Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กระทรวงสาธารณสุข แถลงพบผู้ติดเชื้อโควิด-19 เพิ่ม 35 ราย รวมป่วยสะสม 212 รักษาหายให้กลับบ้านจำนวน 42 ราย พร้อมการตรวจรักษาโควิด-19 ของภาคประชานให้ไปที่โรงพยาบาลที่มีสิทธิ์ในการตรวจรักษาก่อน หากฉุกเฉินไปโรงพบาลเอกชนไม่ต้องจ่ายเงินรัฐบาลจะรับผิดชอบเอง

วันที่ 18 มี.ค.2563 นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค พร้อมคณะร่วมกันแถลงความคืบหน้าสถานการณ์โรคโควิด-19 โดยวันนี้มีผู้ป่วยรักษาหายกลับบ้านเพิ่ม 1 ราย เป็นหญิงไทยอายุ 31 ปี จากโรงพยาบาลราชวิถี ขณะที่มีผู้ป่วยรายใหม่เพิ่มขึ้นอีก 35 ราย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ

กลุ่ม 1 ผู้ป่วยที่มีประวัติสัมผัสกับผู้ป่วย หรือเกี่ยวข้องกับสถานที่ที่พบผู้ป่วยก่อนหน้านี้ จำนวน 29 ราย ได้แก่ สนามมวย 13 ราย, สถานบันเทิง 4 ราย และผู้สัมผัสกับผู้ป่วยที่มีรายงานมาแล้ว 12 ราย
กลุ่ม 2 ผู้ป่วยรายใหม่  6 ราย ได้แก่ ผู้เดินทางกลับจากต่างประเทศ 1 ราย,  คนไทยกลับจาก กัมพูชา, ผู้ทำงานใกล้ชิดสัมผัสต่างชาติ 4 ราย และรอผลสอบสวนโรคเพิ่มเติม 1 ราย

ส่วนผู้ป่วยอาการหนักมีเพิ่มขึ้น 2 ราย เป็นชายไทย อายุ 49 ปี เริ่มป่วยเมื่อวันที่ 8 มีนาคม 2563 ด้วยอาการไข้ ปวดกล้ามเนื้อ หนาวสั่น ตรวจพบปอดอักเสบ การทำงานของไตผิดปกติ อยู่หอผู้ป่วยวิกฤติ ที่โรงพยาบาลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี ใส่ท่อช่วยหายใจ วันนี้เตรียมล้างไต ได้รับยาต้านไวรัสเป็นที่เรียบร้อยแล้ว, รายที่ 2 เป็นชายชาวเบลเยี่ยม อายุ 67 ปี เดินทางมาจากประเทศเบลเยี่ยม ตรวจพบปอดอักเสบ และมีภาวะวิกฤติระบบทางเดินหายใจเฉียบพลัน (ARDS) ใส่ท่อช่วยหายใจ ได้รับยาต้านไวรัสเป็นที่เรียบร้อยแล้ว รักษาตัวที่โรงพยาบาลในจังหวัดเพชรบูรณ์ ส่วนอีก 1 รายที่ สถาบันบำราศนราดูร ยังต้องเฝ้าระวังอย่างใกล้ชิด

นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมควบคุมโรค

สำหรับกลุ่มที่เดินทางกลับจากประเทศอิตาลี ที่ฐานทัพเรือสัตหีบ จ.ชลบุรี 83 คน มี 6 คน รับตัวไว้ที่โรงพยาบาล ทั้งหมดไม่มีไข้ ผลการตรวจทางห้องปฏิบัติการทุกคน ไม่พบเชื้อ ยังต้องเฝ้าระวังสังเกตอาการ จนครบ 14 วัน

นพ.สุวรรณชัย กล่าวว่า ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมามีรายงานผู้ป่วยเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว เป็นผลมาจากการคัดกรองครอบคลุมไปยังกลุ่มคนและสถานที่ที่คาดว่าเป็นจุดเริ่มต้นของการระบาด สอดคล้องกับรายงานการสอบสวนโรคที่พบว่า ผู้ป่วยรายใหม่ที่พบมีประวัติเสี่ยง ไม่ให้ความร่วมมือปฏิบัติตามคำแนะนำของกระทรวงสาธารณสุข ยังคงเดินทางไปพื้นที่เสี่ยง ไปในสถานที่ที่มีคนแออัด สังสรรค์ ไม่ลดกิจกรรมทางสังคม ไม่เว้นระยะห่างระหว่างบุคคล ไม่กักกันตัวเองอย่างเคร่งครัด เมื่อป่วยทำให้นำโรคไปติดคนใกล้ชิดในครอบครัวเพื่อนสนิท ที่สำคัญโรคนี้มีความรุนแรงในกลุ่ม ผู้สูงอายุ เด็กเล็ก ผู้มีโรคประจำตัว หากสถานการณ์ยังเป็นเช่นนี้ต่อไป การระบาดของโรคในประเทศจะเป็นวงกว้าง จนไม่สามารถควบคุมได้

“ขอให้ผู้ที่เข้าไปในสนามมวยลุมพินี และสนามมวยราชดำเนิน ตั้งแต่วันที่ 6 – 8 มีนาคม 2563 รวมทั้งผู้ที่เข้าไปในสถานบันเทิง ร้านอาหารยามค่ำคืน ในพื้นที่กรุงเทพมหานคร ระหว่างวันที่ 9-10 มีนาคม 2563 ซึ่งเป็นช่วงเวลาที่กระทรวงสาธารณสุขพบผู้ป่วยยืนยันในพื้นที่ดังกล่าว สังเกตอาการตนเองเป็นเวลา 14 วัน หากมีไข้ ร่วมกับอาการไอ เจ็บคอ น้ำมูก หายใจลำบาก อย่างใดอย่างหนึ่ง ให้ไปรับการตรวจรักษาที่สถานบริการสาธารณสุขใกล้บ้านทุกสังกัดได้ฟรี” อธิบดีกรมควบคุมโรค กล่าว

ด้านนพ.ธเรศ กรัษนัยรวิวงค์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กล่าวถึงสิทธิ์การเข้าตรวจรักษาโควิด-19 ที่กำลังเป็นประเด็นในสังคมว่า ตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขที่กำหนดผู้ป่วยฉุกเฉิน มีผลบังคับใช้เมื่อวันที่ 5 มี.ค.2563 มีการกำหนดชื่อโรค และกำหนดว่า สถานพยาบาลภาคเอกชนทุกแห่ง ต้องมาช่วยกัน ในการระดมทรัพย์กรมาดูแลภาคประชาชน และมาจัดทำระบบส่งต่อที่เป็นมาตรฐาน เพื่อเป็นการบรรเทาเรื่องของความเดือดร้อนและเพื่อความเข้าถึงการบริการของประชาชนทางกระทรวงสาธารณสุขได้นัดหมายกับภาคส่วนที่เกี่ยวข้องและมีการหารือกันมีมติว่า

  1. กรณีที่ประชาชนใช้สิทธิ์ซึ่งเมื่อเจ็บป่วยด้วยโรคโควิด-19 ถือเป็นโรคติดต่ออันตราย ตามกฎหมายว่าด้วยโรคติดต่อ ถือเป็นผู้ป่วยฉุกเฉิน ตาม พ.ร.บ.สถานพยาบาลซึ่งต้องได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานพยาบาล หลักการขอให้เลือกสถานพยาบาลตามสิทธิ์ก่อน เช่น สิทธิประกันสังคม สิทธิ์หลักประกันสุขภาพ สิทธิ์สวัสดิการราชการ แต่อย่างไรก็ตามหากมีความจำเป็นหรือสถานการณ์ฉุกเฉินก็สามารถใช้สิทธิ์ที่ใดก็ได้รวมทั้งสถานพยาบาลเอกชน
  2. หลักการ เงื่อนไขเรื่องค่าใช้จ่าย สำหรับสถานพยาบาลเอกชน
    – ผู้ป่วยต่างชาติ ต้องเป็นการใช้สิทธิ์ประกันสุขภาพของชาวต่างชาติเอง ไม่สามารถใช้สิทธิ์กรณีฉุกเฉินนี้ได้
    – กรณีคนไทยในที่ประชุมให้หลักการไว้ว่า ถ้าหากประชาชนกรณีที่ไปใช้สิทธิ์ ไปใช้สถานพยาบาลเอกชน กรณีมีประกันสุขภาพเอกชนก็ให้ใช้สิทธิ์ประกันสุขภาพเอกชนส่วนตัวก่อน ส่วนที่เหลือจะเป็นการสนับสนุนจากภาครัฐ

สำหรับประชาชนที่ไม่มีประกันสุขภาพให้ใช้กลไกแนวทางในการจ่ายคล้ายๆ กับผู้ป่วยฉุกเฉินวิกฤติ โดยจะต้องมีการหารือกันทั้ง 3 กองทุน ว่าค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้นจะจัดสรรกองทุนหรือว่าจะเป็นงบฯ กลาง
ขณะนี้หลักการกำหนดไว้แบบนี้ และให้กระทรวงสาธารณสุขกับกระทรวงพาณิชย์ช่วยกันตั้งคณะทำงานเพื่อยกร่างรายละเอียดแนวทางการจ่ายเงิน

สำหรับประชาชนที่เจ็บป่วย เพื่อป้องกันการไปแออัดในบางที่ ขอให้ท่านกระจายไปใช้สิทธิ์ตามสิทธิ์ที่ตัวเองมีก่อนและถ้าจำเป็นค่อยไปสถานพยาบาลเอกชน ในส่วนของสถานพยาบาลภาคเอกชนก็ขอว่าเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนในเรื่องของค่าใช้จ่ายก็ขอให้เก็บไว้ เมื่อหลักเกณฑ์การเบิกจ่ายเรียบร้อยผ่านความเห็นของ ครม. แล้วก็ให้นำค่าใช้จ่ายที่ไม่เก็บจากภาคประชาชนมาเก็บตามเงื่อนไขนั้น อันนี้ก็จะเป็นเรื่องที่เพื่อบรรเทาภาวะความเดือดร้อนและความต้องการของประชาชนในช่วงนี้

  • เมื่อถามว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มาจากสนามมวย รู้ต้นตอหรือยัง จัดการอย่างไรเพราะเริ่มกระจายไปต่างจังหวัดแล้ว

นพ.โสภณ เอี่ยมศิริถาวร ผู้อำนวยการกองโรคติดต่อทั่วไป กล่าวว่า ต้องพยายามตัดต้นตอการแพร่ระบาด ให้ผู้สัมผัสใกล้ชิดมาตรวจเกือบทั้งหมดแล้ว แยกกัก แม้ผลเป็นลบก็ให้กักตัว 14 วัน ผู้ป่วยที่พบเกี่ยวข้องกับสนามมวย 40 คน ส่วนใหญ่อยู่ กทม. คนที่ไปต่างจังหวัดได้ติดตามแล้ว จากการตรวจสอบพบว่า 6 มี.ค.63 เริ่มรับเชื้อและทยอยป่วย ตอนนี้ยังไม่พบป่วยเพิ่ม ระยะแพร่เชื้อ 14 วัน การตามหาผู้ป่วยรายแรก เนื่องจากวันเกิดเหตุมีความยากในการตรวจสอบเพราะมีทั้งคนไทยและต่างชาติ มีข้อมูลแล้วส่วนหนึ่งแต่ยังไม่สามารถสรุปรายละเอียดได้ ย้ำผู้ที่อยู่ในสนามมวยในวันเกิดเหตุขอให้สังเกตตัวเอง มีไข้ เจ็บป่วย ให้รีบไปพบแพทย์

  • กรณีแพร่กระจายที่ฉะเชิงเทรา จำเป็นต้องปิดเมืองหรือไม่

ตามหลักการมี 2 ส่วน คือ ควบคุมโรค และ รักษาผู้ติดเชื้อ ตอนนี้ดำเนินการแล้ว ผู้สัมผัสบุคคลดังกล่าวให้ตั้งสติและปฎิบัติตนตามคำแนะนำของสาธารณสุข หากป่วยให้รีบไปหาหมอ การควบคุมและป้องกันพื้นที่ ผู้ว่าราชการจังหวัด มีอำนาจในการดำเนินการตามกฎหมายคือ ปิดพื้นที่เสี่ยง พื้นที่เกิดโรคได้

  • ถ้าไม่มีการปิดเมืองคาดการณ์ว่ายอดผู้ป่วยจะเพิ่มขึ้นหรือลดลงเท่าใด

ตอนนี้ผู้ที่ติดเชื้อคือ ผู้สัมผัสที่ สธ.ไปค้นหา มาตรการที่สั่งให้ปิดพื้นที่ กรณีที่มีเชื้อจะถูกทำความสะอาด และลดให้คนไม่ติดเชื้อไปติดเพิ่ม ช่วงนี้อาจมีผู้ป่วยเพื่ม แต่หลังจาก 14 วันไปแล้วสถานการณ์จะดีขึ้น ปัจจัยไม่ได้อยู่ที่การสั่ง แต่อยู่ที่ความร่วมมือจากทุกคน

  • ค่ารักษาพยาบาล หากไม่ได้ไปรักษาตามสิทธิ์ ถ้าไป รพ.เอกชน จะทำอย่างไร  เบื้องต้นขอให้ รพ.เอกชน รวบรวมค่าใช้จ่ายโดยทางรัฐจะดำเนินการจ่ายค่าชดเชยให้

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า