SHARE

คัดลอกแล้ว

 

ถึงคุณอนุทิน ชาญวีรกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข

บทสรุป-ประเด็นสำคัญ

ในสถานการณ์ปัจจุบันทุกประเทศกำลังแย่งกันซื้อวัคซีน ทางออกของประเทศไทยจึงต้องมองหาตัวเลือกอื่น ที่มีประสิทธิภาพสูงและยังสามารถจัดหาได้เร็ว หนึ่งในนั้นคือวัคซีน Novavax ซึ่งเป็นวัคซีนที่จะสามารถจัดหาได้เร็วกว่า เพราะมีการเริ่มผลิตไปแล้ว แต่ยังไม่ถูกนำมาใช้ และยังมีประสิทธิภาพสูงพอที่จะสร้างความมั่นใจให้กับประชาชนได้

ขอบเขตของปัญหา และผลกระทบ

บริบทของการสาธารณสุขนานาชาติ (Global Health) ในการจัดหาวัคซีนในช่วงนี้มีการแข่งขันสูงมาก และทำให้ประเทศไทยเราจัดหาวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงได้ล่าช้า จึงทำให้เรายังไม่สามารถใช้ศักยภาพของประเทศในการฉีดวัคซีนได้เต็มที่ ในปัจจุบันเรายังมีการติดเชื้อเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง และอัตราการเสียชีวิตก็ยังเพิ่มสะสมอย่างต่อเนื่องเช่นกัน 

หากมาดูการฉีดวัคซีนสะสมเราฉีดไปแล้ว 20 กว่าล้านโดส โดยเราเริ่มฉีดตั้งแต่ปลายเดือนกุมภาพันธ์ แต่รัฐบาลได้สัญญากับประชาชนว่าเราจะฉีดได้ถึง 100 ล้านโดสภายในสิ้นปี เพื่อให้เกิน 70% ของจำนวนประชากรตามทฤษฏี Herd Immunity ซึ่งหมายความว่าตั้งแต่วันนี้เราต้องฉีดให้ได้วันละมากกว่า 550000 โดสต่อวัน ทุกวันไม่มีวันหยุด และหมายความว่าเราควรมีวัคซีนตุนอยู่และกระจายทั่วประเทศในระดับมากกว่า 17 ล้านโดสต่อเดือน 

ปฏิเสธไม่ได้ว่าเรามีวัคซีนยังไม่เพียงพอต่อศักยภาพการฉีด และเพื่อบรรลุเป้าหมาย Herd Immunity ก่อนสิ้นปี (จากสถานการณ์ปัจจุบันเราควรจะถึงจุดนั้นภายในไม่กี่เดือนข้างหน้าด้วยซ้ำ) ทำให้ประชาชนมีความไม่มั่นใจต่อการบริหารงานของรัฐบาลเป็นอย่างสูง แต่กระนั้นบริบทความต้องการวัคซีนทั่วโลกก็เป็นข้อจำกัดสำคัญในการจัดหาให้เร็วและเพียงพอมากกว่านี้ของรัฐบาลไทย โดยปัจจัยในระดับโลกมีอย่างน้อยดังนี้ 

1. การแพร่ระบาดของสายพันธุ์เดลต้าทำให้ทั่วโลกต้องการวัคซีน mRNA ที่ได้รับ Emergency Use Listing (EUL) จาก WHO และ Emergency Use Authorization (EUA) จาก US FDA แล้วซึ่งคือ Pfizer และ Moderna ซึ่งมีประสิทธิภาพสูงสุดในการป้องกันไวรัสสายพันธุ์เดลต้า ทำให้ทั้ง 2 บริษัทไม่สามารถผลิตวัคซีนได้เร็วพอ เพราะวัตถุดิบทั้งทางด้านชีวภาพ และเวชภัณฑ์ต่างๆมีไม่เพียงพอ

2. ประเทศสหรัฐฯมี Defense Protection Act ที่ทำให้บริษัทเอกชนที่จดทะเบียนในสหรัฐฯต้องให้สิทธิ์การสั่งซื้อวัคซีนของรัฐบาลกลางก่อน ทำให้ทั้ง Pfizer และ Moderna ต้องส่งมอบตามความต้องการของรัฐบาลสหรัฐฯเป็นอันดันแรกจึงจะสามารถส่งไปประเทศอื่นๆที่ต้องการได้ ทำให้การส่งมองวัคซีนทั้งสองตัวมีความล่าช้าและไม่แน่นอนสูง

3. การแพร่ระบาดในอินเดีย ทำให้ Serum Institute ซึ่งรับหน้าที่ผลิต 75% ของวัคซีนทั้งหมดในอินเดีย ไม่สามารถผลิตวัคซีน Covishield (อีกชื่อหนึ่งคือ AstraZeneca) ได้เร็วและมากพอ รัฐบาลอินเดียจึงได้ออกมาตราการห้ามส่งออก (Export Control)  ห้ามส่งออก AstraZeneca ที่ผลิตในประเทศ ทำให้ประเทศต่างๆที่สั่งจองไว้ก็หาวัคซีนได้ล่าช้าเช่นกัน ทำให้บริษัท  AstraZeneca ต้องใช้วัคซีนที่ผลิตได้ในฐานผลิตอื่นๆเพื่อส่งมอบตามออร์เดอร์จากทั่วโลก ซึ่งเรื่องนี้เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ AstraZeneca ในประเทศไทย ต้องส่งมอบวัคซีนที่ผลิตโดย Siam Bioscience ให้กับต่างประเทศมากขึ้น เพราะต้องไปทดแทนวัคซีนที่เดิมทีต้องส่งออกจากอินเดีย

4. การห้ามส่งออกดังกล่าวของรัฐบาลอินเดียนั้นรวมไปถึงการห้ามส่งออก วัตถุดิบชีวภาพและเวชภัณฑ์ต่างๆที่เป็นปัจจัยสำคัญในการผลิตวัคซีนอื่นๆ ไม่ว่าจะเป็น AstraZeneca, Pfizer, Moderna ฯลฯ เพราะอินเดียเป็นฐานการผลิตสิ่งจำเป็นเหล่านี้สำหรับอุตสาหกรรมแพทย์ทั่วโลก 

5. ปัญหาดังกล่าวทำให้วัคซีนที่เป็นส่วนหนึ่งของห่วงโซ่อุปทานนี้ ซึ่งก็แทบจะทุกตัวมีความล่าช้า และไม่เพียงพอ ในขณะที่ความต้องการวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงมีเพิ่มสูงขึ้น 

ข้อเสนอ/ แนวทางแก้ไข ปัญหา

เสนอให้พิจารณาวัคซีน Novavax อย่างจริงจังโดยมีแนวทางดังนี้

1. ปริมาณสำรองและประสิทธิภาพ: รัฐบาลควรให้ความสำคัญในการจัดหา วัคซีน Novavax เป็นวัคซีนหลักคู่กับ AstraZeneca (จองแล้ว 61 ล้านโดส) และ Pfizer (จองแล้ว 20 ล้านโดส และจะเพิ่มอีก 10 ล้านโดส) 

Novavax ใช้เทคโนโลยี Protein Subunit ซึ่งเปรียบเสมือนทางลัดในการสร้างภูมิโดยไม่ต้องผ่านตัวกลาง เพราะเป็นการฉีดโปรตีนหนามเข้าสู่ร่างกายโดยตรง และจำนวนสองโดสที่ต้องฉีดก็ห่างกันแค่ 21 วัน (AstraZeneca ต้องห่าง 2-3 เดือน) ส่วนจากรายงานประสิทธิผลนั้นก็เป็นที่น่าพอใจมาก สามารถป้องกันการแสดงอาการป่วยได้มากกว่า 90% และป้องกันป่วยหนักได้ 100% จากการทดลองที่อเมริกาและเม็กซิโกจากกลุ่มตัวอย่าง 30,000 คน (ตอนนี้เรากำลังรอดูข้อมูลของ Novavax กับสายพันธุ์เดลต้า) และหลายประเทศมองวัคซีนตัวนี้เป็นวัคซีน Booster หลัก

แต่สิ่งที่สำคัญที่สุดสำหรับวัคซีนชนิดนี้นั้นคือการที่วัคซีนนั้นได้รับการผลิตขึ้นมาแล้ว และมีสำรองไว้ค่อนข้างเยอะแล้ว แค่กำลังรอการถูกนำมาใช้ เมื่อผ่าน EUL จาก WHO และผ่าน EUA จากสหรัฐฯ (รายงานล่าสุดทาง Novavax จะส่งเอกสารให้ WHO ทั้งหมดภายในเดือนนี้ และให้กับ FDA สหรัฐฯภายในไตรมาสสี่) Novavax จึงยังไม่ถูกกระจายและระดมฉีดให้กับประชาชนสหรัฐฯ และที่อื่นๆ ความต้องการแย่งชิงวัคซีนชนิดนี้จึงต่ำกว่าวัคซีนที่มีประสิทธิภาพสูงที่มีอยู่ในตลาดชนิดอื่น

2. ความว่องไวในการเจรจากับรัฐบาลสหรัฐฯ และอินเดีย: รัฐบาลควรเจรจากับรัฐบาลสหรัฐฯและรัฐบาลอินเดีย (นอกเหนือจากการเจรจากับทางบริษัท) เพื่อเข้าถึงสต๊อก Novavax ของทั้งสองประเทศก่อนที่ ทั้ง WHO และ US FDA จะขึ้นทะเบียนการใช้ฉุกเฉิน ให้กับวัคซีนชนิดนี้ เนื่องจากมีรายงานว่าวัคซีน Novavax นั้นถูกผลิตขึ้นมาแล้วหลายร้อยล้านโดส และพร้อมส่งเพื่อนำไปใช้ (และ Novavax ยังกล่าวด้วยว่าบริษัทนั้นมีกำลังการผลิต 300 ล้านโดสในไตรมาสนี้ และจะเพิ่มเป็น 450 ล้านโดสในไตรมาสหน้า) โดยมีสต๊อกอยู่ที่ทั้งสหรัฐ และอินเดีย มีโอกาสสูงที่รัฐบาลทั้งสองประเทศจะปล่อยวัคซีนที่ยังไม่ขึ้นทะเบียนการใช้ฉุกเฉิน (AstraZeneca ก็ยังไม่ได้ขึ้นทะเบียนการใช้ฉุกเฉินในสหรัฐฯ แต่รัฐบาลสหรัฐฯก็จะเริ่มบริจาควัคซีน AstraZeneca แล้ว) การได้วัคซีนที่ดีและเพียงพอมาฉีดให้เร็วที่สุดเป็นสิ่งสำคัญมากในสถานการณ์ปัจจุบัน

3. กฏระเบียบที่ควรหาทางออกอย่างรวดเร็ว: สำนักงานอาหารและยาของประเทศไทย (อย.) ควรเสนอให้บริษัท Novavax ส่งเอกสารและข้อมูลเพื่อการพิจารณาออกใบอนุญาติการใช้ฉุกเฉิน โดยอย.ควรพิจารณาตามข้อมูลและผลทดลองที่มีอยู่แล้วของ Novavax  และไม่ควรรอ EUA จากทั้งสหรัฐฯและ EUL จาก WHO เพราะอาจจะมีความล้าช้าอีก แน่นอนความปลอดภัยของประขาชนเป็นสิ่งสำคัญสูงสุด แต่อย.ของไทย และบุคลากรทางด้านการแพทย์ของเราก็สามารถตัดสินใจได้เองตามหลักฐานที่มีว่าวัคซีนตัวนี้มีความปลอดภัยและประสิทธิภาพมากพอหรือไม่ โดยหากมองทางด้านธุรกิจแล้ว Novavax เองไม่มีเหตุผลที่จะเร่งรีบขึ้นทะเบียนกับสหรัฐฯเลย เพราะประชากรสหรัฐฯนั้นฉีดวัคซีนตัวอื่นไปหมดแล้ว ทำให้ Novavax เองนั้นกำลังเปลี่ยนยุทธศาสตร์เพื่อเป็นตัวเลือกหลักของประเทศกำลังพัฒนาที่ยังมีความต้องการวัคซีนสูง โดยล่าสุดมีรายงานว่าทางบริษัท Novavax ได้ยื่นเรื่องขึ้นทะเบียนในประเทศอินเดีย อินโดนีเซีย และฟิลิปปินส์แล้ว ด้วยเหตุผลดังกล่าว 

4. มาตราการสนับสนุนที่จะทำให้ได้วัดซีนเร็วขึ้นและเพียงพอ: รัฐบาลควรตัดสินใจสั่งซื้อ Novavax ทันทีหากทำได้ และนำวัคซีนดังกล่าวเข้ามาสำรองไว้ (สามารถทำได้เพราะ Novavax สามารถเก็บในตู้เย็นปกติได้อย่างน้อย 6 เดือน ที่ 2-8 องศา ซึ่งต่างจาก Pfizer และ Moderna) หากท้ายที่สุดแล้วอย.เห็นว่าวัคซีนไม่ผ่านเกณฑ์พิจารณาก็สามารถขายต่อให้ประเทศอื่นได้ แต่หากพิจารณาแล้วผ่านเราจะเริ่มฉีดได้ทันที การตัดสินใจซื้อในลักษณะนี้ คือไม่ต้องรอการขึ้นทะเบียนการใช้ฉุกเฉินนั้นเกิดขึ้นแล้วกับกลุ่มประเทศสหภาพยุโรปที่เพิ่งสั่งซื้อไป 200 ล้านโดส 

รัฐบาลควรเสนอให้ข้อมูลประสิทธิภาพการป้องกันโควิดกับ Novavax เมื่อเริ่มใช้งานจริง ซึ่งจะเป็นเครื่องมือต่อรองให้ Novavax นำส่งวัคซีนให้ประเทศไทยได้เร็วขึ้น แนวคิดการแลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อแลกกับความรวดเร็วในการจัดส่งวัคซีนเช่นนี้ ประเทศอิสราเอลได้ใช้เป็นข้อเสนอให้กับ Pfizer ทำให้อิสราเอลได้รับการจัดสรร Pfizer มากและรวดเร็วเป็นกรณีพิเศษ คิดเป็นจำนวนวัคซีนมากพอหลายเท่าตัวของจำนวนประชากร

Covid Policy Lab: Policy Memo นโยบายผู้บริหาร สำหรับประเทศยุคโควิด

Covid Policy Lab คือคอลัมน์พิเศษที่รวบรวมข้อเสนอนโยบายในการแก้ไขปัญหาต่างๆ ในช่วงที่เกิดวิกฤตโควิด-19 ส่งตรงถึงผู้บริหารประเทศ

โดยเราจะระดมแนวคิดต่างๆ ในรูปแบบของ Policy Memo เพื่อส่งสารโดยตรงถึงบุคลากรในระดับผู้บริหาร เพื่อช่วยเป็นอีกทางเลือกด้านโยบายสำหรับผู้บริหารราชการฉุกเฉินปัจจุบัน

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า