SHARE

คัดลอกแล้ว

ศบค.ชุดใหญ่มีมติต่ออายุ พ.ร.ก.ฉุกเฉิน อีก 2 เดือนคุมโควิดกลายพันธุ์ BA.4 – BA.5 หลังพบระบาดเพิ่มขึ้น แต่ยังเป็นคลื่นเล็กๆ เผยกรมควบคุมโรครายงานยอดป่วย เจอ แจก จบ ช่วงวันที่ 25 มิ.ย. – 8 ก.ค.2565 มีผู้ป่วย 207,643 คน เฉลี่ยวันละ 29,000 คน ทั่วประเทศ

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. แถลงสรุปผลการประชุมศูนย์อำนวยการบริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 หรือ ศบค.ชุดใหญ่ วันนี้ (8 ก.ค. 2565) ที่มี พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรี และรมว.กลาโหม เป็นประธาน นพ.เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์โควิด-19 ว่า ผู้ป่วยในไทยวันนี้ที่ติดเชื้อและนอนโรงพยาบาลอยู่ที่ 2,144 คน เป็นผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาล หรือ เจอ แจก จบ ข้อมูลช่วงวันที่ 25 มิ.ย. – 8 ก.ค.2565 มีผู้ป่วย 207,643 คน เฉลี่ยวันละ 29,000 คน ทั่วประเทศ นี่คือตัวเลขผู้ป่วยจริง ที่มีการพูดคุยกันในที่ประชุม และให้ข้อแนะนำว่า ต้องสื่อสารกับประชาชนให้รับทราบ แต่ตัวเลขนี้เป็นผู้ป่วยที่อาการไม่หนัก

ส่วนผู้ป่วยปอดอักเสบในสัปดาห์นี้อยู่ที่ 763 คน และใส่ท่อช่วยหายใจ 327 คน ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขยังยืนยันว่า มีเตียงรองรับเพียงพอ แม้ว่าโรงพยาบาลในสังกัดได้คืนเตียงไปยังผู้ป่วยติดเชื้อโรคอื่น ๆ ซึ่งอาจทำให้เตียงที่ดูแลผู้ป่วยปอดอักเสบลดน้อยลง แต่อยู่ในระดับที่รองรับผู้ป่วยโควิด-19 ได้ ขณะนี้ทั้งประเทศอัตราครองเตียงทั้ง 3 ระดับอยู่ที่ 103,798 ในส่วนจังหวัดที่มีแนวโน้มสถานการณ์จัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ลดลง มีทั้งหมด 54 จังหวัด และอีก 23 จังหวัดเป็นจังหวัดที่อยู่ในช่วงขาขึ้น ประกอบด้วย กรุงเทพมหานคร ชลบุรี เชียงใหม่ นนทบุรี ปทุมธานี ภูเก็ต สมุทรปราการเป็นต้น โดยเฉพาะจังหวัดภูเก็ตมียอดตัวเลขพุ่งขึ้นสูงมาก โดยจังหวัดมียอดผู้ติดเชื้อสูงกว่าปกติ คือ จ.ภูเก็ตมีแนวโน้มการระบาดเพิ่มสูงมากสุดสำหรับภาพรวมทั้งประเทศตัวเลขผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นได้ตั้งแต่สัปดาห์นี้เป็นต้นไป และจะเพิ่มสูงขึ้นในเดือน ก.ย.ที่จะถึงนี้

สำหรับเกณฑ์ประเมินความรุนแรงของการระบาด ขณะนี้ประเทศไทยมีผู้ป่วยรับการรักษาในโรงพยาบาลเฉลี่ยต่อวันประมาณ 2,000 คน มียอดผู้ป่วยหนักลดลง และเสียชีวตลดลง ซึ่งสถานการณ์เหล่านี้จะนำไปสู่การวางแผนการหายาและวัคซีนต่าง ๆ เพื่อดูแลประชาชน และอาจต้องเปลี่ยนผ่านไปสู่การช่วยด้านเบิกจ่ายค่ารักษาพยาบาล เพื่อให้ประชาชนได้ใช้สิทธิพยาบาลตามที่มีอยู่ให้ลื่นไหลไปได้

รุปมติที่ประชุม ศบค.ชุดใหญ่ ที่สำคัญมีดังนี้

ศบค.รับทราบแนวคิดของกระทรวงสาธารณสุขในการรับมือการระบาดและเปลี่ยนผ่านสู่การบริหารจัดการหลังการระบาด (Post-pandemic) ซึ่งมีแผน/มาตรการการบริหารจัดการสถานการณ์โรคโควิด 19 ในระยะต่อไป 4 ด้าน คือ ด้านสาธารณสุข, ด้านการแพทย์, ด้านกฎหมายและสังคม และด้านการสื่อสารและประชาสัมพันธ์

เห็นชอบหลักการ มาตรการ และมอบหมาย ดังนี้

1) มอบ คกก.โรคติดต่อชาติ กำหนดกรอบนโยบาย และแนวทางปฏิบัติในการเฝ้าระวัง ป้องกันควบคุมโรค ตามมาตรา 14 (1) ของพรบ.โรคติดต่อ พ.ศ. 2558

2) เห็นชอบหลักการสร้างแรงจูงใจให้ประชาชนมารับการฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นให้ได้เกินกว่าร้อยละ 60 โดยเฉพาะกลุ่มเสี่ยงป่วยรุนแรง

3) มอบ สธ. จัดระบบการเข้าถึงยาต้านไวรัสให้สะดวกและเข้าถึงง่าย

4) มอบกรมประชาสัมพันธ์กระตุ้นให้ประชาชนเห็นความสำคัญของการสวมหน้ากาก และการรับวัคซีน

5) มอบกระทรวงมหาดไทย ศึกษาข้อกฎหมายเพื่อพิจารณาตัดโรคโควิด-19 ออกจากโรคต้องห้ามเข้าราชอาณาจักร ซึ่งจะเป็นการดำเนินการดำเนินการในระยะต่อไป

• ขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน คุมโควิด-19 อีก 2 เดือน

ที่ประชุม ศบค. มีมติเห็นชอบขยาย พ.ร.ก.ฉุกเฉิน เป็นครั้งที่ 19 ต่อไปอีก 2 เดือน (1 สิงหาคม  – 30 กันยายน 2565) เพื่อยังคงไว้ซึ่งดำรงบรรดามาตรการป้องกันและควบคุมโรคโควิด-19 แบบบูรณาการให้มีความเป็นเอกภาพในการบังคับใช้เป็นการทั่วไปทั้งประเทศ

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า นายกรัฐมนตรีย้ำถึงความจำเป็นที่ต้องเปิดประเทศ เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวและเดินหน้าเศรษฐกิจ หวังให้ประชาชนสามารถดำเนินชีวิต กลับมาประกอบอาชีพได้อย่างปกติ พร้อมกับสั่งการให้หน่วยงานความมั่นคง กระทรวงมหาดไทย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องหามาตรการที่เหมาะสมในการดูแลตรวจตราด่านช่องทางเข้า-ออก ทั้งด่านปกติ ด่านธรรมชาติ การเปิดจุดผ่อนปรน การค้าชายแดน โดยเฉพาะจุดผ่อนปรนที่ไม่มีด่านควบคุมโรคกำกับ ทั้งนี้ นายกรัฐมนตรียืนยันว่าไม่ต้องการใช้ พ.ร.ก. ฉุกเฉิน ในเรื่องอื่น ๆ ทั้งสิ้น แต่มีเหตุผลความจำเป็น เป็นการแก้ปัญหาเชิงบูรณาการ วัตถุประสงค์เพื่อการรักษาชีวิตของประชาชนให้มากที่สุด ฉะนั้น อย่าบิดเบือนเป็นอย่างอื่น พร้อมฝากให้ดูแลบุคลากรทางสาธารณสุขให้ดี โดยเฉพาะจังหวัดที่มีสถิติการแพร่ระบาดสูงในปัจจุบัน และขอให้กรุงเทพมหานครดูแลการจัดกิจกรรมต่าง ๆ ให้มีความปลอดภัย เน้นการรณรงค์ สื่อสาร สวมหน้ากากอนามัย รวมทั้งฝากให้ ศธ. และโรงเรียนพิจารณาหามาตรการที่ปลอดภัย ในการทำกิจกรรมร่วมกันของนักเรียน และนายกรัฐมนตรีขอบคุณทุกหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่ทำงานอย่างเต็มที่ ซึ่งทำให้ประชาชนคนไทยได้เกิดการเรียนรู้และสามารถอยู่ร่วมกับโรคโควิด-19 ได้ในวิถีชีวิตปกติ และผ่านพ้นช่วงวิกฤตของสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ได้ ย้ำว่ารัฐบาลจะทำอย่างเต็มที่ด้วยความร่วมมือของทุกคน ทุกภาคส่วน ในการนำพาประเทศเดินไปข้างหน้าต่อไป

• นายกฯ สั่ง สธ.จับตาโอไมครอน BA.4 BA.5

พล.อ.ประยุทธ์ กล่าวในที่ประชุมว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) รายงานผลการติดตามการแพร่ระบาดในช่วงที่ผ่านมา และระบุว่าจำนวนผู้ติดเชื้อรายใหม่มีแนวโน้มเพิ่มสูงขึ้นทั่วโลก ส่วนใหญ่เป็นผู้ป่วยโควิด-19 จากสายพันธุ์โอไมครอน BA.4 BA.5 ซึ่ง WHO แสดงความกังวลในเรื่องนี้ เกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงของพันธุกรรมโควิด-19 เพราะหลายประเทศผ่อนคลายมาตรการเฝ้าระวังและควบคุมโรค อาจจะทำให้การติดตามสถานการณ์สายพันธุ์ใหม่ยากยิ่งขึ้น และขอร้องให้ประเทศต่างๆ สร้างภูมิคุ้มกันกับประชาชน เพื่อลดอาการรุนแรงและการเสียชีวิตหากติดเชื้อ โดยเฉพาะกลุ่มเปราะบาง ผู้สูงอายุและเจ้าหน้าที่สาธารณสุข

ส่วนการแพร่ระบาดในประเทศไทยก็มีแนวโน้มผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น จากการผ่อนคลายมาตรการที่ผ่านมา ซึ่งอาจจะทำให้พบการติดเชื้อโควิด-19 ในประเทศเพิ่มขึ้น โดยพบผู้ติดเชื้อมีอาการเล็กน้อยและรักษาตัวที่บ้านมากขึ้น แต่ผู้ป่วยที่เข้ารับการรักษาพยาบาลเพิ่มขึ้นไม่มากนัก จึงขอให้กระทรวงสาธารณสุขและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ติดตามผู้ป่วยที่มีอาการรุนแรง รวมทั้งสุ่มตรวจและติดตามการกลายพันธุ์โดยเฉพาะ BA.4 BA.5 เพื่อนำข้อมูลมาวิเคราะห์และกำหนดมาตรการต่อไป พร้อมขอให้รายงานความคืบหน้าการพัฒนาวัคซีน รวมทั้งติดตามการผ่อนคลายกิจกรรม เพื่อช่วยขับเคลื่อนทางเศรษฐกิจ เพราะหากคำนึงถึงสาธารณสุขเพียงด้านเดียว ด้านอื่นจะไปต่อไม่ได้ และขอให้เข้มงวดมาตรการ Universal prevention พร้อมเร่งรัดการวัคซีนเข็มกระตุ้นให้มากยิ่งขึ้น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า