SHARE

คัดลอกแล้ว

ไทยพบโอไมครอน 2,062 ราย กทม.พบมากที่สุด ขณะที่ จ.ร้อยเอ็ดพบ 180 ราย ติดเชื้อในประเทศทั้งหมด

วันที่ 4 ม.ค. 2565 นพ.ศุภกิจ ศิริลักษณ์ อธิบดีกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ แถลงสถานการณ์โอไมครอนในประเทศไทยว่า ผลการตรวจสายพันธุ์โควิด-19 ตั้งแต่เปิดประเทศเดือน พ.ย. 64 พบผู้ติดเชื้อสายพันธุ์โอไมครอน 2,062 ราย  โดยเมื่อวันที่ 3 ม.ค. 65 พบเพิ่มขึ้น 282 ราย

ทั้งนี้สถิติผู้ติดเชื้อ ‘โอไมครอน’ 7 วันที่ผ่านมา

28 ธ.ค. 64 ติดเชื้อสะสม 740 ติดเชื้อใหม่ 150

29 ธ.ค. 64 ติดเชื้อสะสม   934 ติดเชื้อใหม่ 194

30 ธ.ค. 64 ติดเชื้อสะสม   1,145 ติดเชื้อใหม่ 211

31 ธ.ค. 64 ติดเชื้อสะสม   1,362 ติดเชื้อใหม่  217

1 ม.ค. 65 ติดเชื้อสะสม   1,551 ติดเชื้อใหม่ 189

2 ม.ค. 65 ติดเชื้อสะสม   1,780 ติดเชื้อใหม่ 229

3 ม.ค. 65 ติดเชื้อสะสม   2,062 ติดเชื้อใหม่ 282

ขณะนี้มีการติดเชื้อไปทั้งหมด 54 จังหวัดแล้ว โดยผู้ติดเชื้อพบสูงสุด 6 จังหวัด ได้แก่

กทม.  ติดเชื้อ 585 ราย ติดเชื้อในประเทศ 7 ราย

กาฬสินธุ์  ติดเชื้อ 233 ราย ติดเชื้อในประเทศ 231 ราย

ร้อยเอ็ด ติดเชื้อ 180 ราย ติดเชื้อในประเทศทั้งหมด

ภูเก็ต ติดเชื้อ 175 ราย ติดเชื้อในประเทศ 17 ราย

ชลบุรี ติดเชื้อ 162 ราย ติดเชื้อในประเทศ 70 ราย

สมุทรปราการ ติดเชื้อ 106 ราย ติดเชื้อในประเทศ 28 ราย

 

นพ.ศุภกิจ กล่าวต่อว่า มีการศึกษาที่น่าสนใจ ในประเทศแอฟริกาใต้ มีการทดสอบภูมิคุ้มกันหลังคนติดเชื้อโอไมครอน 14 วัน พบว่าภูมิคุ้มกันสูงขึ้น 14 – 15 เท่า ซึ่งเป็นปกติของการติดเชื้อ และยังมีข้อสังเกตว่าหลังติดเชื้อโอไมครอน แล้วภูมิป้องกันสายพันธุ์เดลตาได้ประมาณ 4 เท่า แต่ไม่ได้เกิดขึ้นกับผู้ติดเชื้อทุกคน  ซึ่งไม่ว่าจะเป็นคนที่ฉีดหรือไม่ฉีดวัคซีน หลังติดเชื้อโอไมครอน 14 วัน มีภูมิป้องกันสายพันธุ์เดลตาได้จำนวนหนึ่ง ดังนั้นกรมวิทย์ฯ จะมีการตรวจเลือดผู้ติดเชื้อในประเทศไทยเพื่อทดสอบภูมิต้านทานต่อสายพันธุ์เดลตา 

นพ.ศุภกิจ ยังกล่าวอีกว่า ตอนนี้โอไมครอนเริ่มส่งผลให้จำนวนผู้ติดเชื้อในภาพรวมเพิ่มสูงขึ้น แต่ยังไม่มีผลต่อจำนวนการเสียชีวิต และการติดเชื้อในประเทศขณะนี้ 70 – 80% ยังเป็นเดลตา โดยผู้เสียชีวิตในขณะนี้เป็นผลมาจากสายพันธุ์เดลตา ดังนั้นต้องระวังกลุ่ม 608  ให้มาก เพราะยังมีโอกาสป่วยหนักหรือเสียชีวิตและหลังจากนี้การตรวจหาสายพันธุ์จะเริ่มใช้ระบบเฝ้าระวังปกติตามเกณฑ์ เพื่อประเมินสถานการณ์  จะไม่ตรวจหาสายพันธุ์ในทุกราย

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า