Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

นักวิชาการแนะจับตาการแพร่ระบาดโควิด-19 สายพันธุ์จากตะวันตก เผยไทยเผชิญโควิดครบ 3 ปีแล้ว ติดเชื้อแล้วประมาณ 50 ล้านคน มีภูมิต้านทานจากการติดเชื้อและฉีดวัคซีนกว่าร้อยละ 96

ผู้ป่วยโควิด-19 หน้าทำเนียบ

ศ.นพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยา คลินิกภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์โควิด-19 ในประเทศไทยว่า การแพร่ระบาดโควิด-19 ครบ 3 ปีแล้ว ประชากรไทยติดเชื้อไปแล้วประมาณ 50 ล้านคน รวมทั้งฉีดวัคซีน 2 เข็มไปแล้ว ประมาณร้อยละ 80 ฉีด 3 เข็มประมาณร้อยละ 40 ทำให้ประชากรไทยตรวจพบภูมิต้านทานได้ถึงร้อยละ 96

ความรุนแรงของโรคลดลงอย่างมาก เมื่อเปรียบเทียบกับการระบาดในปีแรก และโรคนี้กำลังเข้าสู่โรคประจำฤดูกาลที่ทุกคนจะต้องอยู่ร่วมกับไวรัสตัวนี้ พร้อมแนะนำให้สวมหน้ากากอนามัย ดังนี้

1. ในเด็กเล็ก รวมทั้งเด็กอนุบาลและประถม อาจไม่จำเป็นที่จะต้องใส่หน้ากากอนามัย ในโรงเรียน เด็กเล็กไม่สามารถที่จะใส่ได้แบบถูกวิธีตลอดเวลา ต้องมีการเรียนรู้ทั้งภาษาพูดและภาษาท่าทาง สิ่งสำคัญในการป้องกันในโรงเรียน คือการล้างมือที่ถูกต้อง ดูแลสุขอนามัย ความสะอาดและสถานที่ หมั่นทำความสะอาดและให้โปร่ง อากาศถ่ายเทได้ดี ไม่สบายหรือป่วย ต้องไม่ไปโรงเรียน

2. เด็กโตหรือผู้ใหญ่ที่ป่วยเป็นโรคทางเดินหายใจ ควรใส่หน้ากากอนามัยตลอดเวลาเมื่อออกนอกบ้าน

3. ในคนที่สุขภาพแข็งแรง ไม่เจ็บป่วย ในที่โล่งแจ้ง อากาศถ่ายเทได้ดี เช่น สวนสาธารณะ ท้องถนน ชายทะเล ไม่มีความจำเป็นที่จะต้องใส่หน้ากากอนามัย และต่อไปเมื่อเข้าสู่โรคประจำฤดูกาลเต็มที่แล้ว ก็คงจะเน้นการใส่หน้ากากอนามัยในผู้ป่วยโรคทางเดินหายใจเป็นหลัก

4. ในสถานที่ปิด เช่น การเดินทางด้วยรถขนส่งมวลชน รถไฟฟ้า หรือสถานที่ที่มีคนหมู่มาก ก็ควรใส่หน้ากากอนามัย

5 .ในสภาวะปัจจุบัน การใส่หน้ากากอนามัยเป็นไปด้วยความสมัครใจ ทุกคนก็คงจะต้องประเมินความเสี่ยงและความเหมาะสมในการใส่หน้ากากอนามัย เรากำลังจะเข้าสู่ภาวะปกติใหม่ต่อไป โดยก้าวเดินไปตามความเหมาะสม แบบมีเหตุผล

จับตาการระบาดโควิด-19 สายพันธุ์ทางตะวันตก

ศ.นพ.ยง ระบุว่า การระบาดของประเทศไทย เริ่มอยู่ในขาลงและเป็นสายพันธุ์ BA.2.75 จะมีขาขึ้นของสายพันธุ์ใหม่หรือไม่ต้องเฝ้าระวังอย่างยิ่งในอเมริกาและตะวันตก สายพันธุ์ที่ระบาดหลังจากที่ระบาดด้วย BA.2.75 แล้ว สายพันธุ์ต่อมาเป็น BQ.1.1 และขณะนี้กำลังเปลี่ยนเป็นสายพันธุ์ XBB.1.5 เพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมากอย่างรวดเร็วและจะเข้ามาแทนที่สายพันธุ์เก่า ทั้งสายพันธุ์ BQ.1.1 และ XBB.1.5 เป็นสายพันธุ์ที่แพร่กระจายได้รวดเร็วเมื่อ และหลบหลีกภูมิต้านทานเก่า รวมทั้งภูมิต้านทานต่อวัคซีนที่ฉีด จึงทำให้แพร่กระจายเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว แต่ความรุนแรงของโรคไม่ได้เพิ่มขึ้น สายพันธุ์ XBB.1.5 พบมากกว่า 40% ในอเมริกา (Reuters Dec 30, 2022)

สายพันธุ์ของประเทศไทยหลังจากนี้ ที่จะต้องเฝ้าจับตาอย่างยิ่งคงหนีไม่พ้นสายพันธุ์ทั้งสองนี้ เพราะมีนักท่องเที่ยวจากทางตะวันตกเข้ามาสู่ประเทศไทยเป็นจำนวนมาก การถอดรหัสพันธุกรรมหาสายพันธุ์ในประเทศไทย คงจะต้องทำเพิ่มขึ้นและอย่างรวดเร็วในการเฝ้าระวังเหตุการณ์ดังกล่าว ว่าจะเป็นตามที่คาดหรือจะมีสายพันธุ์ใหม่จากที่อื่นในโลกเข้ามาก็ได้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า