Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

แพทย์จุฬาฯ เผย 5 เหตุผลที่ทำให้การรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ โดยเฉพาะชาวจีน การแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 ไม่ได้น่ากลัวกว่ายุโรป-อเมริกา และชาติอื่น ๆ ชี้ทุกอย่างจะเข้าสู่วงจรปกติที่เป็นโรคตามฤดูกาล 

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย วิเคราะห์ 5 เหตุผลการแพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 การรับนักท่องเที่ยวชาวต่างชาติ ชาวจีน ไม่ได้น่ากลัวกว่าชาติอื่น ดังนี้

1. สายพันธุ์ที่ระบาดในประเทศไทยขณะนี้เป็นโอไมครอน BA.2.75 ในระยะ 1 ปีที่ผ่านมาในช่วงโอไมครอนประชากรไทยติดเชื้อไปแล้วประมาณ 70 เปอร์เซ็นต์ หรือประมาณ 50 ล้านคน และการระบาดสายพันธุ์ในประเทศไทยเริ่มต้นตั้งแต่ BA.1 BA.2 แล้วเป็น BA.4- BA.5 ซึ่งสายพันธุ์ BA.5 ได้ระบาดผ่านพ้นไปแล้วและขณะนี้เป็น BA.2.75

ขณะเดียวกันในยุโรปและอเมริกา สายพันธุ์ต่างๆ เกิดก่อนประเทศไทย และระบาดเข้าสู่ประเทศไทย สายพันธุ์ BA.2.75 ระบาดในยุโรปและอเมริกาเมื่อหลายเดือนก่อน ผ่านพ้นไปแล้ว ขณะนี้ในยุโรปและอเมริกา ได้เปลี่ยนเป็น เป็น BQ1และ BQ1.1 แต่ขณะเดียวกันในจีนขณะนี้ยังเป็นสายพันธุ์ในกลุ่ม BA.5 ตามหลังประเทศไทย

ถ้านักท่องเที่ยวจีนเข้ามาสู่ประเทศไทยนำเชื้อโควิด-19 เข้ามาจะเป็นสายพันธุ์ที่เคยระบาดผ่านไปแล้วในประเทศไทย ตรงกันข้ามกับยุโรปและอเมริกาจะเป็นสายพันธุ์ที่ยังไม่เคยระบาดในประเทศไทย เรื่องของสายพันธุ์ในปัจจุบันนี้ ถ้ามาจากประเทศจีน จึงไม่น่าวิตกแต่อย่างใด เพราะของเราผ่านพ้นไปแล้ว ถ้าจะกลัวจากนักท่องเที่ยวต่างชาติ สายพันธุ์ที่ยังไม่มีในประเทศไทยโดยเฉพาะ BQ ที่จะมาจาก ประเทศทางตะวันตกยังน่ากลัวกว่า เราก็ไม่ได้ตรวจ และไม่สามารถบังคับให้ใส่หน้ากากอนามัยได้ด้วย

2. การเกิดสายพันธุ์ใหม่ สามารถเกิดขึ้นที่ไหนก็ได้ทุกแห่งในโลกนี้ ไม่ว่าจะเป็น ญี่ปุ่น เกาหลี จีน หรือทางตะวันตก แม้กระทั่งในอินเดีย แอฟริกาก็เกิดได้ทั้งนั้น แต่ทั่วโลกขณะนี้ มีระบบการเฝ้าระวังด้วยการถอดรหัสพันธุกรรม เข้าธนาคารกลาง และทุกประเทศได้เรียนรู้ร่วมกัน ทำไมเราจึงต้องถอดรหัสพันธุกรรมอยู่ทุกวัน ห้องปฏิบัติการผมก็ทำอยู่ทุกวันเป็นการเฝ้าระวังสายพันธุ์ใหม่ เมื่อยังไม่รู้ว่าสายพันธุ์ใหม่ จะเกิดที่ประเทศใด ก็ไม่รู้จะไปป้องกันปิดกั้นชาติใด เพราะการป้องกันประเทศจีน ประเทศเดียวไม่ใช่เป็นวิธีการแก้ปัญหา อาจจะมาจากประเทศใดก็ได้

3. ที่ศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิกทำการศึกษาประชากรไทยติดเชื้อไปแล้ว 70 เปอร์เซ็นต์หรือประมาณ 50 ล้านคน แต่ถ้าตรวจภูมิต้านทานต่อเปลือกนอกไวรัส จะพบว่าร้อยละ 96 ของประชากรไทย มีภูมิต้านทานรับรู้แล้ว เกิดจากการฉีดวัคซีน และ/หรือการติดเชื้อร่วมด้วย

ถ้าใครไม่ได้ฉีดวัคซีนโดยเฉพาะกลุ่มเด็กเล็ก ธรรมชาติก็ฉีดให้ ด้วยการติดเชื้อไปแล้ว ในเด็กติดเชื้อแบบไม่มีอาการจะพบได้ถึง 1 ใน 3 ภูมิคุ้มกันที่เกิดจากการติดเชื้อส่วนใหญ่เกิดขึ้นในปีนี้ เป็นภูมิต้านทานที่เกิดจากสายพันธุ์โอไมครอนดีกว่าวัคซีนทุกชนิด เพราะตรงกับสายพันธุ์ที่กำลังระบาดอยู่ขณะนี้

4. การระบาดของประเทศไทยกำลังอยู่ในขาลงตามฤดูกาล เมื่อเข้าสู่ฤดูร้อนจะพบโรคนี้รวมทั้งโรคทางเดินหายใจน้อยมาก หรือโรคโควิด-19 จะสงบลง และจะไประบาดเพิ่มขึ้นในเดือนมิถุนายน ตามฤดูกาลอีกครั้งหนึ่งเป็นวงจรต่อไป

5. การให้วัคซีนต่อไปในอนาคตก็คงจะเน้นเป็นวัคซีนประจำปี โดยเฉพาะจะให้ก่อนที่มีการระบาดในฤดูฝน เช่นเดียวกับวัคซีนไข้หวัดใหญ่ ที่มีการรณรงค์ให้ในกลุ่มเสี่ยงสูง เพื่อลดอัตราการเสียชีวิตและป่วยรุนแรง ผู้ที่มีภูมิเป็นบางส่วน หรือเคยติดเชื้อมาแล้ว เมื่อติดเชื้อซ้ำความรุนแรงของโรคก็จะลดลง

ทุกอย่างจะเข้าสู่วงจรปกติที่เป็นโรคตามฤดูกาล ชีวิตต้องเดินหน้า ด้วยระเบียบวินัย และการปฏิบัติตน ในการดูแลสุขอนามัยให้แข็งแรง และป้องกันการติดเชื้อและการแพร่เชื้อ

 

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า