SHARE

คัดลอกแล้ว

นพ.ยง แนะฉีดวัคซีนโควิด-19 ปีละครั้งช่วงเดือน เม.ย.-พ.ค. ชี้สิ้นสุดการแพร่ระบาดรุนแรง โควิด-19 กลายเป็นโรคประจำฤดูกาลแล้ว รายงานการติดเชื้อทั่วโลกมีประมาณเกือบ 700 ล้านคน ต่ำกว่าความเป็นจริงประมาณ 10 เท่า

กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข รายงานสถานการณ์ผู้ติดเชื้อโควิด-19 รายสัปดาห์ ระหว่างวันที่ 29 ม.ค. – 4 ก.พ. 2566 มีผู้ป่วยรักษาตัวในโรงพยาบาล 252 ราย เฉลี่ยวันละ 36 ราย, ผู้เสียชีวิต 17 ราย : เฉลี่ยวันละ 4 ราย มีผู้ป่วยปอดอักเสบ 122 ราย และผู้ป่วยใส่เครื่องช่วยหายใจ 78 ราย

ล่าสุดนพ.ยง ภู่วรวรรณ หัวหน้าศูนย์เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านไวรัสวิทยาคลินิก ภาควิชากุมารเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย แสดงความคิดเห็นเกี่ยวกับสถานการณ์แพร่ระบาดโควิด-19 ว่า โควิด End Game เข้าสู่โรคประจำฤดูกาล โรคโควิดไม่ได้หายไปไหน และน่าจะสิ้นสุดด้วยการเปลี่ยนเป็นโรคประจำฤดูกาลต่อไป

ในปีที่ 4 นี้ การนับยอดผู้ป่วยติดเชื้อ ไม่เกิดประโยชน์ เพราะตัวเลขที่รายงานต่ำกว่าความเป็นจริงมาก ขณะนี้ทั่วโลกน่าจะมีการติดเชื้อมากกว่าร้อยละ 70 หรือประมาณ 5,000 ล้านคน ตัวเลขที่รายงานการติดเชื้อทั่วโลกมีประมาณเกือบ 700 ล้านคน ต่ำกว่าความเป็นจริงประมาณ 10 เท่า ประเทศไทยก็ไม่ได้รายงานตัวเลขติดเชื้อแล้ว รายงานเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรับไว้รักษาในโรงพยาบาลและผู้เสียชีวิตเท่านั้น

องค์การอนามัยโลกคงจะเลิกนับตัวเลขในเร็วๆ นี้ หลังจากการระบาดในประเทศจีนลดลง (เพราะส่วนใหญ่ติดเชื้อแล้ว)

นพ.ยง ระบุว่า ความรุนแรงของโรคลดลงมาโดยตลอด ผู้เสียชีวิตมากกว่าร้อยละ 80 เป็นผู้สูงอายุ และมีโรคประจำตัว จะไม่มีการย้อนไปปิดบ้านปิดเมืองอีกแล้ว

วัคซีน โดยเฉพาะ mRNA ตลาดควรเป็นของผู้ซื้อ วัคซีนมีอายุสั้น และขวดหนึ่ง ยังมีจำนวน 7-10 โดส จึงยากต่อการใช้ ให้มีการสูญเสียทิ้งให้น้อยที่สุด ประกอบกับมีราคาแพง มีอาการแทรกซ้อนที่พบได้ มากกว่าวัคซีนที่ใช้ในอดีต และในอนาคตเมื่อเทียบกับความรุนแรงของโรค จึงเป็นการยากที่ประเทศกำลังพัฒนาเข้าถึง ความจำเป็นที่จะต้องฉีดทุก 4-6 เดือนไม่มีอีกแล้ว

เมื่อเข้าสู่โรคประจำฤดูกาล การให้วัคซีนจะเหลือปีละ 1 ครั้ง การนัดคนมาฉีดพร้อมกันเพื่อลดการสูญเสียของวัคซีนจะทำได้ยากขึ้น โดยเฉพาะวัคซีนมีอายุสั้น การเก็บรักษายุ่งยาก ใช้อุณหภูมิติดลบ ยิ่งทำให้ราคาแพงขึ้น การให้ได้วัคซีนตรงกับสายพันธุ์ยิ่งยากเข้าไปอีก เพราะการพัฒนาต้องมีต้นทุนสูงและเมื่อพัฒนาขึ้นมาแล้วไวรัสก็เปลี่ยนสายพันธุ์ไปอีก

ในอนาคตอันใกล้นี้ก็น่าจะได้เห็นตัวเลขของประเทศที่ใช้วัคซีนต่างชนิดกัน ประสิทธิภาพในการลดความรุนแรง หรือเสียชีวิตเป็นอย่างไร เมื่อทุกประเทศส่วนใหญ่ติดเชื้อไปหมดแล้ว จะเป็นการย้อนดูบทเรียนในอดีต

ประเทศไทยมีการติดเชื้อไปแล้วมากกว่าร้อยละ 70 ถึงวันนี้ น่าจะถึงร้อยละ 80 ทำให้มีภูมิต้านทานแบบธรรมชาติร่วมกับภูมิต้านทานจากวัคซีน ในประชากรเกือบทั้งหมด และถ้าจำเป็นต้องฉีดวัคซีนปีละ 1 ครั้ง โดยให้ในกลุ่มเสี่ยง ปริมาณวัคซีนที่ใช้ต่อปี ก็จะเหมือนไข้หวัดใหญ่ ที่มีฤดูกาลระบาดในฤดูฝนหรือโรงเรียนเปิดเทอมแรก ในเดือนมิถุนายนนั่นเอง

การให้วัคซีนประจำปี ก็ควรจะเป็น เดือนเมษายน – พฤษภาคม เพื่อป้องกันการระบาดในฤดูฝน ที่จะเริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายน

 

https://www.facebook.com/yong.poovorawan/posts/pfbid0bUjUjUrcgETv9AFHphXTVBELu8dDwcF9rrcL8e78CjqBGmx6zuu2EdLXBu9eVjNul

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า