SHARE

คัดลอกแล้ว

จากข่าวเมื่อสัปดาห์ที่แล้ว ที่มีรายงานว่าอัตราการหย่าร้างของคู่รักในจีนพุ่งสูงขึ้นอย่างมาก โดยเชื่อกันว่าเกิดจากสาเหตุที่คู่รักใช้เวลาในช่วงโดดเดี่ยวตนเอง ซึ่งเป็นหนึ่งในมาตรการป้องกันการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่บ้านมากเกินไป

 

 

สอดคล้องกับคำกล่าวของ ไอเดน โจนส์ ผู้บริหารจากองค์กรการกุศลที่ให้คำปรึกษาด้านความสัมพันธ์ “Relate” ที่กล่าวว่า ความสัมพันธ์มีความสำคัญอย่างมากที่จะพาเราให้ผ่านพ้นช่วงเวลานี้ไปได้ แต่กลับพบว่า การโดดเดี่ยวตนเอง การเว้นระยะห่างทางสังคม และความกังวลเกี่ยวกับเรื่องเงินๆ ทองๆ อาจยิ่งสร้างแรงกดดันให้แก่คู่รักหรือคู่สามีภรรยา

 

แล้วเราควรจะทำอย่างไรเพื่อให้แน่ใจว่าภาวะความตึงเครียดจะไม่เกิดขึ้น และหากเกิดขึ้นแล้ว เราควรจะเร่งแก้ไขอย่างไร เว็บไซต์ ดิ อินดิเพนเดนต์ ได้พูดคุยกับผู้เชี่ยวชาญด้านความสัมพันธ์หลายคน จนได้คำตอบที่น่าสนใจ

 

กับคู่สมรส:

อย่า “คาดเดาเอาเอง” ว่าอีกคนจะรู้สึกอย่างไร

 

การระบาดของไวรัสเป็นสิ่งที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน ไม่เพียงแค่ในระดับสังคมเท่านั้น แต่ยังรวมถึงความสัมพันธ์ของมนุษย์ด้วย แม้เราอาจจะเคยผ่านบททดสอบที่ยากลำบากมาแล้วก่อนหน้านี้ แต่นี่ถือเป็นสิ่งใหม่สำหรับเรา แต่ อีเฟอ ดรูรี่ นักบำบัดด้านความสัมพันธ์ บอกว่า ประเด็นหลักคือการไม่ทึกทักเอาว่าอีกคนจะรู้สึกอย่างไรเกี่ยวกับทุกสิ่งที่กำลังเกิดขึ้น “บ่อยครั้งที่เรารู้สึกว่าคนอื่นกำลังมีความรู้สึกหรือมีความคิดเช่นเดียวกับที่เราคิดหรือรู้สึก”

 

“การคาดเดาจะบ่มเพาะให้เกิดความขุ่นเคืองใจ ที่นำไปสู่การคาดหวังแบบผิดๆ และสิ่งที่อยู่ตรงข้ามกับการคาดเดาก็คือบทสนทนาที่เปิดกว้างและชัดเจน ดังนั้น เราจึงควรหลีกเลี่ยงการเดาใจ เนื่องจากไม่เคยมีใครเผชิญกับการระบาดที่รุนแรงเช่นนี้มาก่อน ดังนั้น จึงไม่น่าแปลกที่เราจะรับมือกับสิ่งนี้แตกต่างกันไป

 

สื่อสารกันอยู่เสมอ

 

ในสถานการณ์ที่สับสนและเริ่มเลวร้ายลง อาจเป็นเรื่องยากที่จะมีการพุดคุยกันอย่างเปิดอก โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากเรารู้สึกกลัวและสับสน แต่ดรูรี่กล่าวว่า การพูดคุยคือกุญแจสำคัญที่ช่วยรักษาความสัมพันธ์ให้ตลอดรอดฝั่ง

 

“ความวิตกกังวลอาจสร้างการตอบสนองทางอารมณ์ในแง่ลบ ก่อให้เกิดความโกรธเกรี้ยวหรือหงุดหงิดใจ หากเราต้องเผชิญสิ่งเหล่านี้ เราจึงควรระมัดระวังการตอบสนองของเรา”

 

“หากไม่สามารถจัดการกับความสับสนและการตอบสนองได้ สิ่งที่ดีที่สุดคือการสื่อสาร ลองให้เวลาตัวเองหรือบอกคนที่เรารักว่า เรากำลังมีปัญหา และเราอาจจะแสดงท่าทีที่ดูแปลกไป นี่จะช่วยลดความเป็นไปได้ในการตอบโต้ในแบบที่อาจทำให้เรารู้สึกเสียใจไปตลอด และยิ่งเพิ่มความเครียดไปอีก”

 

เคท มอยล์ นักจิตวิทยาบำบัดด้านความสัมพันธ์ บอกว่า การสื่อสารคือสิ่งสำคัญ ลองพยายามและแสดงความชัดเจนกับอีกฝ่ายให้ได้มากที่สุดเท่าที่จะทำได้ หากเรารู้สึกหงุดหงิดหรือเครียด อาจลองใช้ “คำแถลง” ที่พูดถึงตนเอง เพื่อสื่อสารว่าเรารู้สึกอย่างไร  เช่นคำว่า “ฉันรู้สึกว่า…” ก็จะแตกต่างอย่างมากกับคำว่า “คุณทำให้ฉันรู้สึก…” เพราะเป็นเรื่องง่ายมากที่เราจะถลำเข้าสู่ “การกล่าวโทษกันและกัน” เมื่อเรากำลังรู้สึกเครียด และนั่นก็ไม่ได้ช่วยอะไรเลย

 

ยอมรับว่าสถานการณ์เหล่านี้กำลังจะถูกทดสอบ

 

ไอเดน โจนส์ บอกว่า เราจะเป็นต้องให้เวลาตัวเองได้ผ่อนคลายบ้าง เพราะนี่คือช่วงเวลาที่ไม่ปกติสำหรับทุกคน “ทำความเข้าใจว่า ไม่ว่าโลกนี้จะเต็มไปด้วยความปรารถนาดีมากเพียงใด ความขัดแย้งก็อาจเกิดขึ้นได้ และมันคือสิ่งที่เราพอจะรับมือกับมันได้ หากคุณมีแนวโน้มที่จะโต้เถียงหรือทะเลาะกัน แล้วยอมรับว่าคุณอาจส่งต่อสิ่งนั้นไปยังสิ่งที่แต่ละฝ่ายคิดเกี่ยวกับไวรัส”

 

“เราอาจต้องการรู้ให้ได้มากที่สุดว่า คู่รักของเรากำลังจะทำอะไรในแต่ละวันบ้างเมื่อสิ่งนั้นมาถึง แต่จำไว้ว่า วิธีจัดการกับสถานการณ์ที่ตึงเครียดนั้นมีอยู่อย่างมากมาย และวิธีของเราไม่ได้เป็นแค่ทางเลือกเดียว”

 

พยายามไม่สร้างการโต้เถียงที่รุนแรง

 

แม้จะเป็นเรื่องปกติที่ความตึงเครียดจะเกิดขึ้นได้ในสถานการณ์เช่นนี้  แต่เราก็ไม่ควรฉวยเอาโอกาสนี้ไปใช้เพื่อเป็นการระบายอารมณ์ ต่อปัญหาความสัมพันธ์ที่กำลังเกิดขึ้น ไอเดน โจนส์ กล่าวว่า บางเรื่องเราก็ควรเก็บไว้ เช่นการโต้เถึยง โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากมีคนใดคนหนึ่งที่ป่วยหรืออาจมีอาการ

 

“เราอาจมีผู้สูงอายุในบ้านที่มีปัญหาสุขภาพ และเราอาจรู้สึกกังวลกับคนเหล่านั้น พยายามทำความเข้าใจว่า หากคู่รักของเราจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับคนเหล่านั้นก่อนในขณะนี้ และเลือกว่าเราควรต่อสู้กับอะไร และลองชั่งน้ำหนักดูว่าหากทำแล้วคุ้มหรือไม่ในเวลานี้”

 

จงแน่ใจว่าเราไม่ได้ทำงานตลอดเวลา

 

หากเราและคู่รักกำลังประสบปัญหาเรื่องการจัดการเรื่องการทำงานจากบ้านและเรื่องความสัมพันธ์ จงลองที่จะแยก “ชีวิตที่บ้าน” และ “ชีวิตการทำงาน” ให้ออกจากกันอย่างชัดเจน มันอาจยากในช่วงแรกๆ และอาจก่อให้เกิดผลกระทบที่รุนแรงได้

 

เคท มอยล์ กล่าวว่า หากเราทำงานที่บ้าน เราจำเป็นจะต้องคอยจัดงานทั้งเรื่องงานและเรื่องบ้าน ดังนั้น จึงควรจัดเวลาให้กับงานแต่ละอย่าง เช่นเราอาจต้องทำความสะอาดบ้าน แต่ต้องกำหนดอย่างชัดเจนว่า มันควรทำนอกเหนือ “เวลางาน” หลายคนประสบปัญหาการทำงานจากบ้าน เพราะมันทำให้เราไม่สามารถทำสิ่งต่างๆ ได้อย่างเต็มที่ ดังนั้น เราจึงไม่ควรนำภาระงานในบ้าน ไปรวมกับภาระงานประจำ

 

เมอร์เรย์ แบล๊กเค็ต ที่ปรึกษาด้านคู่ชีวิต กล่าวว่า หากเราทำงานจากบ้าน พยายามกำหนดกิจวัตรประจำวันให้ชัดเจน อย่านั่งทำงานตลอดทั้งวันโดยที่ยังสวมชุดนอน หาเวลาพักเบรกกินข้าว ดื่มกาแฟ หรือควรออกไปรับออกซิเจนบ้าง เช่นการปลูกทำสวน อย่าทำงานตลอดทั้งวัน

 

มอยล์ ยังแนะนำให้คู่รักหาสิ่งหรือกิจกรรมที่สนใจร่วมกัน และทำสิ่งเหล่านั้นด้วยกัน เพื่อที่เราจะได้สามารถแบ่งบันบางอย่างด้วยกัน ไม่ใช่แค่งานบ้าน เช่นการดูซีรีส์ใหม่ๆ ในเน็ตฟลิกซ์

 

สำหรับทั้งครอบครัว:

 

กำหนดกิจวัตรประจำวัน

 

อาจเป็นเรื่องยากที่จะกำหนดกิจวัตรประจำวันหากเราต้องอาศัยในห้องสี่เหลี่ยมเล็กๆ แต่มันก็มีความสำคัญอย่างยิ่งต่อความสำเร็จในระยะยาว ดรูรี่ กล่าวว่า สมองของเราชอบอะไรที่มีแบบแผน และไม่ชอบการทำอะไรแบบสุ่มเดา”

 

ส่วนมอยล์ เห็นด้วยว่า เราควรสร้างกิจวัตรประจำวัน เพราะเด็กๆ จะตื่นเต้นกับสิ่งเหล่านี้ เช่นเดียวกับผู้ใหญ่ และมันจะท้าทายมากขึ้น หากคู่รักทั้งสองคนต้องทำงานจากบ้านเหมือนกัน ดังนั้น เราจึงควรจัดสรรเวลาในการใช้ร่วมกัน และเวลาที่เราต่างต้องทำงานของตัวเอง เช่นการดื่มกาแฟด้วยกันในช่วงบ่าย

 

ตั้งเป้าหมายสำหรับครอบครัวและความคาดหวัง

 

ดร. คาลานิต เบน-อารี นักบำบัดชีวิตคู่ กล่าวว่า ในช่วงนี้เราอาจต้องใช้เวลาร่วมกันในบ้านยาวนานขึ้น ลองหาเวลาพูดคุยกับคยในบ้าน โดยเฉพาะเด็กๆ และหารือดูว่าจะทำอย่างไรกันต่อไป

 

ยกตัวอย่างเช่น เด็กๆ อาจจะต้องทำการบ้าน หรืออาจต้องช่วยงานบ้าน เช่นการซักผ้าหรือล้างจาน และหากเราและคู่รักต่างต้องทำงานจากบ้านด้วยกันทั้งคู่ ขอให้ระวังว่า นี่คือการเปลี่ยนแปลงของข้อตกลงที่ทั้งสองคนไม่ได้เอ่ยปาก ทั้งสองควรพูดคุยถึงความคาดหวังและการเปลี่ยนแปลงหน้าที่ความรับผิดชอบใดๆ ในบ้าน

 

ดร. เบน-อารี ยังเชื่อว่า นี่คือโอกาสที่ดีที่ครอบครัวจะทำโปรเจ็คต์ร่วมกัน ซึ่งเป็นสิ่งที่อยากจะทำมานานหลายปีแล้วแต่ไม่มีเวลา เช่นการจัดอัลบั้มภาพครอบครัว ที่ทำให้ทุกคนได้ควนคิดถึงความทรงจำที่ดีในอดีต

 

ออกแบบแต่ละพื้นที่ในบ้าน

 

ลูซี่ เบเรสฟอร์ด นักจิตวิทยาบำบัด กล่าวว่า แม้เราจะอาศัยอยู่ในอพาร์ทเมนต์แบบห้องเดียว เราก็สามารถจัดแบ่งพื้นที่ เพื่อจุดประสงค์ต่างๆ ได้ เช่น พื้นที่ทำงาน พักผ่อน พื้นที่ส่วนตัว และพื้นที่ปฏิสัมพันธ์

 

“หากเราไม่ได้อาศัยเพียงคนเดียว ลองร่างภาพและกำหนดการใช้งานของแต่ละพื้นที่ เพื่อทำให้คู่รัก หรือลูกๆ ทราบว่า พื้นที่แต่ละจุดมีไว้สำหรับทำอะไร เช่น โซฟาไม่ได้มีไว้สำหรับการทำงาน”

 

มอยล์ยังเสนอให้สร้างมุมกิจกรรมต่างๆ ไว้ในลายจุด เพราะจะช่วยให้เรารู้สึกว่าเราได้ทำหลายๆ สิ่งที่แตกต่างกันไป เช่นมุมอ่านหนังสือ มุมศิลปะ มุมเล่นเกม

 

แบล็กเค็ตยังเสนอให้มีการสร้าง “เขตขอเวลานอก” จึงไม่เฉพาะสำหรับเด็กเท่านั้น “เพราะเมื่อเราต้องอยู่ใกล้ชิดกันมากๆ การหาโอกาสที่อยู่เพียงลำพังจึงสำคัญมาก เราอาจใช้ที่นี่เพื่อพักเป็นระยะเวลาสั้นๆ หรือทำสิ่งที่อยากทำเพื่อตัวเอง ไม่ว่าจะเป็นการเขียนบันทึกหรือดูรายการทีวี

 

อย่าหลีกเลี่ยงการตอบคำถาม เมื่อเด็กๆ สงสัยเกี่ยวกับโควิด-19

 

พ่อแม่หลายคนอาจรู้สึว่าไม่อยากตอบคำถามเกี่ยวกับโคโรนาไวรัสอีก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเราต้องติดอยู่ในบ้าน แต่หากเด็กมีคำถามที่ต้องการคำตอบ และเรายังปฏิเสธที่จะตอบ ก็อาจนำไปสู่ความตึงเครียดได้

 

ดรูรี่กล่าวว่า เด็กฉลาดจะเต็มไปด้วยคำถามมากมาย การเลี่ยงไม่ตอบคำถาม จะยิ่งสร้างความสับสน หงุดหงิด และวิตกกังวล ลองพูดคุยกับเด็กอย่างตรงไปตรงมาว่าตอนนี้เกิดอะไรขึ้น เตรียมพร้อมที่จะตอบคำถาม แต่ไม่จำเป็นต้องทันทีทันใด

 

ปฏิบัติต่อกันด้วยความเอื้อเฟื้อ

 

ไม่ว่าเราจะอาศัยอยู่ร่วมกับใครในช่วงของการเว้นระยะห่างทางสังคม ความสัมพันธ์ก็สามารถดีขึ้นได้หากเราเอื้อเฟื้อต่อกัน เบเรสฟอร์ด กล่าวว่า “ขอให้ตระหนักว่าทุกคนต่างก็รู้สึกเครียดเหมือนๆ กัน แม้แต่เด็กที่ดีใจที่ไม่ต้องไปเรียนหนังสือ ก็จะสัมผัสได้ว่าเกิดสิ่งผิดปกติบางอย่าง ลองแสดงความรู้สึกขอบคุณกับทุกคนที่อยู่รอบตัวในทุกๆ วัน

 

“พยายามปลอบประโลมตัวเองในสิ่งที่เราต้องเผชิญในทุกๆ วัน และเผื่อแผ่ความเอื้ออาทรให้แก่คนที่อาศัยร่วมกับเรา หากเรารู้สึกว่ากำลังไม่พอใจใครสักคน หรือกำลังตำหนิตนเอง อาจใช้เทคนิค “หายใจ 5 วินาที” ด้วยการหายใจเข้า 5 วินาที หยุดพัก 5 วินาที และหายใจออก 5 วินาที

 

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า