SHARE

คัดลอกแล้ว

คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล ชี้สถานการณ์โควิด-19 ในไทย น่าห่วง พบคนติดเชื้อส่วนใหญ่อายุน้อยลง และเสียชีวิตเพิ่มขึ้น หวั่นเชื้อกลายพันธุ์ เผย สายพันธุ์บราซิล น่ากลัวสุด ขอทุกคนช่วยหยุดเชื้อด้วยตัวเอง สิ่งที่ดีที่สุดคือ การฉีดวัคซีน

ศาสตราจารย์ ดร. นายแพทย์ ประสิทธิ์วัฒนาภา คณบดีคณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล มหาวิทยาลัยมหิดล ระบุว่า ขณะนี้มีการกลายพันธุ์ของเชื้อโควิดที่สำคัญคือ B1.1.7 ซึ่งเป็นสายพันธุ์ของสหราชอาณาจักร เมี่อเทียบกับสายพันธุ์เดิมจะพบว่า มีการแพร่กระจายได้เร็วขึ้น และจากเดิมพบว่า ไม่เพิ่มความรุนแรง แต่รายงานล่าสุด สหราชอาณาจักร แสดงให้เห็นว่า อาจทำให้เสียชีวิตเพิ่มขึ้น ซึ่งสายพันธุ์นี้เข้ามาไทยแล้ว ส่วนสายพันธุ์แอฟริกา B 1.351 พบว่า แพร่กระจายเร็ว แต่ข้อมูลล่าสุดไม่เพิ่มความรุนแรง และยังพบว่า วัคซีนที่ใช้อยู่ทั้งแอสตร้าเซนเนก้ส และไฟเซอร์ ครอบคลุมสายพันธุ์นี้ในสัดส่วนค่อนข้างดี

นอกจาก สายพันธุ์อังกฤษ สายพันธุ์แอฟริกา ที่มีการระบาดในหลายประเทศ  ตอนนี้ต้องเฝ้าระวังจับตาในสายพันธุ์บราซิล ซึ่งเป็นสายพันธุ์ใหม่ ที่พบในบราซิล คือ P.1 พบครั้งแรกเดือน ม.ค. 2564 และพบในญี่ปุ่น ซึ่งแพร่กระจายเร็ว และมีหลักฐานว่า เกิดการติดเชื้อซ้ำได้ ซึ่งไม่ได้หมายความว่าสายพันธุ์อื่นไม่ติดเชื้อซ้ำ

รวมทั้ง ยังกล่าวว่า สายพันธุ์บราซิล P.1 เป็นสายพันธุ์ที่แพร่กระจายได้เร็ว และขณะนี้แพร่กระจายไปหลายประเทศ เช่น สหรัฐ สหราชอาณาจักร โดยปลายเดือน มี.ค. ตรวจพบสายพันธุ์ P.1 ที่สหรัฐฯ และพบว่า ภายใน 7 สัปดาห์ สายพันธุ์ P.1 กลายเป็นสายพันธุ์ที่พบมากถึง 87% ที่ระบาดในบราซิล ซึ่งสายพันธุ์นี้เชื่อว่า รุนแรงกว่าสายพันธุ์อื่นๆ

นอกจากนี้ ในสหรัฐอเมริกา มีสายพันธุ์ B.1427 และ B. 1.429 พบที่สหรัฐ อาจสัมพันธ์กับการแพร่ระบาดเร็ว ส่วนอินเดีย B.1.617 พบ ในอินเดียยังต้องศึกษา เพราะรายละเอียดยังน้อย

ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องระวังในไทยคือ การกลายพันธุ์โควิด19 ซึ่งเข้ามาในไทยแล้วคือ สายพันธุ์อังกฤษ และรอบนี้มีผู้ป่วยหนักชัดเจน เช่น ศิริราชคนไข้ที่เข้ามา 1 ใน 4 มีภาวะปอดอักเสบ และจำนวนคนไข้ที่ต้องใส่ท่อช่วยหายใจเพิ่มขึ้นชัดเจน และเกิดแบบนี้ทั่วประเทศ พบ คนไข้ปอดอักเสบ เพิ่มขึ้น 1 ใน 4 ใช้เครื่องช่วยหายใจเพิ่มขึ้น อัตราเสียชีวิตจะเพิ่มขึ้น และเมื่อมีจำนวนผู้ป่วยหนักแบบนี้ จะเจอผู้เสียชีวิตตัวเลข 2 หลัก ซึ่งสัมพันธ์กับผู้ป่วยเพิ่มขึ้น และรอบนี้จะเห็นว่า ผู้เสียชีวิต มีอายุน้อยลง เฉลี่ย 20-30 ปี อย่าคิดว่า อายุไม่มากไม่เสียชีวิต และคนป่วยอาการหนักเสียชีวิต เพียง 7-10 วันเท่านั้น

นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า ที่สำคัญคือ เมื่อผู้ป่วยเพิ่มขึ้น ผู้ป่วยหนักเพิ่มทำให้ความต้องการใช้ไอซียูเพิ่มมากขึ้น จนอาจเกิดเหตุการณ์เตียงไอซียูไม่เพียงพอความต้องการ ซึ่งขณะนี้ได้พยายามขยายเตียงเต็มที่ แต่คนที่จะมาดูแลไม่สามารถเพิ่มขึ้นได้ในเวลารวดเร็ว เพราะต้องใช้ผู้เชี่ยวชาญ

ส่วนยาที่ต้องใช้ในผู้ป่วย คือ ฟาวิพิราเวียร์ ต้องให้เร็วทันที ซึ่งมีการใช้ยาเพิ่มขึ้นทั่วโลก ทำให้เกิดการแย่งชิงสั่งซื้อ หรือคุมการจำหน่ายของประเทศผู้ผลิต ยาบางตัวที่อินเดียผลิตเก็บไว้ใช้ในประเทศตัวเองแล้ว ทรัพยากรไม่เพียงพอกับความต้องการ อย่างเครื่องช่วยหายใจสำหรับรายที่อาการหนักมากๆ จะอยู่ในช่วงขาดแคลนได้

เช่นเดียวกันที่ องค์การอนามัยโลก ได้ออกคำเตือน ระบุว่า 8 สัปดาห์ ของการเกิดการติดเชื้อโควิด-19 ที่ผ่านมา มีการติดเชื้อเพิ่มขึ้น เช่นเดียวกับ อัตราการเสียชีวิต ที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องติดต่อกันถึง 5 สัปดาห์

โดยขณะนี้มีผู้เสียชีวิตจากโควิด-19 กว่า 3 ล้านคน  โดย 1 ล้านคนแรก ใช้ระยะเวลา 9 เดือน จากนั้น 1 ล้านคน ถัดมา ใช้เวลาแค่ 4 เดือน และอีก 1 ล้านคน ใช้เวลาเพียง 3 เดือนเท่านั้น ถือว่าในช่วงที่ผ่านมาอัตราการเสียชีวิตเร็วขึ้น รวมถึงผู้ติดเชื้อโควิด-19 มีอายุน้อยลง สอดคล้องกับประเทศไทย ที่พบว่า ที่ผ่านมาช่วงอายุที่ติดเชื้อมากขึ้น อยู่ที่ 20-39ปี

สาเหตุที่ทำให้ผู้ติดเชื้อมีอายุน้อยลงนั้น องค์การอนามัยโลก สังเกตว่า เนื่องจาก ผู้สูงอายุได้รับการฉีดวัคซีน และมีการป้องกันตัวเอง อยู่บ้าน แต่ขณะเดียวกันคนกลุ่มหนุ่มสาวที่ยังต้องออกไปทำงานนอกบ้าน หรือไปทำกิจกรรมข้างนอก อาจจะเป็นกลุ่มที่ทำให้มีความเสี่ยงในการติดเชื้อ

นายแพทย์ประสิทธิ์ ย้ำว่า วัคซีนยังคงเป็นเครื่องมือสำคัญในการจัดการกับการแพร่ระบาด การฉีดวัคซีน จะเห็นผลเมื่อประชากรอย่างน้อยร้อยละ 25 ได้รับการฉีดวัคซีน ซึ่งการฉีดวัคซีนได้เร็วและฉีดได้มาก จึงเป็นสิ่งจำเป็นวัคซีนที่มีการใช้ในปัจจุบันมีความปลอดภัยสูง

พร้อมทั้ง ขอให้ทุกคนตระหนักถึงความเสี่ยง ต่อไปหากมีวันหยุดยาวในมากขึ้น ซึ่งในช่วงสงกรานต์หยุดยาวที่ผ่านมา เป็นการตอกย้ำ ถึงความเสี่ยง คือ บุคคลเสี่ยงสถานที่เสี่ยง กิจกรรมเสี่ยง และช่วงเวลาเสี่ยง ที่ทำให้เกิดการแพร่ระบาด จึงอยากให้เป็นบทเรียนเตือนทุกคนถึงความเสี่ยงที่นำมาสู่การแพร่ระบาด จึงเป็นที่มา ของตัวเลขที่เห็นผู้ติดเชื้อ 2 พันกว่าคน เกิดขึ้นเมื่อช่วง 1-2 สัปดาห์ที่ผ่านมา ที่มีการทำกิจกรรม หรือการไปสถานที่เสี่ยง

นพ.ประสิทธิ์ กล่าวว่า จากข้อมูลของทั่วโลก พบว่า เครื่องมือที่ดีที่สุดในการคุมโรคตอนนี้คือ การฉีดวัคซีน และยังต้องเคร่งครัดการปฏิบัติตนพื้นฐานป้องกันโรคด้วย พร้อมห่วงเรื่องการลักลอบเข้าเมือง โดยคนกลุ่มนี้มักหนีตายจากโรคในประเทศของตัวเองเข้าไทย โดยย้ำว่า การปล่อยให้มีกลุ่มคนหลุดรอดเข้ามา เพิ่มความเสี่ยงของเชื้อกลายพันธุ์ ที่อาจพบได้ โดยกลุ่มนี้มักไม่แสดงตัว เคลื่อนย้ายไปในหลายพื้นที่ และมักไม่ได้รับการตรวจเชื้อ เพิ่มความเสี่ยงให้กับคนไทย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า