาธารณสุขยังไม่ประกาศให้โควิด-19 เป็นโรคประจำถิ่น หลังพบการแพร่ระบาดของสายพันธุ์ย่อย BA.4 – BA.5 โดยศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) นัดประชุมชุดใหญ่ในวันที่ 8 ก.ค.นี้ เพื่อปรับแนวทางและมาตรการรวมถึงพิจารณาแผนปรับโควิดเป็นโรคประจำถิ่นอีกครั้ง

ล่าสุดวันนี้ (1 ก.ค. 2565) พล.อ.สุพจน์ มาลานิยม เลขาธิการสภาความมั่นคงแห่งชาติ (สมช.) ในฐานะผู้อำนวยการศูนย์ปฏิบัติการศูนย์บริหารสถานการณ์โควิด-19 (ศปก.ศบค.) เปิดเผยว่า มีการพูดคุยเกี่ยวกับสายพันธุ์ย่อย BA.4 – BA.5 มาตลอด 2 สัปดาห์ ขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขอยู่ระหว่างการปรับแผนให้มีความชัดเจน จากนั้นจะเสนอให้ ศบค.ชุดใหญ่พิจารณาเห็นชอบ

สำหรับประเด็นหลักๆ ที่จะมีการหารือกันใน ศบค.ชุดใหญ่ วันที่ 8 ก.ค.นี้ จะเป็นเรื่องของการประเมินหลังมีการผ่อนคลายให้ถอดหน้ากากอนามัยและมาตรการต่างๆ จำนวนผู้ติดเชื้อที่เพิ่มมากขึ้น และความพร้อมด้านสาธารณสุขว่าจะรองรับไหวหรือไม่

ผู้อำนวยการ ศปก.ศบค. กล่าวว่า แพทย์จะมีการวิเคราะห์เกี่ยวกับการแพร่ระบาดสายพันธุ์ย่อย BA.4 – BA.5 ตัวเลขผู้ติดเชื้อหนักที่ลงปอดมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างไร ต้องติดตามวันที่ 8 ก.ค.นี้ ยืนยัน แพทย์มีความพร้อมรองรับ

• สายพันธุ์ BA.5 กำลังจะครองพื้นที่ ‘ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ การระบาดจะเพิ่มขึ้นเป็นระลอก’

ขณะที่ ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เปิดเผยข้อมูลว่า โควิดสายพันธุ์ BA.5 กำลังจะครองพื้นที่ ทำให้มีการระบาดมากขึ้น พร้อมระบุว่า หลังจากนักเรียนเปิดเทอมโควิดมีการระบาดเพิ่มขึ้นมาโดยตลอด โดยเฉพาะในช่วง 2 อาทิตย์หลังนี้ มีผู้ป่วยจำนวนมาก ส่วนใหญ่อาการไม่รุนแรง โดยเฉพาะในเด็ก

ถ้าดูการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ที่ศูนย์ฯ ได้ทำการตรวจมาโดยตลอดจะเห็นได้ชัดว่า แต่ละสายพันธุ์จะครองพื้นที่อยู่ไม่นาน แต่สายพันธุ์โอไมครอนเปลี่ยนจาก BA.1 มาเป็น BA.2 และในเดือนนี้สายพันธุ์ BA.2 กำลังจะถูกแทนที่ด้วยสายพันธุ์ BA.5 ในอาทิตย์ที่ผ่านมาจนถึงวันนี้ สายพันธุ์ BA.5 กำลังจะยึดพื้นที่ทั้งหมดแทน BA.2 ทุกครั้งที่มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ การระบาดจะเพิ่มขึ้นเป็นระลอก

สายพันธุ์ BA.5 เป็นสายพันธุ์ที่หลบหลีกภูมิต้านทานของวัคซีนได้สูงขึ้นไปอีก จึงไม่แปลกที่ฉีดวัคซีนแล้ว มีโอกาสติดโรคได้ อย่างไรก็ตามอาการของโรคที่ผ่านมาก็ไม่ได้รุนแรง ถ้านับจำนวนทั้งหมดของผู้ติดเชื้อ ขณะนี้น่าจะอยู่ที่หลายหมื่นคน มากกว่ายอดที่รับไว้ในโรงพยาบาลที่กระทรวงรายงานหลายสิบเท่า ดังนั้น อัตราการเสียชีวิตน่าจะน้อยกว่า 0.1 เปอร์เซ็นต์ของผู้ที่ติดเชื้อ และผู้ที่เสียชีวิตส่วนใหญ่ก็ยังเป็นกลุ่ม 608 และผู้ที่ได้รับวัคซีนไม่ครบ 3 เข็ม

ศ.นพ.ยง ยืนยันว่า วัคซีนช่วยลดความรุนแรงของโรคได้ ทำให้การระบาดขึ้นสูงขณะนี้ จึงสามารถดูแลรักษาที่บ้านได้เป็นจำนวนมาก การระบาดขณะนี้อยู่ในฤดูกาลและจะระบาดต่อไปจนถึงเดือนสิงหาคมจึงจะค่อยๆ ลดลง ประชาชนส่วนใหญ่ก็จะติดเชื้อไปเป็นจำนวนมาก จึงอยากให้ทุกคนฉีดวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็มขึ้นไป หรือจะเป็น 4 เข็ม 5 เข็ม ก็ขึ้นอยู่กับระยะเวลาห่างของเข็มสุดท้ายว่าฉีดมาแล้วนานเท่าไร

สำหรับผู้ที่ติดเชื้อถ้าร่างกายแข็งแรงดีก็สามารถหายได้เอง แต่ที่เป็นห่วง คือ กลุ่มเปราะบาง และผู้ที่ยังได้วัคซีนไม่ครบ 3 เข็ม ควรจะได้ยาต้านไวรัส อย่างเร็ว

ยาต้านไวรัสที่องค์การอนามัยโลกแนะนำ มีอยู่ 3 ตัวที่ใช้ในการป้องกันลดความรุนแรงของโรค ลดการนอนโรงพยาบาล ลดการเสียชีวิต คือ remdesivir, molnupiravia และ paxlovid จึงเป็นยาที่แนะนำให้ใช้ในกลุ่มเปราะบางตั้งแต่เริ่มวินิจฉัยได้ และให้เร็วที่สุด อย่างน้อยต้องภายใน 5 วันหลังมีอาการ

ที่มา > https://www.facebook.com/yong.poovorawan

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า