SHARE

คัดลอกแล้ว

ปิดอย่างเป็นทางการแล้วสำหรับศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข กรณีโควิด-19 ระดับกระทรวง ปรับไปให้ศูนย์ปฏิบัติการฯ ระดับกรมดำเนินการแทน พร้อมปรับเกณฑ์ UCEP Plus ใหม่ รักษาทุกที่เฉพาะผู้ป่วยโควิดวิกฤตสีแดง เผยระยะเวลา 2 ปี 8 เดือน ออกข้อสั่งการ 480 ฉบับ รวม 3,259 ข้อ ช่วยให้ควบคุมโควิดได้ดีเพราะมีข้อสั่งการชัดเจน

นพ.วิทูรย์ อนันกุล ผู้อำนวยการกองสาธารณสุขฉุกเฉิน เปิดเผยว่า กระทรวงสาธารณสุขเปิดศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุข (EOC) กรณีโรคโควิด-19 ตั้งแต่วันที่ 22 มกราคม 2563 ต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน ขณะนี้สถานการณ์โรคโควิด-19 ดีขึ้น วันนี้จึงประกาศยุติบทบาทของศูนย์ EOC โควิดระดับกระทรวง และให้เป็นภารกิจของศูนย์ EOC กรมควบคุมโรคตามปกติ ซึ่งจะยังมีการติดตามเฝ้าระวังโรคโควิด-19 อย่างใกล้ชิดต่อไป และหากสถานการณ์มีการเปลี่ยนแปลงก็พร้อมยกระดับมาเป็นศูนย์ EOC กระทรวง

สำหรับ ภาพรวมการดำเนินงานของศูนย์ EOC กระทรวง รวมระยะเวลา 2 ปี 8 เดือน มีการประชุม 482 ครั้ง ออกข้อสั่งการ 480 ฉบับ รวม 3,259 ข้อสั่งการ มีการประชุมทางไกลผ่านระบบวิดีโอกับทุกหน่วยบริการทั่วประเทศ เพื่อสื่อสาร/สั่งการ และติดตามการดำเนินงานระดับพื้นที่ 67 ครั้ง ซึ่งกระทรวงสาธารณสุขต้องขอขอบคุณอาจารย์แพทย์จากทุกภาคส่วนที่ร่วมเป็นคณะทำงานของศูนย์ EOC กระทรวง

มาตรการควบคุมโรคโควิด-19 จำนวนมาก เป็นการกำหนดภายใต้การทำงานของศูนย์ EOC กระทรวง เช่น Bubble and Seal, ยุทธศาสตร์ขนมครก, Good Factory Practice, ยุทธศาสตร์ “นนก หรือ นำหนึ่งก้าว” กระตุ้นประชาชนให้รับข้อมูลเชิงรุก ทำงานเชิงรุก, การจัดตั้งโรงพยาบาลบุษราคัมเพื่อแบ่งเบาวิกฤตผู้ป่วยล้นโรงพยาบาลพื้นที่ กทม. โดยระดมบุคลากรสาธารณสุขทั่วประเทศเข้ามาช่วยเหลือ, นโยบายแซนด์บ็อกซ์ Test &Go และ SHA+ เพื่อสนับสนุนการท่องเที่ยวและเปิดประเทศ, การกำหนดพื้นที่นำร่องท่องเที่ยวสีฟ้า, มาตรการ COVID Free Setting ในสถานประกอบการ, แนวทางการดูแลรักษาทั้ง Home Isolation Community Isolation และ “เจอ แจก จบ”, มาตรการ 2U 3พ รองรับการเข้าสู่ระยะหลังการระบาดใหญ่, การจัดซื้อวัคซีนโควิด-19 รวม 156.2 ล้านโดส, การรณรงค์ SAVE 608 โดยวัคซีนเข็มกระตุ้น, การวางแผนการบริหารยาและเวชภัณฑ์ให้เพียงพอ และเรื่องของการตรวจ ATK เป็นต้น ซึ่งการที่ศูนย์ EOC มีมาตรการและข้อสั่งการที่ชัดเจนถึงทุกหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เป็นปัจจัยหนึ่งที่ทำให้ประเทศไทยควบคุมโรคโควิด-19 ได้ดี

  • โควิดอาการวิกฤตสีแดง ยังใช้ UCEP Plus ได้

นพ.อัจฉริยะ แพงมา เลขาธิการสถาบันการแพทย์ฉุกเฉินแห่งชาติ (สพฉ.) กล่าวถึงสิทธิ UCEP Plus หลังโควิด-19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง และการปิดศูนย์ปฏิบัติการด้านการแพทย์และสาธารณสุข (EOC) ระดับกระทรวง ช่วงการระบาดของโรคโควิด-19 รัฐบาลต้องการอำนวยความสะดวกให้ผู้ติดเชื้อโควิด-19 ได้รับบริการอย่างทั่วถึง เท่าเทียม จึงกำหนดสิทธิ UCEP COVID ทำให้ผู้ติดเชื้อโควิดที่ไม่มีอาการและที่มีอาการทั้งระดับสีเขียว เหลือง แดง สามารถใช้สิทธินี้เข้ารับการรักษาในสถานพยาบาลได้ทุกที่ทั้งภาครัฐและเอกชน โดยรัฐบาลเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่าย

เมื่อสถานการณ์เริ่มดีขึ้น วันที่ 16 มีนาคม 2565 จึงได้ปรับเป็น UCEP Plus กำหนดให้เฉพาะผู้ป่วยโควิดอาการสีเหลืองและสีแดงสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกที่ ส่วนผู้ป่วยอาการสีเขียวต้องไปรับการรักษาที่สถานพยาบาลตามสิทธิ ล่าสุด มีการประกาศปรับลดโรคโควิด-19 เป็นโรคติดต่อที่ต้องเฝ้าระวัง มีผลวันที่ 1 ตุลาคม 2565 ได้มีการปรับปรุงหลักเกณฑ์ UCEP Plus ใหม่ กำหนดเฉพาะผู้ป่วยโควิดอาการวิกฤตสีแดง เช่น มีภาวะหัวใจหยุดเต้น ทางเดินหายใจอุดกั้น หายใจหอบเหนื่อย มีภาวะที่ทำให้อาการระบบทางเดินหายใจรุนแรง ไม่สามารถหายใจได้ มีภาวะช็อก ความดันโลหิตต่ำ หรืออาการอื่นๆ ที่นำไปสู่การเสียชีวิตโดยเร็ว สามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกที่

“เดิมกลุ่มอาการสีเหลือง เช่น กลุ่ม 608 ที่ไม่มีอาการ จะใช้ UCEP Plus ได้ แต่หลังปรับเกณฑ์ใหม่จะไม่ครอบคลุมผู้ป่วยโควิด-19 อาการสีเหลือง โดยให้ไปรับการรักษาที่สถานพยาบาลตามสิทธิสุขภาพ ซึ่ง สพฉ.จะออกประกาศเกณฑ์ UCEP Plus ใหม่ ที่มีรายละเอียดชัดเจน ในวันที่ 30 กันยายนนี้ เพื่อให้ประชาชนและสถานพยาบาลรับทราบ โดยมีศูนย์ประสานคุ้มครองสิทธิผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤต โทร. 0-2872-1669 เป็นหน่วยประสานระหว่างประชาชนและสถานพยาบาล ให้ข้อวินิจฉัยหรือคำแนะนำเมื่อมีข้อคิดเห็นไม่ตรงกัน ทั้งนี้ สิทธิ UCEP Plus จะสามารถรับการรักษาได้จนกว่าจะหายป่วย แตกต่างกับ UCEP ปกติ ที่กำหนดให้การรักษาภาวะฉุกเฉินใน 72 ชั่วโมงแรก” นพ.อัจฉริยะกล่าว

สำหรับการใช้สิทธิ UCEP Plus ตั้งแต่วันที่ 16 มีนาคม 2565 – ปัจจุบัน มีประชาชนเข้าสู่ระบบบริการ 383,258 ราย เข้าเกณฑ์ UCEP Plus 81,304 ราย โดยมาจากสิทธิหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 2 แสนราย ประกันสังคม 1.4 แสนราย ข้าราชการ 4 หมื่นราย และอื่นๆ 3 พันราย อย่างไรก็ตาม ขอย้ำว่า แม้การระบาดจะไม่รุนแรงเหมือนเมื่อก่อน แต่ทุกคนยังมีโอกาสติดเชื้อได้ การป้องกันจึงยังเป็นมาตรการสำคัญ โดยขอให้สวมหน้ากาก ล้างมือบ่อยๆ เว้นระยะห่าง โดยเฉพาะพื้นที่สาธารณะที่มีคนจำนวนมาก

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า