SHARE

คัดลอกแล้ว

จับตาสถานการณ์โควิด-19 หลังพบผู้ติดเชื้อ ‘เดลตาครอน’ รายแรกของไทย แม้จะรักษาหายเรียบร้อยแล้ว แต่ไทยต้องเฝ้าระวังเชื้อเดลตาครอน ซึ่งเป็นลูกผสมระหว่างสายพันธุ์เดลตาและสายพันธุ์โอไมครอน ที่พบระบาดแล้วในหลายประเทศในอาเซียน

ล่าสุดศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ให้ข้อมูลโควิด-19 การเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ ไขข้อเท็จจริง ‘เดลตาครอน’ สาระสำคัญระบุว่า การเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์ของไวรัส เกิดขึ้นได้จากการค่อยๆ เปลี่ยนแปลงไปทีละเล็กละน้อย ด้วยการเปลี่ยนพันธุกรรม และทำให้สร้างกรดอะมิโนเปลี่ยนแปลงไป

อย่างที่เห็นอยู่ทุกวันนี้ มีการเปลี่ยนแปลงสายพันธุ์จากแอลฟา-เบตา-เดลตา-โอไมครอน เปลี่ยนแปลงบนยีนของหนามแหลม spike ทำให้ระบบภูมิต้านทานเปลี่ยนแปลง โอไมครอนยังเปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อย ไปเป็นลูกหลาน BA.1 BA.2…BA.5.. เปลี่ยนแปลงทีละเล็กละน้อย ก็ยังเป็นโอไมครอนอยู่ สายพันธุ์โอไมครอน อยู่นานมาก อยู่มา 1 ปีแล้ว

การแยกสายพันธุ์ ดังแสดงในรูป ปรากฏการณ์เช่นนี้เกิดมาโดยตลอด ตั้งแต่เริ่มของสายพันธุ์อู่ฮั่นเป็นต้นมาจนถึงปัจจุบัน การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเพื่อความอยู่รอดของไวรัส ที่ผ่านมาตัวที่แพร่พันธุ์ได้เร็ว ความรุนแรงน้อย ก็จะอยู่รอด และเกิดสายพันธุ์ใหม่ เรื่อยมา อัตราการเสียชีวิตก็ลดลงมาโดยตลอด

การเปลี่ยนแปลงชนิดที่ 2 เป็นการแลกชิ้นส่วนต่างสายพันธุ์ หรือผสมส่วน ที่เรียกว่า recombination เราได้พบเห็นในไวรัสหลายชนิด เช่น ไวรัสที่ทำให้เกิดโรคมือเท้าปาก ไวรัสท้องเสีย norovirus เกิดได้จากการที่มีไวรัส 2 สายพันธุ์ติดเชื้อในผู้ป่วยคนเดียวกัน แล้วไปแลกชิ้นส่วนกัน เกิดเป็นลูกผสม หัวเป็นสายพันธุ์หนึ่ง หางเป็นสายพันธุ์หนึ่ง

โควิด-19 สายพันธุ์ ‘เดลตาครอน’ เกิดขึ้นได้อย่างไร

‘เดลตาครอน’ จะเกิดได้จะต้องมีผู้ป่วยติดเชื้อสายพันธุ์เดลตาร่วมกับโอไมครอน จึงจะเกิดลูกผสม ‘เดลตาครอน’ แต่ขณะนี้แทบจะไม่พบสายพันธุ์เดลตา จะเกิดลูกผสมเดลตาครอนได้อย่างไร เมื่อไม่มีพ่อพันธุ์แม่พันธุ์

คิดแบบง่ายๆ มีการพูดถึงเดลตาครอน จะเป็นเพียงชิ้นส่วนเล็กๆ ของสายพันธุ์เดลตาที่มีการเปลี่ยนแปลงกรดอะมิโนคล้ายคลึงกับสายพันธุ์เดลตา ในสายพันธุ์โอไมครอน เชื่อว่าไม่ได้เป็นการแลกชิ้นส่วนกัน และตั้งชื่อเป็น XBC และทางองค์การอนามัยโลกก็ไม่ได้มีการกำหนดชื่อใหม่หรือสายพันธุ์ใหม่ว่าเป็น เดลตาครอน หรือให้ความสำคัญแต่อย่างใด ตอนนี้ก็ยังมีแต่แอลฟา เดลตา โอไมครอน และมีสายพันธุ์ย่อยที่เราคุ้นหูกัน

ใครจะเรียก เดลตาครอน ขณะนี้ก็ไม่ได้มีความสำคัญอะไร การรายงานเข้าไปในธนาคารรหัสพันธุกรรม GISAID สายพันธุ์นี้ก็ไม่ได้เป็นสายพันธุ์เด่นอะไรเลย และไม่มีความสำคัญในขณะนี้ ไม่ว่าในอัตราการแพร่กระจายที่พบ หรือความรุนแรงที่พบ

สายพันธุ์ที่พบมากทั่วโลกขณะนี้ เป็นสายพันธุ์ย่อย โอไมครอน BA.2.75 และ BQ.1.1 บ้านเราขณะนี้เป็น BA.2.75 และก็คงจะตามมาด้วย BQ.1.1 ในอนาคตอันใกล้

โควิด-19 การกระตุ้นด้วยวัคซีนโปรตีนซับยูนิต Covovax หรือ Novavax

การศึกษาการใช้วัคซีนโควิด-19 ชนิด โปรตีนซับยูนิต เป็นเข็มกระตุ้นด้วยสูตรต่างๆ 2 เข็มแรกที่ฉีดในประเทศไทยได้ผลดี ไม่ว่าจะเป็นวัคซีน 2 เข็มแรกเป็นเชื้อตาย หรือ ไวรัส Vector สูตรไขว้ หรือ mRNA ได้ผลดีไม่แตกต่างกัน

การกระตุ้นวัคซีนเชื้อตายมีแนวโน้มภูมิต้านทานที่ค่อนข้างสูง นับเป็นรายงานแรกๆ ที่ใช้วัคซีน โปรตีนซับยูนิต กระตุ้นเชื้อตาย แสดงให้เห็นว่า กระตุ้นภูมิต้านทานได้ดี และอาการข้างเคียงของวัคซีนต่ำมาก โดยเฉพาะอาการไข้ หลังฉีดแทบไม่พบเลย

ผลงานได้รับการลงตีพิมพ์ เผยแพร่ในวารสารระดับแนวหน้า International Journal of Infectious Disease หรือ IJID ที่มี impact factor = 12 รายละเอียดอ่านได้จาก https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/36427701/

ATK กับการตรวจโควิดกลายพันธุ์

การกลายพันธุ์ของไวรัสที่แบ่งกลุ่มย่อยแตกต่างมากมาย ส่วนใหญ่จะเกิดในส่วนของโปรตีนหนาม spike protein การจำแนกสายพันธุ์ย่อยก็จำแนกจากส่วนนี้ การตรวจ ATK จะตรวจหาในส่วนนิวคลีโอแคปสิด Nucleocapsid ของไวรัส เป็นส่วนโครงสร้างของตัวไวรัส ในส่วนนี้จะมีการกลายพันธุ์เกิดขึ้นน้อยมาก

จะเห็นว่าเวลาการตรวจวินิจฉัย ไม่ว่าจะเป็น RT-PCR หรือ ATK จะใช้ในส่วนนี้เป็นการตรวจวินิจฉัย เนื่องจากค่อนข้างคงตัว ดังนั้นที่ผ่านมาการใช้ ATK ตรวจหาโควิด-19 จึงยังไม่ได้เป็นปัญหา

อย่างไรก็ตาม ปัจจัยเกี่ยวกับความไวของการตรวจ ATK ยังขึ้นอยู่กับชนิดน้ำยา เป็นที่ทราบอยู่แล้วว่าความไวน้อยกว่า RT-PCR และวิธีการเก็บตัวอย่างให้ได้และถูกต้อง โดยเฉพาะถ้าต้องเก็บตัวอย่างเอง การป้ายเข้าไปในจมูก ส่วนใหญ่จะไม่ค่อยกล้าแยงลงลึก ทำให้เป็นผลลบได้ การป้ายจากคอโดยเฉพาะส่วนลึกของคอ จนถึงกับอาเจียนหรือมีเสมหะออกมา จะตรวจได้ดีกว่า เพราะเก็บตัวอย่างได้มากกว่า น้ำลายก็เป็นตัวอย่างที่สามารถนำมาตรวจได้ ถ้าชุดตรวจที่บอกว่าให้ตรวจจากน้ำลาย โดยเฉพาะในเด็ก

https://www.facebook.com/yong.poovorawan/posts/pfbid02v1sJgq2oALK9fU7GMSx6SZ89QMuJysXfrGnN1TorNtrmziMaCsGEg5uYNQJ9n4Lml

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า