SHARE

คัดลอกแล้ว

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ มหาวิทยาลัยมหิดล เตือนเฝ้าระวังโควิด-19 ลูกผสมเดลต้าและโอไมครอน BA.2 เป็น ‘เดลทาครอน XBC’ ขณะที่กรมควบคุมโรคเผยรอบสัปดาห์ที่ผ่านมา มีผู้ติดโควิด-19 เพิ่มขึ้น 12.8% เตือนกลุ่ม 608 และกลุ่มเด็กเล็กที่มีโรคประจำตัว เร่งรับการฉีดวัคซีนโควิดซึ่งคาดว่า 2-4 สัปดาห์ข้างหน้าจะมีผู้ป่วยโควิดเพิ่มขึ้น 

นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค รายงานสถานการณ์โรคโควิด-19 ประเทศไทย สัปดาห์ที่ 45 มีแนวโน้มพบผู้ติดเชื้อ และผู้ป่วยนอนรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นคิดเป็นร้อยละ 12.8 เปรียบเทียบกับสัปดาห์ก่อนหน้า ขณะที่ผู้ป่วยอาการหนักเพิ่มขึ้นเล็กน้อย ส่วนผู้ป่วยเสียชีวิตยังมีแนวโน้มคงตัว ซึ่งเป็นไปตามการคาดการณ์

กรมควบคุมโรคได้ติดตามข้อมูลเฝ้าระวังโรคจากทั้งผู้ป่วยรับการรักษาในโรงพยาบาล รวมทั้งผู้ป่วยหรือผู้ติดเชื้อที่ดูแลอาการตนเองที่บ้าน และดำเนินการเฝ้าระวังสถานที่เสี่ยงใน 8 จังหวัด เริ่มพบผู้ป่วยที่มารับการรักษาในโรงพยาบาลเพิ่มขึ้นทั้งในกรุงเทพฯ และปริมณฑล รวมทั้งจังหวัดท่องเที่ยว โดยเฉพาะในภาคตะวันออกและภาคใต้ ซึ่งจังหวัดส่วนใหญ่รับนักท่องเที่ยวทั้งคนไทยและต่างชาติเพิ่มขึ้น และมีการจัดกิจกรรมที่มีคนรวมตัวกันจำนวนมากขึ้นด้วย

อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า แม้ว่าผู้ป่วยอาการหนักใส่ท่อช่วยหายใจและผู้เสียชีวิตในรอบสัปดาห์ที่ 45 (วันที่ 6 – 12 พ.ย. 2565) มากกว่าครึ่งหนึ่งเป็นผู้ที่ไม่รับวัคซีนโควิด-19 และไม่ได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้น ทำให้ไม่มีภูมิคุ้มกันต่อโรค หากติดเชื้อโควิด-19 มีโอกาสป่วยหนักได้ โดยเฉพาะกลุ่มผู้สูงวัยและผู้ที่มีโรคประจำตัว

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวว่า เน้นมาตรการตรวจรักษากลุ่ม 608 ที่เริ่มมีอาการป่วย ทั้งมีไข้ ไอ และ ATK พบเชื้อให้รีบพบแพทย์เพื่อรับการวินิจฉัยและรักษาโรคโดยเร็ว โดยแพทย์อาจพิจารณาให้ LAAB (ภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป) โดยเฉพาะผู้ที่ยังไม่ได้รับวัคซีน หรือผู้ป่วยที่มีโรคประจำตัวที่อาจจะสร้างภูมิคุ้มกันจากวัคซีนได้น้อย

คำแนะนำในช่วงนี้ คือ ผู้สูงอายุที่ไม่ได้รับวัคซีนงดออกจากบ้าน และสมาชิกในครอบครัวที่เป็นกลุ่มวัยทำงาน มีความเสี่ยงต่อการสัมผัสผู้ติดเชื้อนอกบ้าน เช่น ไปสถานบันเทิง ให้งดใกล้ชิดผู้สูงอายุ และพาพ่อแม่ ปู่ย่า ตายาย ลุงป้า น้าอาในบ้าน รวมทั้งเด็กเล็ก เด็กนักเรียน เข้ารับการฉีดวัคซีน ทั้งเข็มแรกหรือเข็มกระตุ้นหากได้รับเข็มสุดท้ายมานานเกิน 4 เดือน เพื่อลดความเสี่ยงต่อการป่วยหนัก และลดระยะเวลาการรักษาโรค ที่พ่อแม่ผู้ปกครอง หรือญาติต้องลางานเพื่อดูแลรักษาด้วย

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้เตรียม ยา เวชภัณฑ์ วัคซีน รวมทั้ง LAAB ไว้เพียงพอเพื่อรองรับการระบาดของโรคที่กำลังเพิ่มขึ้น รวมทั้งสถานพยาบาลทั้งภาครัฐและเอกชนทั่วประเทศ มีความพร้อมให้บริการฉีดวัคซีนโควิด-19 โดยสามารถสอบถามวันเวลาที่ให้บริการก่อนไปรับการฉีดวัคซีนโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย

  • ทั่วโลกระวัง โควิดเดลทาครอน XBC แพร่เร็ว โจมตีปอด

ศูนย์จีโนมทางการแพทย์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล แจ้งเตือนให้เฝ้าระวังโควิดลูกผสม ‘เดลทาครอน XBC’ ผสมระหว่างสายพันธุ์เดลตา และสายพันธุ์โอไมครอน BA.2 พบระบาดในฟิลิปปินส์มากกว่า 193 ราย กลายพันธุ์ไปมากกว่า XBB และ BQ.1

แพทย์ระบุว่า นักวิทยาศาสตร์ทั่วโลกจับตามอง ‘เดลทาครอน’ ซึ่งในช่วงการระบาดของโควิด-19 ปลายปีที่ 3 ซึ่งโอไมครอนกำลังอ่อนกำลังลง ดูเหมือน ‘เดลทาครอน’ หลายสายพันธุ์จะระบาดขึ้นมาแทนที่ เช่น  XBC, XAY, XBA และ XAW  โดยเฉพาะเดลทาครอน “XBC” มีการกลายพันธุ์ต่างไปจากโควิด-19 สายพันธุ์ดั้งเดิมอู่ฮั่น มากที่สุดถึงกว่า 130 ตำแหน่ง ซึ่งจากการถอดรหัสพันธุกรรมทั้งจีโนมของเดลทาครอน ประเมินว่า เป็นไวรัสโควิดที่มีศักยภาพในการโจมตีปอดอย่างเดลตา และอาจแพร่ระบาดได้รวดเร็วเหมือนโอไมครอน

เมื่อต้นปี 2565 ที่ผ่านมา มีรายงานการตรวจพบเดลทาครอนในประเทศฟิลิปปินส์ระยะหนึ่งจากนั้นได้สูญหายไป ไม่เกิดการระบาดรุนแรงขยายวงกว้าง แต่มาในช่วงปลายปี 2565 กลับพบ “เดลทาครอน” ในประเทศฟิลิปปินส์อีกครั้งในรูปแบบของโควิดสายพันธุ์ XBC, XBA, XAY และ XAW ระบาดขึ้นมาใหม่

ในกรณีที่เลวร้ายที่สุด (worst-case scenario) ลูกผสมเดลต้า-โอไมครอนอาจมีอันตรายพอๆ กับสายพันธุ์เดลต้า ซึ่งคร่าชีวิตผู้ที่ติดเชื้อไปประมาณ 3.4% ซึ่งสูงกว่าอัตราการเสียชีวิตของโอไมครอนเกือบสองเท่า ตามผลการศึกษาในปี 2565 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Nature Reviews Immunology

นอกจากนี้เดลทาครอนอาจมีความสามารถในการแพร่ติดต่อได้อย่างรวดเร็วเช่นเดียวกับโอไมครอน แต่การทำนายความรุนแรงของสายพันธุ์ลูกผสมหรือสายพันธุ์ย่อยอุบัติใหม่เป็นเรื่องยาก เนื่องจากนักวิทยาศาสตร์ไม่แน่ใจว่าเหตุใดโอไมครอนจึงดูเหมือนจะก่อโรคโควิด-19 รุนแรงน้อยกว่า เมื่อเทียบกับเดลตา…

เหตุที่ประเทศไทยควรกังวล เพราะประเทศฟิลิปปินส์หนึ่งในอาเซียนอยู่ใกล้ประเทศไทย ขณะนี้ตรวจพบผู้ติดเชื้อโอไมครอน XBB จำนวนถึง 81 รายพร้อมไปกับพบลูกผสม XBC ใน 11 จังหวัด ถึง 193 ราย นักวิทยาศาสตร์อาเซียนได้ช่วยกันถอดรหัสพันธุกรรมไวรัสโคโรนา 2019 และแชร์ไว้บนฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมโควิดโลกกิสเสด (GISAID)

https://www.facebook.com/CMGrama/posts/pfbid02QiSVHwXcLRtRrwciGq9wawq1SU6ZNsBuWdvwTe9syyQL9rSDyXC4wwStAHA5BZgel

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า