SHARE

คัดลอกแล้ว
วันที่ 2 ก.ค. 2564 ที่กระทรวงสาธารณสุข มีการเสวนาในหัวข้อ ‘วัคซีนโควิด ไทยจะเดินต่อไปอย่างไร’ ซึ่งมีผู้เชี่ยวชาญมาร่วมวิเคราะห์สถานการณ์โควิด-19 ที่เข้าขั้นวิกฤตและคาดการณ์ว่ายอดผู้เสียชีวิตสะสมในอีก 3 เดือนข้างหน้าจะพุ่งสูงกว่า 2,000 ราย
นพ.คำนวณ อึ้งชูศักดิ์ นายแพทย์ผู้ทรงคุณวุฒิผู้เชี่ยวชาญด้านระบาดวิทยา ที่ปรึกษาด้านวิชาการรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ผู้เชี่ยวชาญลงความเห็นกันว่าสถานการณ์โควิด-19 จะแย่กว่าเดิมในช่วง 2-3 เดือนข้างหน้า เนื่องจากสายพันธุ์อินเดีย (เดลตา) เข้ายึดทุกภาคของไทยแล้วขณะนี้
จะเห็นได้ว่ามีคลัสเตอร์ใหม่เกิดขึ้นจำนวนมาก ซึ่งสายพันธุ์เดลตาสามารถแพร่เชื้อและติดต่อได้เร็วกกว่าสายพันธุ์อังกฤษ (อัลฟา) กับสายพันธุ์แอฟริกา (เบตา) ถึง 1.4 เท่า จนทำให้เดือน มิ.ย. ที่ผ่านมามีผู้เสียชีวิตทั้งเดือน 992 ราย จนกลายเป็นภาระอันหนักหน่วงของแพทย์ พยาบาล และคาดการณ์ว่าจะมีผู้เสียชีวิตในเดือน ก.ค. ประมาณ 1,400 ราย เดือน ส.ค. ประมาณ 2,000 ราย และเดือน ก.ย. อีกประมาณ 2,800 ราย
“ต้องยอมรับแล้วว่าเราไม่รอดกันแล้ว ขอเสนอแนวทางไปถึง ศบค. นายกรัฐมนตรีและผู้บริหารที่เกี่ยวข้องทุกท่าน เพื่อกู้วิกฤตให้สถานการณ์กลับมาดีขึ้น โดยการใช้แผนยุทธศาสตร์มุ่งเป้าฉีดวัคซีนให้กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้มีโรคประจำตัว แทนการฉีดแบบปูพรมที่ใช้อยู่ในปัจจุบัน”
เนื่องจากสถิติผู้เสียชีวิต 80% พบว่าเป็นผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัวมากที่สุด จึงจำเป็นต้องปรับแผนยุทธศาสตร์การฉีดวัคซีนโดยไม่ต้องสนใจเรื่องยี่ห้อวัคซีน และตั้งข้อสังเกตว่าแผนการฉีดแบบปูพรมให้คนไทยได้รับวัคซีน 70% มั่นใจหรือไม่ว่าจะสร้างภูมิคุ้มกันหมู่ได้จริง เพราะนักวิชาการหลายคนยืนยันว่าเป็นไปไม่ได้หากจะสร้างภูมิคุ้มกันที่ดีต้องใช้วัคซีนที่ประสิทธิภาพ ถ้าอยากลดอัตราการเสียชีวิตต้องเปลี่ยนยุทธศาสตร์ เราต้องสร้างขีดความสามารถในการฉีดวัคซีนให้ได้อย่างรวดเร็วเพราะสายพันธุ์เดลตา แพร่ระบาดเร็วมากขึ้น
พร้อมระบุว่า ทุกประเทศมีข้อจำกัดเรื่องปริมาณวัคซีน ไม่เว้นแม้แต่ สหรัฐฯ อังกฤษ ยุโรป แต่ประเทศเหล่านี้ใช้ยุทธศาสตร์การลดป่วยลดตายก่อนด้วยการฉีดให้กับผู้สูงอายุและผู้มีโรคประจำตัว ประเทศไทยฉีดวัคซีนได้ถึงเดือนละ 10 ล้าน แต่ในจำนวนนี้เราฉีดให้กลุ่มผู้สูงอายุและกลุ่มผู้มีโรคประจำตัวได้แค่ 10% เท่านั้น หากยังใช้แผนฉีดแบบปูพรมจะต้องใช้เวลานานกว่า 5 เดือน จึงจะฉีดให้คนกลุ่มนี้หมดและจะมีผลกระทบไปถึงปัญหาวิกฤตเตียงเต็ม รวมถึงผลกระทบปัญหาวิกฤตเศรษฐกิจซ้ำเติมไปยิ่งกว่าเดิม จึงเสนอว่าเปลี่ยนเอาวัคซีนที่มีอยู่ขณะนี้ ถึงแม้จะมีอย่างจำกัดไม่ถึง 10 ล้านโดสต่อเดือนแต่ถ้าใช้ยุทธศาสตร์ที่ถูกต้องก็จะก้าวข้ามวิกฤตนี้ไปได้ จำนวนกลุ่มผู้สูงอายุและมีโรคประจำตัว ขณะนี้มีอยู่ 17.5 ล้านคน ตอนนี้ฉีดไปแล้ว 2 ล้านคน โดยตั้งเป้าหมายไว้ว่าจะต้องฉีดให้จบภายในเดือนสิงหาคม
“อยากสรุปว่า ผู้บริหาร นายกฯ ศบค. รัฐมนตรี ผู้ว่าราชการทุกจังหวัด จะได้โควตาวัคซีนไป คำถามอยู่ที่ว่าจะฉีดให้ใครก่อน สองทางเลือก ถ้าทางเลือกแรกปูพรมฉีดก่อนเอาหลายๆจุดหมาย จำนวนผู้ป่วยเกินที่จะรับไหว แต่ถ้าทุกคนเห็นตรงกันว่าเอาวัคซีนให้คนสูงอายุ พ่อแม่ก่อน เอาวัคซีนให้ลุง ป้า ตาย ยาย ก่อน กลุ่มผู้มีโรคประจำตัวก่อน นักวิชาการพิสูจน์แล้ว ประเทศอังกฤษ สหรัฐฯ เขาทำแบบนี้ ถ้าเราทำแบบนี้เราจะสามารพถจะมีวัคซีนเพียงพอ เผื่อแผ่ให้กับแรงงานต่างชาติได้อีกด้วย เผื่อ ศบค. นายกฯ จะพิจารณาเพราะไม่จำเป็นต้องใช้เงินเพิ่มเติมเพียงแต่เปลี่ยนยุทธศาสตร์” นพ.คำนวณ กล่าว
ขณะที่ นพ.นคร เปรมศรี ผอ.สถาบันวัคซีนแห่งชาติ กล่าวถึงสถานการณ์วัคซีนในประเทศไทย ซึ่งมีการเตรียมพร้อมตั้งแต่การวางแผนจัดหาและการจัดหามาโดยตลอดควบคู่กับขยายกำลังการฉีดวัคซีน เดือน มิ.ย. สามารถฉีดวัคซีนได้ถึง 10 ล้านโดส แต่ช่วงที่มีความจำกัดของจำนวนวัคซีนก็พยายามหาทุกแหล่ง โดยเฉพาะช่วงที่ผ่านมาการจัดหาวัคซีน ‘ซิโนแวค’ เพื่อทยอยฉีดให้กับประชาชน ตั้งแต่เดือน ก.พ. – มิ.ย. 2564 สามารถหามาได้ประมาณ 9.5 ล้านโดส เพื่อทดแทนวัคซีน ‘แอสตร้าเซนเนก้า’ ที่จำนวนที่เรามีไม่เพียงพอต่อความต้องการฉีด ซึ่งกรมควบคุมโรคได้ส่งแผนความต้องวัคซีนไปให้บริษัทผู้ผลิตแอสตร้าเซนเนก้า เดือน มิ.ย. 6 ล้านโดส เดือน ก.ค. 10 ล้านโดส และเดือน ส.ค. ประมาณ 10 ล้านโดส
ด้าน นพ.ทวี โชติพิทยสุนนท์ ผู้ทรงคุณวุฒิในคณะกรรมการโรคติดต่อแห่งชาติ กล่าวว่า วัคซีน mRNA ผลการกระตุ้นภูมิคุ้มกันดีมีประสิทธิภาพ ทั้ง ไฟเซอร์ และ โมเดอร์นา ซึ่งเราก็อยากได้แต่ประเด็นอยู่ที่ว่าพบปัญหาการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิด-19 ไปเรื่อยๆ อย่างรวดเร็ว สำหรับไทยตอนนี้สายพันธุ์เดลตา กำลังเปลี่ยนรุกคืบ สรุปแล้ววัคซีน ซิโนแวค ประสิทธิภาพใช้ได้ป้องกันให้หายป่วยและเสียชิวิตได้ ถึงแม้ว่ายังมีคนติดเชื้ออยู่บ้างหลังจากฉีดวัคซีนซิโนแวคครบแล้ว
“ผมชอบยกตัวอย่างเหมือนกับพายุฝนกำลังมามีอะไรพอป้องกันได้คว้าร่มอันไหนมาได้ก็เอาเถอะ แม้ว่าจะเปียกปอนนิดหน่อยก็ไม่เป็นไร” นพ.ทวี กล่าว

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า