SHARE

คัดลอกแล้ว

ศ.นพ.ยง แนะเตรียมตัวตั้งรับโรคโควิด-19 ระบาดรอบใหม่ หลังโควิด-19 เข้าสู่โรคประจำฤดูกาล ช่วงเดือนมิถุนายนปีหน้า ผู้ป่วยจะมีแนวโน้มเพิ่ม ต้องเข้าโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น แต่จะไม่มากเท่าในช่วงที่มีการระบาดสูงสุดเหมือนที่ผ่านมา

กระทรวงสาธารณสุขรายงานตัวเลขผู้ติดเชื้อโควิด-19 ประจำสัปดาห์ ข้อมูลระหว่างวันที่ 30 ต.ค. ถึง 5 พ.ย. พบผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล 2,759 ราย เฉลี่ยรายวัน 394 ราย/วัน ส่วนผู้เสียชีวิตมี 40 ราย เฉลี่ยรายวัน 5 ราย/วัน ยอดผู้หายป่วยสะสมตั้งแต่ 1 ม.ค. 65 มี 2,471,772 ราย

ล่าสุด ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์สถานการณ์โควิด-19 โดยระบุว่า โรคโควิด-19 เข้าสู่โรคประจำฤดูกาล มีแนวโน้มที่เพิ่มสูงขึ้น

สำหรับโรคทางเดินหายใจประจำฤดูกาล จะพบมีการระบาดอย่างมากในฤดูฝน ในช่วงนักเรียนเปิดเทอมแรก และจะลดลงในช่วงปิดเทอมเดือนตุลาคม หลังจากนั้นเมื่อนักเรียนเปิดเทอมและเข้าสู่ฤดูหนาว จะพบผู้ป่วยเพิ่มมากขึ้นตั้งแต่กลางเดือนพฤศจิกายน เป็นต้นไป

จากนั้นจะอยู่ในจุดสูงสุดในเดือนมกราคม แต่จะพบความชุกน้อยกว่าในช่วงฤดูฝน และจะค่อยๆ สงบลงในเดือนมีนาคมจนถึงเดือนพฤษภาคม เป็นช่วงที่พบน้อยที่สุด และจะไปเริ่มต้นใหม่อีกครั้งในเดือนมิถุนายน เป็นวงจรตามฤดูกาลของประเทศไทย

ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้านไวรัสวิทยา ระบุว่า โรคโควิด-19 นับจากวันนี้เป็นต้นไป มีแนวโน้มจะพบเพิ่มสูงขึ้น และจะถึงจุดสูงสุดหลังปีใหม่ตามฤดูกาล ซึ่งในประเทศซีกโลกเหนือและซีกโลกใต้จะสูงสุดในช่วงฤดูหนาวของซีกโลกนั้น

ดังนั้น โรคนี้กำลังจะค่อยๆ สูงขึ้นในยุโรปและอเมริกาอีกครั้งหนึ่ง เพราะกำลังจะเข้าสู่ฤดูหนาว แต่ประเทศไทยมีฤดูหนาวที่สั้นมากและไม่ได้หนาวจริง มีแต่ร้อน ร้อนมาก ร้อนน้อย จึงพบโรคทางเดินหายใจได้เกือบตลอดปี แต่จะพบมากในฤดูฝน และเป็นช่วงที่เด็กเปิดเทอมแรกของปี “การเตรียมตัวตั้งรับโรคโควิด-19 ระบาดรอบใหม่ จะต้องเตรียมตัวได้แล้ว”

“เราจะเห็นผู้ป่วยเพิ่มขึ้น รวมทั้งผู้ป่วยที่จะต้องเข้านอนโรงพยาบาลเพิ่มขึ้น แต่ก็จะไม่มากเท่าในช่วงระบาดสูงสุดที่ผ่านมา ปัญหามีอยู่ว่า สำหรับปีหน้าที่จะมีการระบาดอย่างมากในเดือนมิถุนายนเป็นต้นไป ในปีต่อไปเราจะเตรียมวัคซีนอย่างไร ต้องเตรียมจำนวนมากเท่าไร หรือจัดเตรียมกระตุ้นแบบไข้หวัดใหญ่ คือ ให้เฉพาะกลุ่มเปราะบาง กลุ่มเสี่ยงที่เป็นแล้วจะรุนแรง”

ศ.นพ.ยง ย้ำว่า องค์ความรู้งานวิจัยเท่านั้น ที่จะมาแก้ไขปัญหาให้มีการใช้ทรัพยากรและงบประมาณอย่างเหมาะสม เพราะข้อมูลต่างๆ ของการเข้าสู่โรคประจำฤดูกาลเป็นข้อมูลใหม่ที่จะต้องแสวงหาความรู้จากการวิจัยเท่านั้น

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า