Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

ศบค.ยืนยันไทยพบโอไมครอน 739 ราย กระจายไปทุกภาคของประเทศ วันนี้ติดโอไมครอนเพิ่ม 149 ราย คลัสเตอร์ใหญ่อยู่ที่ จ.กาฬสินธุ์ ขณะที่กรุงเทพฯ มีแนวโน้มพบโอไมครอนเพิ่มขึ้นอีก ด้านกระทรวงสาธารณสุขแจงรายละเอียดเขตสุขภาพติดเชื้อพบทั้ง 13 เขต

วันที่ 29 ธ.ค. 2564 นพ.ทวีศิลป์ วิษณุโยธิน โฆษกศูนย์บริหารสถานการณ์การแพร่ระบาดโควิด-19 (ศบค.) แถลงถึงสถานการณ์โควิดสายพันธุ์โอไมครอน (Omicron) ในประเทศไทยว่า กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์รายงานข้อมูลล่าสุด พบผู้ติดเชื้อโอไมครอนสะสมจำนวน 739 ราย เฉพาะวันที่ 28 ธ.ค. มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นถึง 149 ราย กระจายทั่วทุกภาพของประเทศไทย โดยเฉพาะเขตสุขภาพที่ 13 กรุงเทพมหานคร ผู้ติดเชื้อโอไมครอนถึง 273 ราย

นพ.ทวีศิลป์ กล่าวว่า คลัสเตอร์ใหญ่โอไมครอนคือ คลัสเตอร์กาฬสินธุ์ อยู่ในเขตสุขภาพที่ 7 คือ จ.กาฬสินธุ์ จ.ขอนแก่น จ.มหาสารคาม และ จ.ร้อยเอ็ด มีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นวานนี้ 98 ราย รวมสะสมอยู่ที่ 226 ราย ยืนยันว่าเชื้อของโอไมครอนขณะนี้มีการแพร่ระบาดอยู่ที่ 9% และมีแนวโน้มเพิ่มเรื่อยๆ ซึ่งทางกระทรวงสาธารณสุขจะติดตามเฝ้าระวังต่อไป

โฆษก ศบค. กล่าวว่า ที่ประชุมมีความกังวลว่า หลังเทศกาลปีใหม่อาจมีการแพร่ระบาดเชื้อโอไมครอนเพิ่มขึ้น จึงขอความร่วมมือประชาชนและภาคเอกชนให้ทำงานที่บ้านเป็นหลัก อย่างน้อย 1-14 ม.ค. 2565 เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อและสังเกตอาการตัวเอง

ส่วนผู้ที่เดินทางเข้าไทนในกลุ่มที่ลงทะเบียน Thailand Pass ปัจจุบันพบว่าผู้ที่เดินทางเข้าประเทศไทยจริงน้อยกว่าที่คาดไว้ จึงได้เน้นย้ำมาตรการว่าผู้ที่เข้ามาจะต้องได้ตรวจเชื้อแบบ RT-PCR อย่างน้อย 2 ครั้ง และต้องทำการติดตั้งแอปพลิเคชั่นหมอชนะ 100% และกำชับกระทรวงท่องเที่ยวและกีฬาฯ ให้ติดตามนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้ามาในประเทศ รวมทั้งคนไทยที่เดินทางไปต่างประเทศและจะกลับเข้ามา ก็เป็นสิ่งที่น่ากังวลที่จะต้องขอให้ดูแลตัวเองและครอบครัวด้วยการตรวจหาเชื้อแบบ ATK อย่างสม่ำเสมอ

นอกจากนี้หลังเทศกาลปีใหม่คาดว่า จะมีการระบาดมากดังนั้นผู้ที่เดินทางกลับภูมิลำเนาหรือไปท่องเที่ยว หลัง 1 มกราคม 2565 ศบค. ขอความร่วมมือให้ใช้มาตรการทำงานจากที่บ้าน หรือ WFH ในช่วงระยะเวลาวันที่ 1-14 มกราคม 2565 โดยขอความร่วมมือภาครัฐและเอกชน

 13 เขตสุขภาพพบเชื้อ ‘โอไมครอน’  19 จังหวัด ดังนี้

เขตสุขภาพที่ 1 ประกอบด้วย เชียงใหม่ 1 ราย มีประวัติสัมผัสผู้ติดเชื้อโอไมครอน และลำพูน 4 ราย สัมผัสเคสยืนยัน คลัสเตอร์กาฬสินธุ์

เขตสุขภาพที่ 7  ประกอบด้วย กาฬสินธุ์ 119 ราย ขอนแก่น 12 ราย มหาสารคาม 42 ราย ร้อยเอ็ด 50 ราย เป็นพนักงานเสริฟและคนที่มารับประทานอาหารสถานที่เดียวกัน ผู้ติดเชื้อที่กลับจากเบลเยียม สัมผัสเคสยืนยัน คลัสเตอร์กาฬสินธุ์

เขตสุขภาพที่ 8 ประกอบด้วย อุดรธานี 3 ราย สัมผัสผู้ติดเชื้อโอไมครอนที่เดินทางกลับจากเบลเยี่ยม จ.เลย 2 ราย สัมผัสเคสยืนยันโอไมครอนที่กทม. หนองคาย 2 ราย สัมผัสเคสยืนยัน และหนองบัวลำภู 1 ราย สัมผัสเคสยืนยัน คลัสเตอร์กาฬสินธุ์

เขตสุขภาพที่ 9 ประกอบด้วย สุรินทร์  1 ราย สัมผัสผู้ติดเชื้อโอไมครอนที่เดินทางกลับจากเดนมาร์ก และชัยภูมิ  1 ราย เดินทางไปพื้นที่เสี่ยง จ.ชลบุรี และกาฬสินธุ์

เขตสุขภาพที่ 10 ประกอบด้วย อุบลราชธานี 3 ราย กลับจากพื้นที่เสี่ยงไปสังสรรค์ร้านดื่มกลางคืน จ.มุกดาหาร 1 ราย กลับจากพื้นที่เสี่ยงไปสังสรรค์ร้านดื่มกลางคืน และยโสธร 1 ราย สัมผัสเคสยืนยันคลัสเตอร์กาฬสินธุ์

เขตสุขภาพที่ 11 ประกอบด้วย ภูเก็ต 2 ราย กระบี่  1 ราย ประวัติ HRC สัมผัสผู้ติดเชื้อโอไมครอน

เขตสุขภาพที่ 12 ปัตตานี  3 ราย สัมผัสผู้ติดเชื้อเดินทางมาจากการแสวงบุญ ซาอุฯ

เขตสุขภาพที่ 13 กรุงเทพฯ 2 ราย สัมผัสผู้ติดเชื้อทีเป็นสามี เป็นนักบินมาจากไนจีเรีย และเจ้าหน้าที่รัฐ เดินทางไปประชุมหลายจังหวัด

นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ กล่าวว่า ช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมาสัดส่วนการพบเชื้อโอไมครอนเพิ่มค่อนข้างเร็วจากกลุ่มเดินทางมาจากต่างประเทศ หรือกลุ่มที่มีประวัติสัมผัสกับคนมาจากต่างประเทศโอกาสที่จะเป็นเชื้อโอไมครอนจะสูงมากกว่า ใน 2 วันที่ผ่านมาที่มีการตรวจพบสายพันธุ์โอไมครอนช่วงวันที่ 27-28 ธ.ค.2564 ประมาณ 200 กว่ารายผู้ป่วยโอไมครอนส่วนใหญ่ยังมาจากต่างประเทศ ส่วนในประเทศยังพบมาจากการสัมผัสผู้ที่เดินทางเข้ามา 19 จังหวัดที่พบในประเทศไทยและเชื่อมโยงกับคนมาจากต่างประเทศ

 

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า