SHARE

คัดลอกแล้ว

ทันทีที่ราชกิจจานุเบกษา เผยแพร่ ประกาศราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ว่าด้วยเรื่องเพิ่มอำนาจให้หน่วยงานสามารถทำการนำวัคซีน ‘ซิโนฟาร์ม’ มาเป็น วัคซีนทางเลือก ที่ใช้ฉีดป้องกันโควิด-19 ให้กับประเทศไทย ทำให้เมื่อวานนี้ (27 พ.ค. 2564) ประชาชนเข้าร่วมลงทะเบียนเพื่อเข้ารับวัคซีนโควิด-19 กับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เป็นจำนวนมาก จนเว็บไซต์ล่มเป็นระยะ

ก่อนที่เวลา 16.00 น. จะมีประกาศ “เนื่องจากขณะนี้มีผู้ลงทะเบียนจองคิวเข้ารับวัคซีนโควิด-19 กับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์มาเต็มจำนวนแล้ว จึงขอแจ้งปิดรับการลงทะเบียนจองคิวเข้ารับวัคซีนโควิด-19 ผ่านระบบของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ เพื่อให้ทางราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ได้จัดสรรบริการให้กับผู้ที่ได้ลงทะเบียนผ่านระบบมาแล้วก่อนหน้านี้”

ถือเป็นการตอบรับ ‘วัคซีนทางเลือก’ ของประชาชนอย่างท่วมท้นในท่ามกลางวิกฤติโควิดระลอก 3 ในประเทศไทย แม้ว่านายอนุทิน ชาญวีรกูล รมว.สาธารณสุข จะออกมาให้สัมภาษณ์ว่า เพิ่งรู้ว่าราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เพิ่มอำนาจนำเข้าวัคซีน และให้ไปถาม นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี เอง ขณะที่บ่ายวันนี้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จะมีการแถลงข่าวเรื่องนี้

ก่อนการแถลงข่าววันนี้ workpointTODAY จะสรุปเหตุการณ์ทั้งหมดให้เข้าใจในโพสต์เดียว

1) วัคซีน ‘ซิโนฟาร์ม’ มีอยู่ด้วยกัน 2 ตัว คือ Beijing Institute of Biological Product หรือ BBIBP-CorV ซึ่งมาจากปักกิ่งประเทศจีน ซึ่งเป็นตัวที่ WHO รับรองเป็นตัวที่ 6

ส่วนวัคซีนซิโนฟาร์มตัว ที่ผลิตโดย Wuhan Institute of Biological Product ผลิตในอู่ฮั่นมีการใช้แค่เพียงประเทศจีนเท่านั้น เป็นวัคซีนซิโนฟาร์มตัวที่องค์การอนามัยโลกไม่ได้ให้การรับรอง

2) วัคซีนที่ ‘องค์การอนามัยโลก’ อนุมัติ
ที่ผ่านมา ‘องค์การอนามัยโลก’ (WHO) ได้อนุมัติวัคซีนโควิด-19 ให้ใช้ได้เป็นกรณีฉุกเฉินแล้ว 6 ยี่ห้อ ได้แก่
31 ธ.ค. 2563 : ไฟเซอร์- ไบโอนเทค (Pfizer-BioNTech)
15 ก.พ. 2564 : แอสตร้าเซนเนก้า (AstraZeneca)
15 ก.พ. 2564 : โควิชิลด์ (Covishield) ซึ่งเป็นวัคซีนแอสตร้าเซนเนก้าที่ผลิตในอินเดีย
12 มี.ค. 2564 : จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน (Johnson & Johnson)
30 เม.ย. 2564 : โมเดอร์นา (Moderna)
7 พ.ค. 2564 : ซิโนฟาร์ม(Sinopharm)

3) สำหรับ ‘ซิโนฟาร์ม’ ที่องค์การอนามัยโลกรับรองนั้นได้ยืนยันว่า วัคซีนของซิโนฟาร์ม ปลอดภัย มีประสิทธิภาพ และมีคุณภาพ โดยใช้สำหรับผู้ที่อายุเกิน 18 ปี ต้องได้รับวัคซีน 2 โดส ให้ฉีดห่างกันประมาณ 3-4 สัปดาห์ ส่วนผลข้างเคียง ปวดศีรษะ อ่อนเพลีย อาจเกิดปฏิกิริยาบริเวณที่ฉีด เช่น ปวด บวม แดง ซึ่งอาการเหล่านี้ล้วนเป็นผลข้างเคียงทั่วไปที่สามารถพบได้จากวัคซีนอื่นเช่นกัน

4) ‘ซิโนฟาร์ม’ ในไทย
ขณะที่ในประเทศไทย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ได้อนุมัติวัคซีนโควิด-19 ไปแล้ว 4 ราย ได้แก่

‘แอสตร้าเซนเนก้า’ โดยบริษัท แอสตร้าเซนเนก้า (ประเทศไทย) จำกัด และที่ผลิตในประเทศโดย บริษัท สยามไบโอไซเอนซ์ จำกัด
‘โคโรนาแวค’ ของบริษัท ซิโนแวค นำเข้าโดยองค์การเภสัชกรรม
‘จอห์นสันแอนด์จอห์นสัน’ โดยบริษัท แจนเซ่น-ซีแลค จำกัด
‘โมเดอร์นา’ โดยบริษัท ซิลลิค ฟาร์มา จำกัด

ส่วน ‘ซิโนฟาร์ม’โดยบริษัท ไบโอจีนีเทค จำกัด ยื่นเอกสารครบถ้วนแล้วอยู่ระหว่างประเมินคำขอขึ้นทะเบียน

5) ‘อนุทิน’ เพิ่งรู้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เพิ่มอำนาจนำเข้าวัคซีน
ส่วนปฏิกิริยาของนายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ได้ให้สัมภาษณ์ว่า เพิ่งทราบเรื่องราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์เพิ่มอำนาจนำเข้าวัคซีนเมื่อคืนวันที่ 26 พ.ค. ที่ผ่านมา ไม่ได้ทราบล่วงหน้ามาก่อน ดังนั้นเรื่องนี้จำเป็นต้องถาม นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ว่าหน้าที่ของราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะซ้ำซ้อนกับหน้าที่ของกระทรวงสาธารณสุขหรือไม่ เพราะการประกาศในราชกิจจานุเบกษานั้นต้องผ่านสำนักเลขาธิการคณะรัฐมนตรี

ขณะที่กำหนดการนัดแถลงข่าวเรื่องนำเข้าวัคซีนซิโนฟาร์ม กับราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ในบ่ายวันนี้ (วันที่ 28 พ.ค.2564) เป็นกำหนดการมานานแล้ว ไม่เกี่ยวกับการประกาศในราชกิจจานุเบกษา

6) ทางด้าน นายวิษณุ เครืองาม รองนายกรัฐมนตรี ออกมาชี้แจงว่า ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มีอำนาจทางกฎหมายที่จะออกประกาศแบบนี้ได้ เพื่อที่จะนำเข้า วัคซีน ยา เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์ ถ้าไม่ออกประกาศอย่างนี้มาจะไม่สามารถนำเข้าได้ แต่การนำเข้ามาต้องปฏิบัติตามกฎหมายที่มีอยู่ เช่น ขออนุญาต สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กระทรวงสาธารณสุข แต่ถ้าไม่ออกประกาศมาก็จะไม่สามารถขอยื่นอะไรได้เลย

7) ขณะที่ ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ชี้แจง กรณีราชกิจจานุเบกษาได้เผยแพร่ประกาศราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ว่าด้วยการบริหารบริการทางการแพทย์และการสาธารณสุข ในสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 สรุปว่า ประกาศนี้เป็นการประกาศตามภารกิจของราชวิทยาลัยตาม พรบ.จัดตั้งราชวิทยาลัย เป็นภารกิจปกติ ที่ดำเนินการตามกฏหมาย เพื่อเป็นเครื่องมือสนับสนุนรัฐบาลและกระทรวงสาธารณสุข ซึ่งเป็นหน่วยงานหลักของประเทศ

โดยราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์จะมาช่วยจัดหาวัคซีนตัวเลือกมาให้ เมื่อวัคซีนที่ผลิตในประเทศไทยสามารถผลิตและใช้ได้อย่างเพียงพอวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จะค่อยๆ ลดปริมาณวัคซีตัวเลือกนี้ลง

8 ) เอกสาร ‘ซิโนฟาร์ม’ เข้าไม่ถึง ‘พล.อ.ประยุทธ์-อนุทิน’
ขณะที่เมื่อวานนี้ โลกออนไลน์มีการเผยแพร่เอกสารจาก บริษัท แอคแคป แอสเซ็ทส์ จำกัด ส่งถึง ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ผู้อำนวยโรงพยาบาลจุฬาภรณ์ เรื่องการเสนอขายวัคซีนต้านโควิด-19 ยี่ห้อ ซิโนฟาร์ม จำนวน 20 ล้านโดส โดยมีเนื้อหาสรุปว่า

ที่ผ่านมาได้ติดต่อและเสนอขายวัคชีนต้านโควิด-19 ยี่ห้อซิโนฟาร์ม จำนวน 20 ล้านโดสให้แก่รัฐบาลไทย โดยสามารถเริ่มดำเนินการจัดส่งได้ภายในระยะเวลา 2 สัปดาห์ นับจากวันที่มีการลงนามในสัญญาซื้อขายและชำระเงินเรียบร้อยแล้ว แต่ตลอดระยะเวลากว่า 1 เดือนที่ผ่านมา บริษัทฯ ก็ไม่สามารถที่จะเข้าถึง หรือเข้าพบเพื่อนำส่งเอกสารพร้อมนำเสนอวัคชีนยี่ห้อ และจำนวนดังที่กล่าวมาข้างต้นได้

9) เลขาฯ ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ยันยังไม่เห็นหนังสือเสนอขายวัคซีน
หลังจากมีการเผยแพร่เอกสารดังกล่าว ศ.นพ.นิธิ มหานนท์ เลขาธิการราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ ออกมาโพสต์ผ่านเฟซบุ๊ก สรุปว่า เห็นหนังสือนี้ร่อนไปทั่วบนระบบออนไลน์ โดยที่คนที่หนังสือนี้ส่งถึงยังไม่ได้เห็นหนังสือตัวเป็นๆ

พร้อมระบุว่า ที่ผ่านมา จากที่พยายามช่วยหาวัคซีนตัวเลือกมาเพิ่มเติมระยะหนึ่ง มีบริษัทหรือกลุ่มคนมากมายที่อ้างว่าเป็นตัวแทนของวัคซีนต่างๆมากกว่าสิบกลุ่ม แต่ตัวแทนที่สมบูรณ์ ต้องได้รับ dossier (รายละเอียดรายการประกอบยาและการผลิต) จากบริษัทเจ้าของเพื่อขอใบอนุญาตจาก อย.

โดยบริษัทผู้ผลิตวัคซีนโควิด-19 จะติดต่อกับรัฐบาลหรือตัวแทนรัฐบาลก่อนเท่านั้น เป็นเหมือนกันทุกบริษัททั่วโลก เพราะเป็นการใช้ในภาวะฉุกเฉิน จะไม่ติดต่อกับเอกชนเป็นรายๆ หรือติดต่อคุยด้วยก็จะไม่ให้ dossier เพื่อยื่นขอใบอนุญาต ดังนั้นบริษัทหรือกลุ่มตัวแทนใดที่บอกว่าเป็นตัวแทนหรือมีวัคซีนเป็นล้านๆ โดส โดยไม่มี dossier ที่ต้นทางจัดให้ ถือว่าไม่ใช่ตัวแทนที่สมบูรณ์

อย่างไรก็ตาม บ่ายวันนี้ราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ จะมีการแถลงข่าวเรื่อง ‘แนวทางการจัดสรรและนำเข้าวัคซีนทางเลือกซิโนฟาร์ม’ ร่วมกับกระทรวงสาธารณสุข และสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) คงต้องรอดูว่าบทสรุปของวันนี้จะเป็นไปในทิศทางใด

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า