Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

สธ.ยืนยันโควิด-19 ไทยอยู่ในระยะ 2 วันนี้พบผู้ป่วยเพิ่ม 2 ราย เป็นหญิงอายุ 31 ปี และชายอายุ 29 ปี ด้านที่ปรึกษากรมควบคุมโรคแนะนำปรับคู่มือการคัดกรองเพื่อตรวจคัดกรองได้มากขึ้น 

วันที่ 25 ก.พ.2563 นพ.สุขุม กาญจนพิมาย ปลัดกระทรวงสาธารณสุข, นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค, นพ.มรุต จิรเศรษฐสิริ อธิบดีกรมการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก, นพ.โอภาส การย์กวินพงศ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ และนพ.วิฑูรย์ ด่านวิบูลย์ ผู้อำนวยการองค์การเภสัชกรรม ร่วมกันแถลงความคืบหน้าสถานการณ์โควิด-19 ว่า พบผู้ป่วยเพิ่ม 2 ราย

รายที่ 1 เป็นหญิงไทยอายุ 31 ปี อาชีพแม่บ้าน ขณะนี้รักษาตัวอยู่ที่ โรงพยาบาลราชวิถี แพทย์ตรวจพบปอดอักเสบที่หาสาเหตุไม่ได้ แพทย์ได้ซักประวัติเพิ่มเติมพบประวัติสมาชิกในครอบครัวเดินทางกลับจากประเทศจีน

รายที่ 2 เป็นชายไทยอายุ 29 ปี ทำงานสัมผัสใกล้ชิดนักท่องเที่ยวชาวจีน ไปพบแพทย์ด้วยอาการไข้ ไอ รับรักษาอยู่ที่สถาบันบำราศนราดูร

นพ.สุขุม กล่าวว่า เจ้าหน้าที่ควบคุมโรคได้ทำการสอบสวนและเก็บตัวอย่างจากผู้สัมผัสใกล้ชิดผู้ป่วยทั้ง 2 รายเพื่อส่งตรวจการติดเชื้อและการแพร่ระบาด ทั้งนี้ยังไม่สามารถได้ว่าเชื้อโควิด-19 มาจากใครเนื่องจากสมาชิกในครอบครัวของผู้ป่วยหญิงเคยไปประเทศจีน ยังไม่ยืนยันว่ากลับมาเกิน 14 วันหรือไม่ อยู่ในกระบวนการสอบสวน เมื่อสอบสวนแล้วจะบอกว่าใครเป็นก่อนหรือเป็นหลัง ตอนนี้แนะนำให้ผู้สัมผัสกักตัว 14 วัน เพราะผู้ป่วยแม่บ้านรายนี้มีอาการและไปโรงพยาบาลเพื่อตรวจสอบจากนั้นทางโรงพยาบาลดำเนินการตามขั้นตอน

รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ที่ปรึกษากรมควบคุมโรค

รศ.(พิเศษ) นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ กล่าวว่า ประสบการณ์จริงที่เกิดขึ้นคือช่วงที่มีการกระจายโรค แล้วมีคนไข้ถูกให้อยู่โรงพยาบาลแล้วไม่ยอมอยู่ เพราะคิดว่าตัวเองมีอาการไม่มาก ส่วนใหญ่เป็นคนไข้ต่างชาติ พอพูดกันไม่รู้เรื่องก็ขึ้นแท็กซี่ออกไปเลย ถือว่าอันตรายมากและเสี่ยงเป็น Super Spreader

สำหรับผู้ที่จะเดินทางไปต่างประเทศโดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยง หากเลี่ยงได้ก็ควรเลี่ยง แต่ถ้าไปมาแล้วเป็นไข้หวัดต้องไปหาหมอตรวจทันทีไม่ต้องรอให้ป่วยหนัก การเดินทางไปประเทศเสี่ยงถือเป็นความเสี่ยงอย่างหนึ่ง ตอนนี้กำลังปรับเกณฑ์ให้คนไข้ที่มีอาการเสี่ยงเข้ามาในระบบมากขึ้น หากไปต่างประเทศ หรือคนในครอบครัวไปประเทศเสี่ยงต้องเฝ้าระวังภายใน 14 วันจะต้องไม่ป่วยและต้องแยกตัวออกจากคนอื่นก่อน วันนี้การตรวจคนไข้เฝ้าระวังตัวเลขกราฟเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องเปลี่ยนคู่มือการตรวจคัดกรองกรองเพราะเป็นไปไม่ได้ที่ผู้ติดเชื้อจะติดอยู่ที่ 35 ราย

สถานการณ์แพร่ระบาดเชื้อโควิด-19 พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อรักษาในโรงพยาบาล 15 ราย กลับบ้านแล้ว 22 ราย รวมสะสม 37 ราย, ผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนโรคต้องเฝ้าระวัง ตั้งแต่วันที่ 3 มกราคม – 24 กุมภาพันธ์ 2563 มีผู้ป่วยเข้าเกณฑ์สอบสวนต้องเฝ้าระวังสะสมทั้งหมด 1,580 ราย คัดกรองจากสนามบิน 70 ราย มารับการรักษาที่โรงพยาบาลเอง 1,510 ราย อนุญาตให้กลับบ้านได้แล้วและอยู่ระหว่างติดตามอาการ 1,160 ราย ส่วนใหญ่ เป็นไข้หวัดใหญ่ตามฤดูกาล ยังคงรักษาในโรงพยาบาล 420 ราย

สถานการณ์ทั่วโลกใน 35 ประเทศ 2 เขตบริหารพิเศษ และ 1 เรือสำราญ ข้อมูลตั้งแต่ 5 มกราคม – 25 กุมภาพันธ์ 2563 (07.00 น.) พบผู้ป่วยยืนยันติดเชื้อจำนวน 80,087 ราย เสียชีวิต 2,699 ราย ส่วนประเทศจีนพบผู้ป่วย 77,658 ราย เสียชีวิต 2,663 ราย

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า