Advertisement

SHARE

คัดลอกแล้ว

กรมการแพทย์ ย้ำเกณฑ์ UCEP plus ผู้ติดเชื้อกลุ่ม 608 ถือเป็นผู้ติดเชื้ออาการสีเหลืองโรงพยาบาลต้องรักเข้ารับการรักษา ห้ามปฏิเสธ

สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์

วันที่ 2 เม.ย. 2565 นพ.สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ เปิดเผยว่า กลุ่มผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป, ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง หญิงตั้งครรภ์ และผู้ที่มีน้ำหนักมากกว่า 90 กิโลกรัม ถือเป็นผู้ติดเชื้ออาการสีเหลืองสามารถเข้ารับการรักษาได้ทุกโรงพยาบาล ทั้งโรงพยาบาลรัฐและเอกชน โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ตามเกณฑ์ UCEP plus ตามที่กระทรวงสาธารณสุข ได้เน้นย้ำให้กรมการแพทย์และหน่วยงานเครือข่ายทุกภาคส่วนทั้งภาครัฐและเอกชนบูรณาการบริหารการจัดการเตียง เพื่อให้เพียงพอกับจำนวนผู้ป่วย

“ขอชี้แจงเรื่องแนวทางการดูแลรักษากลุ่ม 608 คือ สูงอายุ 60 ปีขึ้นไป มีโรคประจำตัว และหญิงตั้งครรภ์ ถือเป็น ‘กลุ่มสีเหลือง’ หากพบติดเชื้อโควิด-19 สามารถใช้สิทธิ UCEP plus เข้า รพ.ได้ทุกแห่ง จะไปโรงพยาบาลเอกชนก็ได้ ซึ่งตามกฎหมายแล้วโรงพยาบาลไม่มีสิทธิปฏิเสธคนไข้ เพราะกลุ่ม 608 มีความเสี่ยงจะป่วยหนัก รุนแรง และเสียชีวิต จึงเปิดให้กลุ่มนี้เป็นกลุ่มอาการสีเหลืองแอดมิตได้ก่อน” นพ.สมศักดิ์ กล่าว

อธิบดีกรมการแพทย์ กล่าวว่า ตามเกณฑ์ UCEP plus กลุ่มสีเหลืองเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลได้ แต่ก็อยู่ที่ดุลยพินิจของแพทย์ว่าสามารถรักษาในโรงพยาบาลได้หรือไม่ หรือสามารถรักษาที่บ้าน เพราะบางรายอาการแข็งแรงและไม่อยากนอนโรงพยาบาล จึงขอให้แพทย์ร่วมประเมินกับคนไข้ว่ามีความเสี่ยงมากน้อยแค่ไหน

สำหรับสถานการณ์เตียงนั้น ภาพรวมพบว่ายังมีจำนวนเตียงในโรงพยาบาลเพียงพอสำหรับรองรับกลุ่ม 608 โดยหลักโรงพยาบาลไม่สามารถปฏิเสธการรักษาได้ อย่างไรก็ตามการเข้ารับการรักษาต้องขึ้นอยู่กับดุลยพินิจของแพทย์ด้วย แต่หากเตียงในโรงพยาบาลเต็ม ขอให้ประสานกับเครือข่ายในพื้นที่ เพื่อรองรับการรักษาผู้ป่วยต่อไป นอกจากนี้ยังมีความห่วงใยกลุ่มเด็กเล็กที่ติดเชื้อโควิด 19 เพิ่มขึ้น ซึ่งเป็นกลุ่มที่ต้องได้รับการรักษาในโรงพยาบาลด้วยเช่นกัน

ทั้งนี้ กรมการแพทย์ได้เร่งปรับรูปแบบการรักษาเพื่อรองรับการรักษาพยาบาลผู้ป่วยอย่างมีประสิทธิภาพ โดยได้ออกแนวทางเวชปฏิบัติ การวินิจฉัย ดูแลรักษา และป้องกันการติดเชื้อในโรงพยาบาล กรณีโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (COVID-19) สำหรับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ฉบับปรับปรุง วันที่ 22 มีนาคม 2565 จากความร่วมมือของคณาจารย์ ผู้ทรงคุณวุฒิจากหน่วยงานต่าง ๆ และผู้แทนทีมแพทย์ที่ปฏิบัติหน้างาน ในการดูแลรักษาผู้ป่วยโควิด ได้ทบทวนและปรับแนวทางการดูแลรักษาผู้ป่วย ตามข้อมูลวิชาการในประเทศ และต่างประเทศ ทั้งการจัดเตรียมยา Molnupiravir และ Paxlovid สำหรับกลุ่มเสี่ยง 607 (ยกเว้นสตรีตั้งครรภ์) รวมถึงแนะนำให้ฉีดวัคซีน และวัคซีนเข็มกระตุ้นเพื่อสร้างภูมิต้านทาน และยังคงเคร่งครัดมาตรการทางสังคม ทั้งการเว้นระยะห่าง สวมหน้ากากอนามัย ล้างมือด้วยสบู่หรือเจลแอลกอฮอล์ เพื่อป้องกันการติดเชื้อโควิด-19

podcast

LATEST
OUR PICKS
HOT
กำลังโหลดบทความถัดไป...

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า