Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ศบค.เผย ยอดผู้ติดเชื้อโควิด-19 วันที่ 30 มิ.ย. 2564 รวม 4,786 ราย จำแนกเป็น ติดเชื้อใหม่ 4,659 ราย ติดเชื้อภายในเรือนจำ 127 ราย หายป่วยกลับบ้าน 2,415 ราย ผู้ป่วยสะสม 230,438 ราย เสียชีวิต 53 ราย

นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (โควิด-19) หรือ ศบค. รายงานว่า ประเทศไทยอยู่ในอันดับที่ 73 ของโลก พบผู้ติดเชื้อรายใหม่รวม 4,786 ราย แบ่งเป็นผู้ป่วยรายใหม่ 4,659 ราย ผู้ป่วยในเรือนจำ 127 ราย ผู้ป่วยยืนยันสะสมทั้งหมด 259,301 ราย รักษาอยู่ 49,799 ราย รักษาในโรงพยาบาล 22,470 ราย โรงพยาบาลสนาม 27,329 ราย เป็นผู้ป่วยอาการหนัก 1,911 ราย และต้องใส่ท่อช่วยหายใจ 556 ราย รักษาหายกลับบ้านแล้ว 207,479 ราย หายเพิ่ม 2,415 ราย เสียชีวิตใหม่ 53 ราย รวมเสียชีวิต 2,023 คน

การฉีดวีคซีนสะสม อยู่ที่ 9,672,706 โดส แยกเป็น เข็มที่ 1 วันนี้ฉีดเพิ่ม 189,131 ราย ยอดสะสมรวม 6,910,169 ราย และเข็มที่ 2 วันที่ฉีดเพิ่ม 66,603 ราย ยอดสะสมรวม 2,762,537 ราย ทั้งทางกระทรวงสาธารณสุข และกรมควบคุมโรค ได้เน้นย้ำว่าวัคซีนกำลังทยอยเข้ามาในประเทศ โดยคาดว่าจะมาตามที่กำหนดไว้ระหว่างนี้ ขอความร่วมมือหน่วยงานที่เกี่ยวข้องสร้างความรับรู้และสร้างความมั่นใจให้กับประชาชน ว่าวัคซีนจะเป็นอีกหนึ่งหนทางที่จะลดการติดเชื้อที่เป็นอาการหนัก และลดการเสียชีวิตได้แน่นอน ส่วนการณีที่ฉีดวัคซีนแล้วยังมีการติดเชื้อ ถือว่าเป็นเรื่องปกติเพราะในหลายประเทศก็ประสบปัญหาดังกล่าวเช่นกัน แต่ขอยืนยันว่าการฉีดวัคซีนย่อมดีกว่าการที่ไม่ได้ฉีดเลย

ส่วนจำนวนผู้เสียชีวิตในวันนี้ จำนวน 53 ราย พบว่าในจำนวนนี้อยู่ในพื้นที่กรุงเทพฯ 35 ราย ปทุมธานี สมุทรปราการ 3 ราย/จังหวัด นครปฐม ยะลา และสงขลา 2 ราย/จังหวัด ขณะที่ จันทบุรี นครสวรรค์ ปัตตานี อุตรดิตถ์ อุบลราชธานี และชลบุรี 1 ราย/จังหวัด ซึ่งผู้เสียชีวิตส่วนใหญ่พบว่ายังเป็นกลุ่มผู้สูงอายุ พบเสียชีวิตอายุต่ำสุด 24 ปี ค่ากลางอยู่ที่ 71 ปี ส่วนใหญ่พักรักษาตัวอยู่ที่โรงพยาบาล 11.5 วันก่อนเสียชีวิต และส่วนใหญ่ หรือ 29% มีอาการรุนแรงก่อนได้รับการรักษา และบางคนมีโรคประจำตัวจึงเป็นเหตุให้เสียชีวิต ซึ่งยังคล้ายเดิม

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า เมื่อดูจากกราฟที่มีการรายงานผู้ติดเชื้อประจำวันแล้ว ทั้งจำนวนผู้เดินทางเข้ามารักษที่โรงพยาบาล และการค้นหาเชิงรุกในชุมชน ต้องยอมรับว่าไทยกำลังเผชิญกับการระบาดของโควิด-19 ในระลอกที่มีความรุนแรงสูง คล้ายกับต่างประเทศที่เราได้ทราบมา แม้บางประเทศที่มีการคลายล็อกดาวน์ ในตอนนี้ก็ได้ทำการล็อกดาวน์อีกครั้ง อาทิ ออสเตเรีย แม้จะพบผู้ติดเชื้อประมาณ 100 ราย ก็เลือกใช้วิธีล็อกดาวน์ เป็นต้น ซึ่งข้อจำกัดในการเดินทาง และการใช้ชีวิต ตอนนี้ก็ประสบปัญหาเดียวกันในหลายประเทศไม่ใช่เฉพาะประเทศไทย เพียงประเทศเดียว จึงอยากให้เข้าใจในเรื่องนี้ให้ตรงกัน

ส่วนผู้ที่มาจากต่างประเทศในวันนี้มีเพียง 9 ราย ได้แก่ เมียนมา 2 ราย เดินทางผ่านช่องทางธรรมชาติ และกัมพูชา 7 ราย ในจำนวนนี้เดินทางผ่านช่องทางธรรมชาติ 5 ราย

สำหรับ 10 จังหวัดมีจำนวนผู้ติดเชื้อใหม่สูงสุด นิวไฮยังคงเป็น กรุงเทพฯ อยู่ที่ 1,826 ราย สมุทรปราการ 433 ราย สมุทรสาคร 253 ราย ชลบุรี 208 ราย นครปฐม 191 ราย ปทุมธานี 177 ราย สงขลา 157 ราย นนทบุรี 155 ราย ยะลา 106 และปัตตานี 81 ราย

นอกจากนี้ ในการประชุมของศูนย์ปฏิบัติการในการควบคุมโรคโควิด-19 ของกรุงเทพฯ และปริมณฑล ทางประธาน สมช. ได้สั่งการให้แต่ละจังหวัดได้มีการนำเสนอโดยเริ่ม กทม. ได้รายงานเพิ่มเติมว่าวันนี้มีการค้นพบผู้ป่วยเพิ่มเติมในกลุ่มของชุมชนซอยขุนนาวา เขตบางรัก เป็นพนักงานที่ติดเชื้อ 25 ราย จากจำนวนทั้งหมด 800 ราย ส่วนการตรวจแคมป์คนงาน ที่พระราม 2 ซอย 50 ที่บางขุนเทียน พบผู้ติดเชื้อจำนวน 94 ราย จากทั้งหมด 246 ราย สรุปมีคลัสเตอร์ที่ต้องเฝ้าระวังและเป็นกลุ่มเฝ้าระวังสูงสุด 108 แห่ง เนื่องจกพบผู้ป่วยในรอบ 14 วันที่ผ่านมา ส่วนในกลุ่มที่ไม่พบผู้ป่วยใหม่ในรอบ 14 วัน มี 10 แห่ง และกลุ่มที่ไม่พบผู้ป่วยใน 28 วัน มีจำนวน 26 แห่ง

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า จากการสำรวจทั้งประเทศ พบจังหวัดที่มีรายงานผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น ได้แก่ สมุทรปราการ พบคลัสเตอร์ใหม่ ในโรงงานผ้า ที่อำเภอเมือง พบผู้ติดเชื้อ 33 ราย และโรงงานผลิตอาหาร ที่บางบ่อ พบผู้ติดเชื้อ 54 ราย นครปฐม พบคลัสเตอร์ใหม่ ในโรงหมู พบผู้ติดเชื้อรวม 52 ราย ปทุมธานี พบผู้ติดเชื้อ ในตลาดไทย 29 ราย ระนอง พบการแพร่ระบาดที่แพรปลา พบผู้ติดเชื้อ 24 ราย และสุราษฎร์ธานี พบคลัสเตอร์ใหม่ ในแคมป์ก่อสร้าง ที่อำเภอเมือง จำนวน 19 ราย

เมื่อถามถึงความชัดเจนในการเดินทางจากกรุงเทพมหานคร ถ้าจะเดินทางไปพื้นที่ควบคุมสูงสุดและเข้มงวด 4 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จำเป็นต้องมีเอกสารในการเดินทางหรือไม่

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า เราได้มีการปรึกษาทางฝ่ายกฎหมายของทาง ศบค. ยืนยันว่าได้ ข้อกำหนดฉบับที่ 25 เจตนาการออกข้อกำหนดจะให้คนที่ออกจากจังหวัด 4 ชายแดนใต้ ที่เดินทางออกไปต้องขออนุญาตจากทางการ ในการออกจากพื้นที่ เนื่องจากมีการติดเชื้อภายใน 4 จังหวัดชายแดนใต้จำนวนมาก และมีข่าวว่าไปแพร่เชื้อในหลายจังหวัด แต่คนที่จะเดินเข้าไปใน 4 จังหวัดชายแดนใต้ คณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัดจะต้องออกมาตรการขึ้นมา ทั้งนี้อาจจะไม่จำเป็นต้องมีเอกสารขออนุญาต แต่อย่างไรก็ตามขอให้ตรวจสอบกับทางจังหวัด ซึ่งสามารถมีข้อปฏิบัติเข้มกว่าที่อื่นได้ เช่น มาแล้วอาจจะต้องถูกกักตัวในพื้นที่ที่จัดให้ เช่น กรณีที่มาจากพื้นที่กรุงเทพมหานคร ซึ่งเป็นพื้นที่สีแดงเข้มเช่นเดียวกันจะต้องอยู่ในพื้นที่กักตัว 14 วัน หรือกรณีที่แรงงานเดินทางกลับกลุ่มภูมิลำเนาในภาคอีสาน ก็จะต้องมีการกักตัวเพื่อสังเกตอาการ ดังนั้นการขอดูใบอนุญาตจะต้องติดตามดูว่าเกิดขึ้นที่จังหวัดใด และต้องมีการทำความเข้าใจกับคณะกรรมการโรคติดต่อ 4 จังหวัดชายแดนใต้ ซึ่งการออกใบอนุญาตจะทำให้เกิดความยุ่งยาก จะให้ทางภาครัฐทำความเข้าใจกับข้อกำหนดที่ออกมา

ล่าสุด กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) เผยข้อมูลสถิติการฉีดวัคซีนโควิด-19 ทั่วโลกแล้ว 2,976 ล้านโดส ใน 201 ประเทศ/เขตปกครอง โดยขณะนี้อัตราการฉีดล่าสุดรวมกันทั่วโลกที่ 45.6 ล้านโดสต่อวัน และมีแนวโน้มที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่ประเทศไทยฉีดวัคซีนแล้วกว่า 9,416,972 โดส โดยฉีดให้กับประชาชนในพื้นที่เสี่ยงมากที่สุดในสัดส่วนกว่า 47.3%

1. ข้อมูลการฉีดวัคซีนล่าสุดของประเทศไทย ณ วันที่ 29 มิถุนายน 2564
จัดสรรวัคซีนแล้วทั้งหมด 10,600,000 โดส
จำนวนการฉีดวัคซีนสะสม 9,416,972 คน ใน 77 จังหวัด แบ่งเป็น
-เข็มแรก 6,721,038 โดส (10.2% ของประชากร)
-เข็มสอง 2 2,695,934 โดส (4.1% ของประชากร)

2. จำนวนวัคซีนตั้งแต่ 28 ก.พ.-29 มิ.ย. 64 พบว่า ประเทศไทยฉีดวัคซีนแล้ว 9,416,972 โดส (อัตราการฉีดล่าสุดเฉลี่ย 3 วันย้อนหลัง ตั้งแต่วันที่ 7 มิ.ย. 64 ซึ่งเป็นการฉีดวัคซีนวาระแห่งชาติ 145,704 โดส/วัน ประกอบด้วย
วัคซีน Sinopharm
– เข็มที่ 1 11,446 โดส
– เข็มที่ 2 7 โดส
วัคซีน AstraZeneca
– เข็มที่ 1 3,184,843 โดส
– เข็มที่ 2 58,544 โดส
วัคซีน Sinovac
– เข็มที่ 1 3,524,749 โดส
– เข็มที่ 2 2,637,383 โดส

3. รายงานผู้มีอาการข้างเคียงภายหลังได้รับการฉีดวัคซีน
– 93.6% ไม่มีผลข้างเคียง
– 6.4% มีผลข้างเคียงไม่รุนแรง ประกอบด้วย
– ปวดกล้ามเนื้อ 1.54%
– ปวดศีรษะ 1.14%
– ปวด บวม แดง ร้อน บริเวณที่ฉีด 0.82%
– เหนื่อย อ่อนเพลีย ไม่มีแรง 0.74%
– ไข้ 0.50%
– คลื่นไส้ 0.34%
– ท้องเสีย 0.22%
– ผื่น 0.19%
– ปวดกล้ามเนื้อ กล้ามเนื้ออ่อนแรง 0.15%
– อาเจียน 0.09%
– อื่น ๆ 0.66%

4. การฉีดวัคซีนโควิด-19 แยกตามกลุ่มเป้าหมาย
– บุคลากรการแพทย์/สาธารณสุข เข็มที่1 105.5% เข็มที่2 93.8%
– อสม เข็มที่1 28.3% เข็มที่2 15.4%
– ผู้ที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป เข็มที่1 10.1% เข็มที่2 0.6%
– ผู้ที่มีโรคเรื้อรัง 7 กลุ่มโรค เข็มที่1 12% เข็มที่1 2.8%
– เจ้าหน้าที่ด่านหน้า เข็มที่1 31.9% เข็มที่2 19.8%
– ประชาชนทั่วไป เข็มที่1 11.1% เข็มที่2 4.5%
รวม เข็มที่1 13.4% เข็มที่2 5.4%

5. จังหวัดที่ฉีดวัคซีน เข็มที่ 1 และเข็มที่ 2 แบ่งเป็น 2 ชุดข้อมูล
กรุงเทพฯ และปริมณฑล เข็มที่1 21.53% เข็มที่2 7.80% ประกอบด้วย
– กรุงเทพฯ เข็มที่1 29.44% เข็มที่2 10.35%
– สมุทรสาคร เข็มที่1 18.24% เข็มที่2 11.66%
– นนทบุรี เข็มที่1 17.12% เข็มที่2 7.01%
– สมุทรปราการ เข็มที่1 14.48% เข็มที่2 3.54%
– ปทุมธานี เข็มที่1 9.24% เข็มที่2 3.33%
– นครปฐม เข็มที่1 5.31% เข็มที่2 1.62%

จังหวัดอื่นๆ 71 จังหวัด เข็มที่1 5.38% เข็มที่2 2.10%
– ภูเก็ต เข็มที่1 66.49% เข็มที่2 54.28%
– ระนอง เข็มที่1 22.78% เข็มที่2 6.37%
– สุราษฎร์ธานี เข็มที่1 11.33% เข็มที่2 5.88%
– เกาะสมุย เข็มที่1 51.37% เข็มที่2 41.12%
– เกาะเต่า เข็มที่1 19.70% เข็มที่2 11.84%
– เกาะพะงัน เข็มที่1 15.01% เข็มที่2 6.16%

6. ในภูมิภาคอาเซียน ได้ฉีดวัคซีนแล้วครบ 10 ประเทศ รวมจำนวน 88,726,716 โดส ได้แก่
1. อินโดนีเซีย จำนวน 41,634,512 โดส (10.3%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac และ AstraZeneca
2. ฟิลิปปินส์ จำนวน 10,065,414 โดส (6.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac, Pfizer, Sputnik V และ AstraZeneca
3. ไทย จำนวน 9,416,972 โดส (10.2%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinovac และ AstraZeneca
4. มาเลเซีย จำนวน 7,593,179 โดส (16.7%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer, AstraZeneca และ Sinovac
5. กัมพูชา จำนวน 6,957,895 โดส (23.8%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, AstraZeneca และ Sinovac
6. สิงคโปร์ จำนวน 5,029,006 โดส (50.5%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Pfizer และ Moderna
7. เวียดนาม จำนวน 3,497,104 โดส (3.4%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca
8. พม่า จำนวน 2,994,900 โดส (N/A* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca
9. ลาว จำนวน 1,460,294 โดส (12,4%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ Sinopharm, Sputnik V
10. บรูไน จำนวน 77,440 โดส (14.6%* ของประชากร) ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca และ Sinopharm
* คำนวณจากจำนวนฉีด/จำนวนประชากร/2 เหมือนกันทุกประเทศ

7. จำนวนการฉีดวัคซีนแยกตามภูมิภาค
1. เอเชียและตะวันออกกลาง 62.48%
2. อเมริกาเหนือ 14.32%
3. ยุโรป 15.36%
4. ลาตินอเมริกาและแคริบเบียน 5.94%
5. แอฟริกา 1.6%
6. โอเชียเนีย 0.3%

8. ประเทศที่ฉีดวัคซีนแล้วมากที่สุด 4 ประเทศลำดับแรกที่ฉีดวัคซีนมากกว่า 100 ล้านโดส รวมกันเกือบ 70% ของปริมาณการฉีดวัคซีนทั่วโลก
1. จีน จำนวน 1,185.79 ล้านโดส (42.3% ของจำนวนการฉีดทั่วโลก)
2. สหภาพยุโรป จำนวน 356.13 ล้านโดส (40.1%)
3. อินเดีย จำนวน 328.55 ล้านโดส (12.0%)
4. สหรัฐอเมริกา จำนวน 324.41 ล้านโดส (50.7%)

9. ประเทศที่ฉีดวัคซีนครอบคลุมประชากรมากที่สุด มี 10 ประเทศที่ฉีดวัคซีนให้กับประชากรอย่างน้อย 25% แล้ว ได้แก่ (เฉพาะประเทศที่มีประชากรมากกว่า 500,000 คน)
1. สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ (70.3%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaleya)
2. บาห์เรน (68.3%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaley)
3. มัลดีฟส์ (67.2% ของประชากร) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford และ Sinopharm)
4. อิสราเอล (59.2%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ Moderna)
5. ชิลี (58.9%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech และ Sinovac)
6. สหราชอาณาจักร (57.7%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford Moderna และ Pfizer/BioNTech)
7. กาตาร์ (55.0%) (ฉีดวัคซีนของ Pfizer/BioNTech)
8. มองโกเลีย (54.6%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และSputnik V)
9. อุรุกวัย (54.1%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinovac)
10. ฮังการี (52.7%) (ฉีดวัคซีนของ AstraZeneca/Oxford, Pfizer/BioNTech, Sinopharm และ Gamaley)

ประมวลข้อมูลโดย กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.)

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า