SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมการแพทย์เผยแนวทางการรักษาโควิดใหม่ ฉบับที่ 26 เน้นปรับการจ่ายยาต้านไวรัสหรือภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป LAAB ในกลุ่มเสี่ยงผู้สูงอายุและกลุ่มป่วยเบาหวาน หัวใจหลอดเลือด และถุงลมโป่งพอง

นพ.ธงชัย กีรติหัตถยากร อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า เมื่อวันที่ 28 พ.ย. 2565 ที่ประชุมศูนย์ปฏิบัติการฉุกเฉินด้านการแพทย์และสาธารณสุขโรคโควิด-19 ให้ความเห็นชอบแนวทางการรักษาโรคโควิด-19 ฉบับที่ 26 พร้อมจัดประชุมแพทย์ในกรุงเทพฯ และปริมณฑลทำความเข้าใจ

แนวทางการรักษาโรคโควิด-19 ฉบับที่ 26 จะมีการปรับเพิ่มการใช้ Long Acting Antibody (LAAB) หรือภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป ในการรักษาผู้ป่วยโรคกลุ่มที่มีปัจจัยเสี่ยง แม้ว่าจำนวนผู้ติดเชื้อจะเพิ่มขึ้นในช่วงนี้ แต่ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยมีอาการจะรักษาแบบผู้ป่วยนอก

ยาที่ใช้รักษาโควิด-19 ได้แก่

  1. ยาฟาวิพิราเวียร์สำหรับเด็ก
  2. ยาโมลนูพิราเวียร์สำหรับผู้ใหญ่
  3. หากเป็นกลุ่มเสี่ยง อาจให้ LAAB หรือ ให้ LAAB คู่กับยาต้านไวรัสอื่นๆ ซึ่งขึ้นกับดุลยพินิจของแพทย์

สาระสำคัญที่มีการปรับปรุง แบ่งเป็น 4 กรณี

1. ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการหรือสบายดี ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก ให้ปฏิบัติตนป้องกันอย่างเคร่งครัดอย่างน้อย 5 วัน

2. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง/โรคร่วมสำคัญ ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก ให้ปฏิบัติตนป้องกันอย่างเคร่งครัดอย่างน้อย 5 วัน ให้การดูแลรักษาตามอาการ ตามดุลยพินิจของแพทย์

3. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง แต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง หรือมีโรคร่วมสำคัญ หรือผู้ป่วยที่ไม่มีปัจจัยเสี่ยง แต่มีปอดอักเสบเล็กน้อยถึงปานกลางยังไม่ต้องให้ออกซิเจน ให้ยาต้านไวรัส เป็นแพกซ์โลวิด หรือเรมเดซิเวียร์ หรือ LAAB หรือภูมิคุ้มกันสำเร็จรูป หรือโมลนูพิราเวียร์

4. ผู้ป่วยยืนยันที่มีปอดอักเสบรุนแรง ไม่เกิน 10 วัน หลังจากมีอาการ และได้รับออกซิเจน แนะนำให้เรมเดซิเวียร์ โดยเร็วที่สุดเป็นเวลา 5-10 วันขึ้นกับอาการทางคลินิก ควรติดตามอาการของผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด

สำหรับเตียงรองรับผู้ป่วยโควิด-19

  1. ภาพรวมทั้งประเทศ จำนวน 7,564 เตียง
  2. ผู้ป่วยครองเตียง 1,468 เตียง คิดเป็นร้อยละ 19.4
  3. เตียงระดับ 2-3 นั้น ใช้ไปร้อยละ 35

ทั้งนี้ มีการคาดการณ์ว่าจนถึงปีใหม่ เตียงระดับ 3 น่าจะไม่ถึงร้อยละ 50 เพราะความรุนแรงของโรคไม่เหมือนเดิม และคาดว่าคงไม่มีสถานการณ์ที่ทำให้เราต้องเปิดโรงพยาบาลสนาม หรือต้องยุบเตียงรักษาโรคอื่นๆ มาเพิ่มเตียงสำหรับผู้ป่วยโควิดเหมือนในอดีต

ขอให้ประชาชนระวังป้องกันตัวเอง แต่ก็ไม่ควรวิตกกังวล เพื่อให้ชีวิตได้เดินหน้าต่อไป

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า