SHARE

คัดลอกแล้ว

สปสช.ย้ำการเปลี่ยนแหล่งงบประมาณสำหรับโรคโควิด-19 จาก พ.ร.ก.เงินกู้ มาเป็นงบปกติของ สปสช. ไม่กระทบกับการให้บริการประชาชน แนะถ้ามีอาการให้ติดต่อหน่วยบริการใกล้บ้าน รับการรักษาตามระบบปกติ ส่วนโรงพยาบาลเอกชนที่อยู่นอกเครือข่ายบัตรทองให้ไปเมื่อมีอาการฉุกเฉิน

นพ.จเด็จ ธรรมธัชอารี เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า สปสช.ได้ปรับระบบการจ่ายชดเชยค่าบริการเกี่ยวกับโรคโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 4 ก.ค. 2565 เป็นต้นมา โดยเปลี่ยนแปลงที่มาของงบประมาณที่จ่ายสำหรับโรคนี้ จากเดิมที่จัดสรรมาจาก พ.ร.ก.เงินกู้ เป็น ใช้เงินจากงบประมาณประจำของ สปสช. ที่ยังเหลืออยู่ แต่จะไม่กระทบกับการให้บริการประชาชน รวมทั้งขอแนะนำให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ไปรับการรักษาตามระบบที่ตนมีสิทธิ

หากเป็นผู้ใช้สิทธิบัตรทอง 30 บาท นอกจากจะเข้ารับบริการที่หน่วยบริการประจำของตนแล้ว ยังเข้ารักษาที่หน่วยบริการปฐมภูมิทุกแห่งตามนโยบาย 30 รักษาทุกที่ รวมถึงเข้ารับบริการในหน่วยบริการที่อยู่ในเครือข่ายระบบบัตรทอง ซึ่งก็คือโรงพยาบาลของรัฐทุกแห่ง ส่วนโรงพยาบาลเอกชนที่อยู่นอกระบบ ควรเข้ารับบริการในกรณีเจ็บป่วยฉุกเฉินเป็นหลัก

นพ.จเด็จ กล่าวว่า การกลับมาใช้งบปกติสำหรับโรคโควิด-19 จะทำให้มีการเปลี่ยนแปลงการให้บริการในบางรายการ เช่น การยกเลิกการจ่ายค่าตรวจคัดกรองโควิด-19 แก่โรงพยาบาลเอกชนที่อยู่นอกระบบ ส่วนโรงพยาบาลในระบบ ยังคงให้บริการเหมือนเดิม ถ้ามีอาการสงสัยหรือเข้าข่ายกลุ่มเสี่ยงตามหลักเกณฑ์ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข ต้องการตรวจ ATK หรือตรวจแล้วติดเชื้อโควิด-19 ต้องไปรับการรักษา สปสช.ยังคงตามจ่ายค่าใช้จ่ายต่างๆ แก่หน่วยบริการ

“ส่วนโรงพยาบาลเอกชนที่อยู่นอกระบบจะเรียกเก็บเงินจาก สปสช.ได้ในกรณีการให้บริการฉุกเฉิน ซึ่งส่วนใหญ่คือ อาการเชื้อลงปอด แต่ถ้าไม่มีอาการ เราแนะนำให้ประชาชนรักษาตามระบบ ใครใช้ประกันสังคมก็ใช้สิทธิตามระบบประกันสังคม ถ้าสิทธิบัตรทอง โรงพยาบาลของรัฐทุกแห่งอยู่ในระบบบัตรทองทั้งหมด รวมทั้งโรงพยาบาลเอกชนอีกบางส่วน สามารถเข้าไปรับบริการได้ตามระบบ ซึ่งจะมีสถานบริการใกล้บ้านที่ผู้ใช้สิทธิลงทะเบียนไว้อยู่แล้ว หรือถ้าไม่รู้ว่าไปที่ไหนได้บ้างก็สามารถโทรมาที่สายด่วน 1330 หรือถ้าบ้านอยู่ที่หนึ่งแล้วมาทำงานอีกที่ ก็ไปใช้บริการในพื้นที่นั้นได้ตามนโยบายยกระดับบัตรทองซึ่งสามารถไปรับบริการปฐมภูมิที่ไหนก็ได้” นพ.จเด็จ กล่าว

นพ.จเด็จ กล่าวอีกว่า สำหรับความพร้อมของระบบบริการหลังจากเปลี่ยนมาใช้สิทธิตามระบบ กระทรวงสาธารณสุขได้ยืนยันว่ามีความพร้อม ขณะนี้ผู้ป่วยที่มารับบริการส่วนมากจะเป็นแบบ เจอ แจก จบ แต่เพื่อความมั่นใจ สปสช. ยังคงเตรียมงบประมาณสำหรับการดูแลแบบ Home Isolation หรือ Home Ward สำหรับกรณีที่ต้องนอนโรงพยาบาลแล้วเตียงในโรงพยาบาลไม่พอ หรือผู้ป่วยไม่สะดวกนอนโรงพยาบาล แพทย์สามารถสั่งให้ไปรับการรักษาแบบ Home Isolation หรือ Home Ward ที่บ้านได้ สปสช.จะตามจ่ายให้เช่นเดิม

ATK for children

สำหรับแนวทางปฏิบัติ ‘สิทธิบัตรทอง’

กรณีมีอาการเข้าข่ายว่าจะติดโควิด-19 ตรวจ ATK ได้ฟรี ต้องเป็นกลุ่มที่มีอาการตามหลักเกณฑ์ของกรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข เท่านั้น

• ขอรับ ATK ผ่านแอปเป๋าตังเพื่อตรวจเอง (เฉพาะสิทธิบัตรทอง 30 บาท)

• หรือไปตรวจที่หน่วยบริการประจำหรือหน่วยบริการปฐมภูมิตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่ ด้วย ATK (ผู้ประกอบวิชาชีพตรวจให้ หรือ professional use) (เฉพาะสิทธิบัตรทอง 30 บาท)

เมื่อตรวจ ATK แล้วผลขึ้น 1 ขีดไม่พบเชื้อ ไม่ติดโควิด-19 (กรณีอยู่ในกลุ่มเสี่ยงสูงกักตัว 5+5 วัน)

หาก ATK ขึ้น 2 ขีด พบเชื้อโควิด-19 ต้องดำเนินการตามขั้นตอน ดังนี้

  1. รักษาตามแนวทาง ‘เจอ แจก จบ’ ของกระทรวงสาธารณสุข
    • ไปที่หน่วยบริการประจำหรือหน่วยบริการปฐมภูมิตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่
    • หรือ โทร.ประสานร้านขายยาที่เข้าร่วมโครงการ ‘รับยา-แนะนำการใช้ยา’
    เช็กรายชื่อร้านยาที่ https://www.nhso.go.th/downloads/197 ดูตำแหน่ง “ร้านยาดูแลผู้ป่วยโควิดสีเขียว” บนแผนที่ดิจิทัลกับ NOSTRA Map ที่
    https://map.nostramap.com/NostraMap/?layer/covid19pharmacy,feed/th

ร้านขายยารับเฉพาะผู้ป่วยสิทธิบัตรทอง 30 บาท หรือสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเท่านั้น (กักตัว 7+3 วัน)

2. กรณีเป็นกลุ่มเสี่ยง กลุ่ม 608 หรือมีอาการรุนแรง รับการรักษาตามดุลพินิจแพทย์ ไม่เสียค่าใช้จ่าย (ไม่ว่าจะเป็นรักษาแบบผู้ป่วยใน หรือแพทย์สั่งให้รักษาที่บ้าน Home ward)

เข้ารักษาที่หน่วยบริการประจำหรือหน่วยบริการปฐมภูมิตามนโยบาย 30 บาทรักษาทุกที่

กลุ่ม 608 คือ ผู้สูงอายุมากกว่า 60 ปี, ผู้ป่วย 7 โรคเรื้อรัง โรคทางเดินหายใจเรื้อรัง, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตวายเรื้อรัง, โรคหลอดเลือดสมอง, โรคอ้วน, โรคมะเร็ง และโรคเบาหวาน และหญิงตั้งครรภ์

3.เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติ สีแดง มีอาการอย่างใดอย่างหนึ่งหรือมากกว่า ได้แก่ หอบเหนื่อยหนักมาก พูดไม่เป็นประโยค แน่นหน้าอก หายใจเจ็บหน้าอก ปอดอักเสบรุนแรง อ่อนเพลีย ตอบสนองช้า ไม่รู้สึกตัว มีภาวะช็อก/โคม่า ซึมลง ไข้สูงกว่า 39 องศาเซลเซียส ค่าออกซิเจนต่ำกว่า 94

ใช้สิทธิ UCEP เจ็บป่วยฉุกเฉินวิกฤติมีสิทธิทุกที่ เข้ารักษาโรงพยาบาลที่อยู่ใกล้ที่สุดได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

บริการสายด่วน สปสช. 1330

•หากติดเชื้อโควิด-19 ไม่จำเป็นต้อง โทร.แจ้งสายด่วน สปสช. 1330

• แต่สามารถ โทร.สอบถามขั้นตอนได้

• หรือหากมีอาการแย่ลง ต้องการประสานหาเตียงเข้ารักษาในโรงพยาบาล โทร. 1330 ได้

 

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า