SHARE

คัดลอกแล้ว

นักภูมิคุ้มกันวิทยา เรียกร้องรัฐบาลเร่งจัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพดี พร้อมเล่าประสบการณ์ตรงหลังฉีดซิโนแวค 2 เข็มแล้วติดโควิด-19 ตรวจภูมิคุ้มกันตัวเองพบลดลงกว่า 30%

วันที่ 2 ก.ค. 2564 รศ.พญ.ประภาพร พิสิษฐ์กุล แพทย์ระบบภูมิคุ้มกัน โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล เปิดเผยผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัวหลังกลายเป็นผู้ติดเชื้อโควิด-19 หลังจากได้รับการฉีดวัคซีนซิโนแวคครบ 2 โดสแล้ว โดยระบุข้อความว่า

จริงๆ แล้วคนส่วนใหญ่ไม่ค่อยมีใครเขียนถึงประสบการณ์การติดเชื้อโควิดลงpublic เพราะว่าอาจมีผลต่อหน้าที่การงานของแต่ละท่าน แต่ส่วนตัวขอแสดงความคิดเห็นในฐานะแพทย์ระบบภูมิคุ้มกัน ครูบาอาจารย์ และผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด โดยมีจุดประสงค์ว่า ข้อมูลที่เล่านี้จะเป็นประโยชน์ต่อการดูแลสุขภาพของทุกคนและแสดงข้อมูลที่เป็นจริง (มีคนบอกให้เขียนเคสรีพอร์ต) ขอให้ทุกคนตระหนักและมีสติมากๆ

การที่เราเป็นทั้งแพทย์และนักวิจัยและอาจารย์ ส่วนตัวมักจะสอนให้นักเรียนคิด วิเคราะห์อย่างมีเหตุผล และให้ตั้งคำถาม อย่าเชื่อทุกสิ่งที่ครูสอน (ถ้ามันไม่ logic) ให้ค้นคว้าหาความรู้ (www.) และถ้ารู้มากกว่าครูให้กลับมาเล่าให้ฟังด้วย โดยทั่วไปนักศึกษาแพทย์จะถามแค่ว่า “ใคร ทำอะไร ที่ไหน เมื่อไหร่ อย่างไร” ในเวลาซักประวัติผู้ป่วย แต่คำถามสุดท้ายที่ไม่ค่อยถามกันคือ “ทำไม” ซึ่งในหลายๆ สถานการณ์ถ้าเราเข้าใจว่าทำไมถึงเกิดสิ่งนี้ขึ้น

เราจะแก้ปัญหาต่างๆ ได้ดีขึ้น โดยการถามว่าทำไมนั้นเป็นการถามในเชิงสร้างสรรค์เพื่อแก้ปัญหามากกว่าจะตามหาคนผิด ส่วนตัวคิดว่า เด็กๆ ไม่ค่อยได้ถูกอนุญาตให้ตั้งคำถามว่า “ทำไม” มาตั้งแต่ในโรงเรียน เลยคิดว่าไม่มี option นี้ให้ตั้งคำถามได้

-19

กลับมาสู่เรื่องของเรากัน

ดังนั้น ในฐานะแพทย์ระบบภูมิคุ้มกันเลยได้ทำการตรวจหาภูมิคุ้มกัน Neutralizing antibody ของตัวเอง เพื่อจะได้เข้าใจระบบภูมิคุ้มกันของตัวเองต่อการตอบสนองต่อวัคซีน (การไม่มีคำแนะนำว่าตรวจภูมิคุ้มกันแค่ไหนถึงป้องกันได้ ก็ไม่ได้หมายความว่าไม่ควรจะตรวจ เพราะว่าถ้าไม่ตรวจและเก็บข้อมูลก็จะไม่มีวันรู้สักทีว่าระดับเท่าไหร่ถึงจะพอจะป้องกันได้)

หลังฉีดวัคซีนซิโนแวคครบที่ 2 สัปดาห์ ตัวเองก็ได้ตรวจระดับ NAb ซึ่งก็สูงถึง 92.9% แต่พอติดตามไปหลังฉีดวัคซีนครบที่ 2 เดือน ค่า NAb ลดลงมาเหลือ 65.7%  และในช่วงที่ค่า NAb 65.7% ก็เป็นช่วงที่ตรวจ COVID-19 detected ที่ Ct 18

โดยคาดว่า การติดเชื้อนี้ได้มาจากการ Contact positive case ในห้องแล็บเย็น อากาศปิดนานประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง ในขณะที่ตัวเองใส่ N95 ใช่ค่ะ N95 (แต่ no Faceshield) และก่อนหน้าที่จะเข้าไปใช้ห้องแล็บนี้มีคนที่มาใช้เครื่องมือที่มีอาการไอค่อนข้างมากอยู่ก่อน และจากการได้รับอาหารมาจากเคสที่บวกเหมือนกัน แล้วไปแยกนั่งกินกันคนละห้องกัน ข้อสำคัญคือ เคสที่บวกด้วยกันก็ฉีดซิโนแวคครบ 2 เข็มเรียบร้อยและเช็ค NAb อยู่ที่ 60.04%

สิ่งเหล่านี้บอกอะไรเราบ้าง สิ่งเหล่านี้บอกว่าโควิด-19 รอบนี้ติดง่ายมากๆ

คนที่ฉีดวัคซีนครบทั้งสองคนที่มีภูมิคุ้มกันขึ้นทั้งคู่ก็สามารถติดเชื้อได้หรือแพร่ให้กันได้ หรือในที่อากาศปิดเย็นที่เคยมีคนติดโควิดแพร่เชื้อไว้ก็ยังสามารถติดได้

real world data (ประสบการณ์ตรง) ที่เมื่อฉีดซิโนแวคไปเพียง 2 เดือนก็มีภูมิคุ้มกันที่ลดลง (ซึ่งไม่ถึงกับหายไปเลย ก็แค่ลดลง 30%) แต่ก็ต่ำพอที่จะไม่สามารถป้องกันการติดเชื้อสายพันธุ์กลายพันธุ์ได้ (คิดว่าเราน่าจะโดนสายพันธุ์ Delta แน่ๆเลย)

ดังนั้น ซิโนแวคไม่กันติดเชื้อ confirmed กับ real world data อื่นๆ ทั้งในและนอกประเทศ

รศ.พญ.ประภาพร ระบุว่า ส่วนตัวขอแนะนำให้แพทย์และบุคลากรทางการแพทย์ทุกคนตั้งการ์ดสูงๆ เข้าไว้ ใครที่ฉีดซิโนแวค ซิโนแวคไป 2 เดือนแล้ว ภูมิคุ้มกันคงเริ่มลงแล้วค่ะ (ตัวเองฉีดครบหลังสงกรานต์) พยายามตรวจคนไข้ Telemedicine ให้มากเท่าที่จะทำได้ และแนะนำใส่ N95 ตรวจคนไข้ในห้องแอร์ Faceshield ด้วยก็ดี ส่วนคนอื่นๆ work from home ได้ทำนะคะ ตัวเองอยาก Work from home มาก แต่ด้วยลักษณะงานทำให้ไม่สามารถทำได้

ซิโนแวคกันอาการรุนแรงได้ไหม (เพราะดูจากค่า Ct ที่ 18 ก็แสดงว่าปริมาณเชื้อในตัวเราก็น่าจะเยอะพอควร) อันนี้จะมาเล่าให้ฟังครั้งหน้าว่าอาการเราเป็นอย่างไร

Back to basic immunology อีกครั้ง

การที่จะหยุดการระบาดก็จะต้องเกิดจากการมี Herd immunity สามารถเกิดได้ 2 ทาง

  1. จากวัคซีนซึ่งก็ต้องใช้วัคซีนที่มีประสิทธิภาพและฉีดให้ทั่วถึง
  2. ให้ติดเชื้อกันให้หมด เป็น natural selection process ใครมีสุขภาพดีภูมิคุ้มกันดีก็อยู่รอด หรือ อ่อนแอก็พ่ายแพ้ไป

เราจะเลือกจะอยู่กันแบบไหน

สุดท้ายอยากฝากไปถึงผู้บริหารประเทศที่มีใจเป็นธรรมและนึกถึงประโยชน์ของเพื่อนมนุษย์คนไทยด้วยกัน โดยไม่ควรจะคิดถึงเรื่องผลประโยชน์ใดๆนอกเหนือจากการช่วยชีวิตคนไทยด้วยกันและช่วยให้บุคคลากรการแพทย์ปลอดภัย โดยให้จัดหาวัคซีนที่มีคุณภาพดีๆ เข้ามาเถอะ มาให้พอ มาช้าก็ดีกว่าไม่มาเลย (เข้าใจได้ว่าไปต่อแถวช้าแล้วจะมาแซงคิวขอวัคซีนเขามาก่อน ไม่ใหญ่จริงทำไม่ได้หรอก) แต่ถ้ามาช้าเกินไปเราอาจมี Herd immunity แบบติดเชื้อกันไปเองเรียบร้อยแล้ว

นอกจากนี้ควร Boost เข็มสามให้บุคลากรทางการแพทย์เถอะ ขอ mRNA ที่มีประสิทธิภาพดีๆ หน่อยเพราะว่าถ้า 1 คนป่วยจากโควิดแล้วก็มีผลต่อผู้ป่วยโรคอื่นๆ อีกหลายคนเลย ตัวเองคงยังไม่ต้องใช้เข็มสามไปอีกสักพักใหญ่ๆ และการจะ Boost ซิโนแวคเข็มสามเพื่อให้ภูมิคุ้มกันขึ้นไปก็ขอให้คิดหนักๆ เพราะก็คงจะ Boost ขึ้นได้ดีจริง แต่ภูมิคุ้มกันจะอยู่นานไหม (ดูจากผลเลือดของตัวเองที่ตรวจเจอว่าหลังเข็มสองก็ขึ้นไปดี 92% แล้ว แต่ก็ตกลงมาอย่างรวดเร็วเมื่อเวลาผ่านไป เพียงแค่ 2 เดือน) และข้อมูลที่ Boost เข็มสามแล้วภูมิคุ้มกันมันอยู่ได้นานเท่าไหร่ก็ยังไม่ทราบ

อย่างไรก็ตามอาจมีผู้โต้แย้งว่าเข็มแรกคนทั่วไปยังไม่ได้ฉีดเลย เราด้อยค่าซิโนแวคเกินไปไหม ขอตอบเลยว่า เราให้ค่าตามจริง ซิโนแวคอาจช่วยให้เราไม่เจ็บหนัก ไม่ตาย ถ้าไม่มีให้เลือกก็ฉีดซิโนแวค เราต้องไม่ตายก่อน แต่ก็ต้องยอมรับว่า สามารถไปแพร่เชื้อต่อให้กับคนอื่นได้อีก และการระบาดก็จะไม่หยุดยกเว้นทุกคนจะติดกันไปหมดซะก่อน โดยเฉพาะถ้าเป็นบุคลากรทางการแพทย์ที่รับเชื้อก็สามารถไปแพร่เชื้อให้คนป่วยได้

ที่มา : https://www.facebook.com/prapaporn.pisitkun

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า