SHARE

คัดลอกแล้ว

แพทย์แนะ 6 แนวทางเลี่ยงโควิด-19 สายพันธุ์ BA.2.75 ที่มีแนวโน้มพบผู้ป่วยสูงขึ้น ล่าสุดพบชายวัย 38 ปี ติดเชื้อโควิดและเสียชีวิตลำพังในคอนโด กรมควบคุมโรคส่งทีมสอบสวนโรคเร่งหาสาเหตุเสียชีวิตที่แท้จริง

นพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงสถานการณ์โควิด-19 ประเทศไทย สายพันธุ์ BA.2.75 เริ่มมีแนวโน้มพบผู้ป่วยสูงขึ้น โควิด-19 สายพันธุ์ BA.2.75 มีการกลายพันธุ์ที่ตำแหน่ง G446S บนโปรตีนหนาม ซึ่งใช้จับกับตัวรับในเซลล์ของมนุษย์ และเกี่ยวข้องกับการหลบภูมิคุ้มกัน

ดังนั้น การพบผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วบ่งชี้ว่า มีความสามารถในการแพร่ระบาด แต่ยังไม่มีรายงานความรุนแรงที่เพิ่มขึ้นจากเชื้อเดิม โดยในประเทศไทยมีรายงานพบสายพันธุ์ BA.2.75 ครั้งแรกเมื่อปลายเดือนมิถุนายน 2565

ข้อมูลจากกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ รายงานสัดส่วนของผู้ติดเชื้อ BA.2.75 ในประเทศเพิ่มขึ้นมากจากเดือนที่แล้ว เพิ่มจากร้อยละ 23.2 เป็นร้อยละ 43.9 อย่างไรก็ตาม สามารถใช้ยาต้านไวรัสที่มีอยู่รักษาได้ และวัคซีนที่มีอยู่รวมถึงแอนติบอดีออกฤทธิ์ยาว (Long-acting Antibodies; LAAB) ยังสามารถยับยั้งเชื้อโควิด-19 สายพันธุ์ BA.2.75 ได้

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร รองอธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าวถึงกรณีชายอายุ 38 ปี ติดเชื้อโควิด-19 และเสียชีวิตในคอนโด เมื่อวันที่ 23 พฤศจิกายนที่ผ่านมา สถาบันป้องกันควบคุมโรคเขตเมือง กองระบาดวิทยา กรมควบคุมโรค และสำนักอนามัยกรุงเทพมหานคร สอบสวนโรคเบื้องต้น พบว่า

ผู้เสียชีวิตได้รับวัคซีน 3 เข็ม ได้รับเข็มสุดท้ายในเดือนมกราคม 2565 นานมากกว่า 10 เดือน ขณะนี้รอผลการชันสูตรพลิกศพ เพื่อหาสาเหตุการเสียชีวิตจากสถาบันนิติเวชวิทยา โรงพยาบาลตำรวจ ซึ่งจะทราบผลเร็วๆ นี้

นพ.โสภณ ขอความร่วมมือประชาชนกลุ่มเสี่ยง 608 คือ ผู้สูงอายุหรือกลุ่มเสี่ยงโรคเรื้อรัง ที่ไม่ได้ฉีดวัคซีน หรือได้รับวัคซีนครบแล้ว เข็มล่าสุดนานเกิน 4 เดือนขึ้นไป ให้เข้ารับวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อสร้างภูมิคุ้มกันที่เพียงพอ จะสามารถป้องกันการป่วยหนักและลดโอกาสเสียชีวิตได้ โดยสามารถเข้ารับวัคซีนได้ที่สถานพยาบาลใกล้บ้านโดยไม่มีค่าใช้จ่าย

ทั้งนี้ กระทรวงสาธารณสุขได้ให้โรงพยาบาลต่างๆ ในสังกัดสำนักปลัดกระทรวงสาธารณสุขและกรมการแพทย์ ขยายวันที่ให้บริการฉีดวัคซีนให้กับประชาชนเพื่อความสะดวกในการเข้าถึงวัคซีน รวมทั้งสถาบันบำราศนราดูรสังกัดกรมควบคุมโรคที่เปิดให้บริการวันจันทร์ถึงศุกร์ ตั้งแต่สัปดาห์หน้าเป็นต้นไป

  • โควิด-19 เชื้อกลายพันธุ์ติดต่อได้ง่ายขึ้น แต่ไม่ได้รุนแรง

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลเกี่ยวกับโควิด-19 สาระสำคัญ ระบุว่า ระยะเวลาที่ผ่านมา ไวรัสโควิด-19 ได้พัฒนาตัวเองเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ทำให้ติดต่อได้ง่ายขึ้น แพร่กระจายโรคได้ง่าย แต่ความรุนแรงไม่ได้เพิ่มขึ้น

จะเห็นว่าสายพันธุ์ได้มีการเปลี่ยนแปลงพัฒนามาโดยตลอด สายพันธุ์ที่แพร่กระจายได้ง่ายก็จะเข้ามาแทนที่ ความรุนแรงของโรคลดน้อยลง เกิดจากมีภูมิต้านทานจากวัคซีนหรือการติดเชื้อ

ร่างกายของคนทั้งหมดรู้จักเชื้อไวรัสตัวนี้ และเมื่อเกิดการติดเชื้อ ทำให้อาการลดลง ยกเว้นผู้ที่มีร่างกายเปราะบาง

การหลีกหนีจากไวรัสตัวนี้ต่อไปจะทำได้ยากยิ่งขึ้น โดยเฉพาะมีการผ่อนปรนและการดำรงชีวิตเข้าสู่ภาวะปกติแนวทางการปฏิบัติที่จะทำได้ในขณะนี้ คือ

1. ทำร่างกายให้แข็งแรง ออกกำลังกายสม่ำเสมอ นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์และมีคุณค่า ดูแลเรื่องสุขภาพอนามัย ความสะอาด กินร้อน ช้อนกลาง ล้างมือ

2. สร้างภูมิต้านทานต่อเชื้อโควิด-19 ด้วยการรับวัคซีนอย่างน้อย 3 เข็ม และใครได้รับเข็มสุดท้าย หรือติดเชื้อมาแล้วเกิน 6 เดือน อยู่ในกลุ่มเสี่ยงควรจะได้รับวัคซีนเข็มกระตุ้นเป็นอย่างยิ่ง หรือใครคิดว่าเสี่ยงต่อการติดโรคได้ง่าย ก็สมควรที่จะได้รับวัคซีนในการป้องกัน เช่นบุคลากรด่านหน้า

3. หลีกเลี่ยงการไปในที่แออัด คนหมู่มาก ถ้าจำเป็นต้องไปก็ต้องปฏิบัติตัวอย่างเคร่งครัดในการป้องกันตนเอง คนปกติแข็งแรงไม่มีความจำเป็นต้องตรวจ ATK เช่น จะไปโรงเรียน

4. เมื่อมีอาการต้องสงสัยโรคทางเดินหายใจ ควรได้รับการตรวจวินิจฉัย เช่น ตรวจ ATK ได้รับการดูแลรักษาอย่างเหมาะสม และป้องกันการกระจายเชื้อไปสู่ผู้อื่น

5. เมื่อติดเชื้อหรือป่วย ควรดูแล รับการรักษาอย่างเหมาะสม เก็บตัวอย่างน้อย 5 วัน ป้องกันการแพร่กระจายไปสู่ผู้อื่น หลังจากนั้นถึงแม้ว่าจะออกสู่สังคมก็ควรป้องกันของโรคต่ออีก 5 วัน

6. อาการที่ยังคงอยู่หลังโควิด-19 (long covid) จะเกิดขึ้นในสัปดาห์แรกๆ และส่วนใหญ่จะหายไป ส่วนใหญ่จะเป็นอาการที่เกี่ยวกับความรู้สึก โดยที่ตรวจไม่พบพยาธิสภาพ จึงไม่จำเป็นที่จะต้องไปตื่นกลัวอย่างที่มีการให้ข่าวกัน ประชากรส่วนใหญ่ขณะนี้มีการติดเชื้อไปแล้ว หรือป่วยไปแล้วประมาณร้อยละ 70 ส่วนใหญ่เกือบทั้งหมดก็ดำรงชีวิตได้อย่างปกติไม่ได้มีปัญหาอะไร

7. ชีวิตต้องเดินหน้าต่อไป ในภาวะปัจจุบันไม่ควรให้โควิด-19 มาเป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิต

https://www.facebook.com/yong.poovorawan/posts/pfbid02VjvjDgbJE66U3mpuCF7JWxo8VFVh4kPNseyqkC9yjH3VNZGoVBHVmQSwUTf8bLipl

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า