SHARE

คัดลอกแล้ว

‘หมอนิธิพัฒน์’ แนะเตรียมพร้อมยุคหลังโควิด หลังประกาศยุบ ศบค. ยกเลิก พ.ร.ก.ฉุกเฉินคุมโควิด ชี้คนไทยมีภูมิคุ้มกันโควิดได้ถึงปลายปีเกิน 70% แล้ว และปีหน้า ‘ภูมิกันติด’ จะลดลงจำเป็นต้องมีวัคซีนรุ่นใหม่มาช่วยกระตุ้น

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ เจียรกุล หัวหน้าสาขาวิชาโรคระบบการหายใจและวัณโรค ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล เผยแพร่ข้อความผ่านเฟซบุ๊กถึงสถานการณ์โควิด-19 หลังประกาศยุบ ศบค. และ พ.ร.ก.ฉุกเฉินบริหารสถานการณ์โควิด-19 สาระสำคัญ ระบุถึงการเตรียมตัวกันต่อไปในอนาคตข้างหน้า

จากการสำรวจภาวะภุมิคุ้มกันของประชาชนโดยกระทรวงสาธารณสุขช่วงเดือน เม.ย. ถึง พ.ค. ที่ผ่านมา ในประชากรราวหนึ่งหมื่นสามพันคนทั่วประเทศ พบว่าคนไทยมีภูมิต่อโควิดแล้ว 91% โดยหนึ่งในสามเป็นภูมิจากการติดเชื้อตามธรรมชาติ ซึ่งภูมิส่วนใหญ่นี้กันตายได้ค่อนข้างแน่ ถ้าประมาณว่าภูมิที่มีนี้กันติดได้สักครึ่งหนึ่งก็จะเหลือราว 45% แต่ในช่วงเดือน มิ.ย. จนถึง ก.ย. นี้ เราน่าจะติดเชื้อกันอีกอย่างน้อยสิบล้านคน ซึ่งอย่างที่บอกไปก่อนหน้าว่าถ้าฉีดวัคซีนเข็มกระตุ้นแล้วติดด้วย ภูมิกันติดซ้ำจะขึ้นดีมากและอยู่ได้นาน 3-6 เดือน

ดังนั้นถึงวันนี้เชื่อว่า คนไทยมีภูมิกันติดไปจนถึงปลายปีนี้กันได้เกิน 70% แล้ว นั่นคือการเกิดภูมิคุ้มกันหมู่ที่เป็นปัจจัยสำคัญทำให้ตัวเลขการติดเชื้อขณะนี้ลดลงอย่างต่อเนื่อง แต่ก็ยังคงต้องระมัดระวังตัวกันต่อ ในขณะที่เพิ่มการทำกิจกรรมนอกบ้านกันให้มากขึ้นตามลำดับ การใส่หน้ากากเมื่ออยู่ในที่สาธารณะซึ่งแออัดยังมีความจำเป็น อย่างที่เน้นย้ำไปแล้วหลายครั้ง จุดสลบหรืออาจเป็นจุดตาย คือ หากปล่อยตัวกันเกินไปอาจนำมาซึ่งเชื้อสายพันธุ์ย่อยที่กลายพันธุ์ไปมาก (โอกาสเป็นไปได้น้อย) อีกอย่างในปีหน้าที่ภูมิกันติดจะได้เวลาตกลงมาก จึงต้องมีวัคซีนรุ่นใหม่มาช่วยกระตุ้นกันอีก 1-2 เข็ม

รศ.นพ.นิธิพัฒน์  ระบุว่า เมื่อชีวิตเริ่มกลับเข้าร่องรอยเดิมมากขึ้น คนกรุงเทพฯ คงยกกันออกมานอกบ้านเป็นเงาตามตัว คนต่างจังหวัดก็จะกลับเข้ามาทำงานในเมืองหลวงมากเช่นเดิม การฉีดวัคซีนให้พวกเขาเหล่านี้ หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องปรับให้เข้ากับไลฟ์สไตล์ ทั้งสถานที่ฉีดและช่วงเวลาที่ฉีด รวมถึงขั้นตอนในการฉีดและสังเกตอาการที่น่าจะลดไปกว่าเดิมได้มาก เพราะจากการที่ฉีดกันมาราว 143 ล้านโด๊ส มีอาการแพ้รุนแรงแค่ 98 ราย โดยราวครึ่งหนึ่งเกิดจากวัคซีนของซิโนแว็ค ซึ่งปัจจุบันมีที่ใช้น้อยเต็มทีแล้ว

เรื่องการพัฒนาระบบควบคุมคุณภาพอากาศทั้งในที่สาธารณะและในตัวอาคาร เป็นวาระแห่งชาติที่มีความสำคัญอย่างยิ่งยวดในอนาคต เพื่อลดภาระด้านสุขภาพปอด จากโรคติดเชื้อทางการหายใจ เช่น โควิด-19 ไข้หวัดใหญ่ วัณโรค และโรคอุบัติใหม่จากไวรัสในอนาคต รวมถึงโรคจากมลพิษที่สำคัญคือ PM2.5 โดยจะต้องมีการบูรณาการหน่วยงานภาครัฐ ไม่ว่าจะเป็นกระทรวงสาธารณสุข กระทรวงอุดมศึกษาฯ กระทรวงวิทยาศาสตร์ฯ กระทรวงอุตสาหกรรม และอื่นๆ โดยจับมือกับภาคเอกชน เพื่อพัฒนาการผลิตอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องสำหรับใช้เองในประเทศ รวมถึงดำเนินงานวิจัยและพัฒนาเพื่อสร้างความมั่นคงด้านนี้และสร้างรายได้จากการส่งออก

แนวทางในการดึงดูดนักเดินทางจากต่างชาติ นอกจากนักท่องเที่ยวแล้ว ผู้ที่เดินทางมาเข้าร่วมประชุมและสัมมนาก็มีความสำคัญในการนำเม็ดเงินเข้าประเทศ โดยเฉพาะการประชุมทางการแพทย์และสายงานที่เกี่ยวข้อง เนื่องจากอุตสาหกรรมทางการแพทย์นับว่าได้รับผลกระทบจากโควิดน้อยที่สุดเมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมอื่น หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจึงต้องเร่งส่งเสริมและอำนวยความสะดวก

เช่นเดียวกับการจัดแข่งขันกีฬาระดับโลกก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน อย่างเช่นกิจกรรมแข่งรถที่จะเกิดขึ้นที่บุรีรัมย์ในสิ้นเดือนนี้ ทุกฝ่ายต้องร่วมมือกันส่งเสริมให้เต็มกำลัง รวมไปถึงเร่งพัฒนากีฬาในประเทศให้ทัดเทียมเขาด้วย เราคงไม่อยากเป็นแค่ผู้จัดแต่ไม่ได้เข้าร่วม หรือเข้าร่วมแต่ต้องขายหน้าเหมือนบอลไทยแพ้ทีมเสือเหลืองเมื่อวาน ฟุตบอลไทยที่ไม่นับฟุตซอลตกต่ำมาต่อเนื่องหลายปี ไม่รู้ทีมบริหารงานนิ่งดูดายกันอยู่ได้อย่างไร น่าเหลียวดูตัวอย่างทีมนักตบลูกยางสาวไทยที่กำลังจะเริ่มแมตช์ชิงแชมป์โลกวันพรุ่งนี้ หวังว่าคงจบด้วยอันดับเลขตัวเดียวให้โลกระบือชื่อหญิงไทยด้านการกีฬา

รศ.นพ.นิธิพัฒน์ ขอบคุณโควิดที่ทำให้ได้รู้จักและได้ร่วมทำงานกับคนเก่งและคนดีในหลายวงการ

https://www.facebook.com/permalink.php?story_fbid=pfbid0jn4AgysFVPGrMWbmDaWhuGGoEN7t5QuVYTAj1u8YV8DadBYMUgpSsJ6Bgb2hPZLFl&id=100002870789106

 

 

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า