SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ.ร่วมกับตำรวจสอบสวนกลางบุกทลายเครือข่ายขายยารักษาโควิด-19 เถื่อน ยึดยาของกลาง 80,000 เม็ด มูลค่ากว่า 10 ล้านบาท จับกุมผู้ต้องหาได้ 3 ราย สารภาพขายผ่านระบบออนไลน์

ยารักษาโควิด-19 ทั้งยาฟาวิพิราเวียร์-ยาโมลนูพิราเวียร์ และยาชนิดอื่นๆ อีกหลายรายการรวมกว่า 80,000 เม็ด มูลค่ากว่า 10 ล้านบาท คือของกลางที่ตำรวจสอบสวนกลางตรวจยึดได้จากบ้านพัก 2 หลังในซอยลาดพร้าว 80/3 เขตวังทองหลาง และซอยราชพฤกษ์ 9 เขตตลิ่งชัน กรุงเทพฯ

การจับกุมครั้งนี้สืบเนื่องจากกองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) ได้รับเรื่องร้องเรียนและแจ้งเบาะแสจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ว่ามีการลักลอบขายยากลุ่มรักษาผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ผ่านสื่อออนไลน์ผิดกฎหมายจำนวนมาก ซึ่งยาในกลุ่มนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องได้รับการขึ้นทะเบียนตำรับจาก อย. และผ่านการตรวจสอบคุณภาพมาตรฐาน รวมถึงการใช้ยาดังกล่าวต้องได้รับการสั่งจ่ายจากแพทย์ เพื่อไม่ให้เกิดอันตรายหรือผลกระทบกับสุขภาพของผู้ป่วย

ตำรวจได้ให้สายลับทำการสั่งซื้อยาช่องทางโซเชียลมีเดียทั้ง เฟซบุ๊ก, อินสตาแกรม และอื่นๆ จำนวน 2 ร้าน เมื่อได้ผลิตภัณฑ์มาแล้วจึงได้ทำการตรวจสอบเพิ่มเติม ทราบว่าตัวยาจากทั้ง 2 ร้าน ได้ถูกจัดส่งจากสถานที่เดียวกัน เป็นบ้านหลังหนึ่งในพื้นที่เขตวังทองหลาง ซึ่งเชื่อได้ว่าเป็นสถานที่จัดเก็บและกระจายสินค้า จึงได้รวบรวมพยานหลักฐาน ขออนุมัติหมายค้นจากศาลอาญา เข้าตรวจค้นบ้านหลังหนึ่งในซอยลาดพร้าว 80/3 เขตวังทองหลาง กรุงเทพฯ ตรวจยึดผลิตภัณฑ์ยาที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยา 4 รายการ มูลค่ากว่า 9,500,000 บาท ดังนี้

1. ยา Monulpiravir ขนาด 200 มก. ยี่ห้อ Mylan จำนวน 1351 กล่อง
2. ยา Monulpiravir ขนาด 200 มก. ยี่ห้อ Azista จำนวน 200 กล่อง
3. ยา Monulpiravir ขนาด 200 มก. ยี่ห้อ XENON จำนวน 300 กล่อง
4. ยา Favipiravir ขนาด 400 มก. ยี่ห้อ XENON จำนวน 270 กล่อง

พร้อมจับกุมผู้ต้องหาคือ น.ส.ฉลวยรัตน์ รับว่าเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ยาทั้งหมด มีไว้เพื่อขายให้ลูกค้า จึงได้เชิญตัวไปพบพนักงานสอบสวน และแจ้งข้อกล่าวหาตาม พ.ร.บ.ยา 2510

⚫ ขยายผลตรวจยึดยารักษาโควิดเถื่อนอีก 8 รายการ

ต่อมาในวันที่ 2 ส.ค. 2565 หลังสืบสวนขยายผล ตำรวจพร้อมเจ้าหน้าที่ อย. ร่วมกันนำหมายค้นศาลอาญาตลิ่งชัน 2 หมายเข้าตรวจค้นบ้านพักหลังหนึ่งในซอยราชพฤกษ์ 9 เขตตลิ่งชัน สามารถยึดผลิตภัณฑ์ยา กลุ่มยารักษาผู้ติดเชื้อโควิด-19 และยาอื่นๆ ที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาได้จำนวน 8 รายการ มูลค่าประมาณ 1 ล้านบาท ดังนี้

.
1. ยา FAVIKAST ขนาด 400 มก. จำนวน 20 กล่อง
2. ยา MOLAZ ขนาดบรรจุ 40 เม็ด จำนวน 30 กล่อง
3. ยา REDEMSIVIR 100 mg/vial จำนวน 7 กล่อง
4. FABIS SPRAY จำนวน 75 กล่อง
5. ยา MOLNATRIS ขนาด 200 มก. จำนวน 82 กล่อง
6. ยา MOLUZEN ขนาด 200 มก. จำนวน 33 กล่อง
7. MOLCOVIR ขนาด 200 มก. จำนวน 3 กล่อง
8. FERAVIR ขนาด 200 มก. จำนวน 10 กล่อง

ขณะตรวจค้นพบนายประเสริฐ ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญา ที่ 1514/2565 ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2565 แสดงตนเป็นเจ้าบ้านและเจ้าของยาดังกล่าว จึงได้จับกุมตัวนายประเสริฐ และยึดยาไว้เป็นของกลาง นำส่งพนักงานสอบสวน ผู้ต้องหาให้การว่า ยาดังกล่าวสั่งซื้อมาจากประเทศอินเดีย ผ่านตัวแทนขาย โดยกลุ่มผู้นำเข้าไม่เคยมีความรู้หรือใบประกอบวิชาชีพทางเภสัชกรรมแต่อย่างใด

วันที่ 3 สิงหาคม 2565 ขยายผลจับกุมผู้ค้ารายย่อยในขบวนการได้อีก 1 รายคือ น.ส.ขนิษฐา ผู้ต้องหาตามหมายจับศาลอาญาที่ 1516/2565 ลงวันที่ 1 สิงหาคม 2565 ส่งพนักงานสอบสวน กก.4 บก.ปคบ.

ด้านนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปฏิบัติการครั้งนี้ได้จับกุมเครือข่ายลักลอบขายยารักษาโควิดได้จำนวน 3 ราย ผลการจับกุมได้ของกลางที่ไม่ได้ขึ้นทะเบียนตำรับยาทั้งหมดรวมกว่า 2,300 กล่อง ประมาณ 80,000 เม็ด มีมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท

ผู้ต้องหาสารภาพว่ารู้จักกับคนอินเดียให้ช่วยซื้อให้และส่งมาจากประเทศอินเดีย ลักลอบนำเข้ามาในประเทศไทย ส่วนใหญ่ลักลอบนำเข้าผ่านทางด่านศุลกากรไปรษณีย์ แจ้งวัฒนะ ทั้งนี้มียาบางส่วนที่ผู้ต้องหาหิ้วติดตัวทยอยนำเข้า โดยทำมาแล้วประมาณ 2 เดือน

รมว.สาธารณสุข ย้ำว่า ไม่ควรซื้อยาออนไลน์กินเอง ยาโมลนูพิราเวียร์ เป็นยาควบคุมพิเศษ ต้องได้รับการตรวจวินิจฉัยและสั่งจ่ายยาโดยแพทย์ถึงจะมีความปลอดภัย ต้องเลิกคิดซื้อมาตุนสำรองไว้ที่บ้าน โรคโควิดต้องให้แพทย์รักษา กินยาตามแพทย์สั่ง หากประชาชนซื้อยาไปรับประทานเอง อาจได้ยาปลอมที่ไม่มีตัวยาสำคัญหรือยาที่ไม่มีคุณภาพ และประสิทธิภาพในการรักษาโควิด-19 ไม่สามารถมั่นใจได้ว่าปลอดภัย และอาจก่อให้เกิดเชื้อดื้อยาได้ ผู้ป่วยโควิดตอนนี้ หากติดเชื้อควรไปพบแพทย์ ขอย้ำว่าไม่ใช่ทุกคนที่จะได้ยาต้านไวรัสโมลนูพิราเวียร์หรือฟาวิพิราเวียร์ ขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์

พล.ต.ท.จิรภพ ภูริเดช ผบช.ก. ฝากความห่วงใยว่า ควรใช้ความระมัดระวังในการเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ยาเพื่อรักษาโรคโควิด-19 และยาอื่นๆ เนื่องจากยาเป็นปัจจัยพื้นฐานอย่างแรกที่ประชาชนจะเข้าถึงเพื่อใช้รักษาอาการเจ็บป่วย หากได้รับยาที่ไม่มีคุณภาพอาจเกิดการดื้อยา, ไม่หายจากการเจ็บป่วย และเสี่ยงแพร่เชื้อไปยังผู้อื่น ซึ่งส่งผลถึงชีวิตได้ และขอเตือนผู้ที่ลักลอบขายยารักษาโควิด-19 ที่ไม่ได้รับอนุญาต ให้หยุดการกระทำดังกล่าวทันที เนื่องจากการขายยาออนไลน์ยังเป็นความผิดอยู่ และต้องรับโทษทั้งปรับและจำคุก หากตรวจพบจะดำเนินคดีถึงที่สุด เพราะท่านกำลังทำให้ผู้ป่วยโควิดหรือผู้ที่ต้องการใช้ยาดังกล่าวได้รับความเสี่ยงจากการใช้ยาและเข้าสู่กระบวนการรักษาที่ไม่ถูกต้อง

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า