SHARE

คัดลอกแล้ว

เจ้าสัวซีพี ชี้ไทยเสี่ยงถดถอยหากภาครัฐไม่มีมาตรการรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ แนะ 4 ประเด็นสำคัญต้องรีบทำ ปากท้อง-ป้องกัน-รักษา-อนาคต

นายธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานอาวุโสเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ได้ให้สัมภาษณ์ในรายการสุทธิชัยไลฟ์ เมื่อวันที่ 15 ส.ค. 2564 ที่ผ่านมา หัวข้อ ‘มุมมองธนินท์ เจียรวนนท์ โควิดกับทางออกของประเทศไทย’

โดยนายธนินท์ระบุว่า วิกฤตครั้งนี้ไม่เหมือนกับต้มยำกุ้ง เนื่องจากในช่วงต้มยำกุ้ง เกิดจากการบริหารผิดพลาด ซึ่งในยุโรปหรือสหรัฐอเมริกาไม่ได้รับผลกระทบ มีเพียงในเอเชียเท่านั้น ขณะที่โควิด-19 สร้างผลกระทบให้กับทั่วโลก ซึ่งรัฐบาลต้องรักษาบริษัทที่สร้างรายได้และเสียภาษีให้กับประเทศไว้ อย่าให้ล้มหายตายจากไป

เพราะทุกประเทศในโลกได้รับผลกระทบทั้งหมด แต่หากประเทศใดปรับตัวได้ ก็จะก้าวกระโดด แต่หากประเทศไทยขาดนโยบายที่มีความพร้อม และมีการเปลี่ยนแปลงไม่เร็วพอ ก็จะตกขบวน ตามหลังประเทศเพื่อนบ้าน

ทั้งนี้ ในสถานการณ์ที่ตัวเลขผู้ติดเชื้อยังไม่ลดลง มี 4 ประเด็นที่ต้องให้ความสำคัญ ได้แก่ 1.ปากท้อง 2.ป้องกัน 3.รักษา และ 4.อนาคต

ประเด็นที่ 1 คือเรื่องปากท้อง ซึ่งนายธนินท์ชี้ว่าเป็นประเด็นสำคัญ เพราะคนที่อยู่กรุงเทพฯ ไม่เหมือนคนที่อยู่ต่างจังหวัดที่อยู่ยังมีข้าวเหลือ สามารถเก็บผักมากินได้ แต่คนอยู่ในเมืองลำบาก หากไม่มีก็ไม่มีเลย แม้กระทั่งอาหาร บางครั้งยังไม่เพียงพอ เรื่องนี้เป็นเรื่องใหญ่ที่ภาครัฐต้องมีมาตรการมาดูแล แต่ในส่วนของภาคเอกชน เราทำได้เพียงช่วยแบ่งเบาภาระ

โดยสำหรับเครือซีพีได้จัดทำโครงการครัวปันอิ่ม ที่ผนึกกำลังกับทุกภาคส่วนแจกอาหาร 2 ล้านกล่องให้ประชาชนยากจน คนตกงาน ไม่มีรายได้ โดย 1 ล้านกล่องเป็นการรับซื้อมาจากร้านอาหารขนาดกลาง ขนาดเล็ก และจิ๋ว

ซึ่งนายธนินท์ชี้ว่านอกจากเป็นการช่วยเหลือคนที่กำลังลำบากแล้ว ยังเป็นการช่วยเหลือร้านอาหารขนาดเล็กและขนาดจิ๋วให้มีรายได้ อย่างไรก็ตาม รัฐบาลต้องช่วยเหลือร้านขนาดกลางกับร้านขนาดใหญ่ เพราะถ้ากลุ่มนี้อยู่รอด โควิดหาย ทุกอย่างไม่ได้ฟื้น 100% แต่ร้านกลุ่มนี้จะช่วยให้เกิดการจ้างงานได้

ประเด็นที่สองคือ ป้องกัน โดยนายธนินท์ระบุว่า การฉีดวัคซีนซึ่งหากยิ่งฉีดได้ครอบคลุมรวดเร็วมากเท่าไหร่ ก็จะลดผลกระทบได้มากเท่านั้น เช่น อังกฤษ ที่ฉีดได้จำนวนมากจึงสามารถกลับมาเปิดประเทศ ถึงแม้ว่าจะติดเชื้อเพิ่ม แต่ลดการเสียชีวิตและป่วยหนัก ทำให้ประเทศสามารถเดินต่อไปได้ ซึ่งต้องตั้งเป้าหมายฉีดให้ครบ 100%  โดยนำเข้าวัคซีนทุกยี่ห้อ

“สำหรับซีพี เนื่องจากการอาศัยรัฐบาลซึ่งซื้อวัคซีนช้า เครือซีพีจึงซื้อวัคซีนซิโนฟาร์ม 1 แสนโดสจากราชวิทยาลัยจุฬาภรณ์ มาฉีดให้คนงานทั้งหมดและลูกค้าที่เกี่ยวข้องในส่วนที่รัฐบาลยังไปไม่ถึง เพราะเรารอไม่ได้ ต้องช่วยตัวเองก่อน”

ทั้งนี้ ในตอนหนึ่งของการสัมภาษณ์ นายสุทธิชัย หยุ่น ได้ถามว่านายธนินท์หรือซีพี มีส่วนในการนำเข้าวัคซีนซิโนแวคของรัฐบาลหรือไม่ ซึ่งนายธนินท์ระบุว่ากรณีซิโนแวคที่รัฐบาลสั่ง ขณะนั้นซีพียังไม่ได้เข้าร่วม และแน่นอนว่าซีพีไม่เกี่ยวข้องเลย เพราะซิโนแวคผลิตแล้วต้องให้รัฐบาลจีนเท่านั้น แล้วขึ้นอยู่กับว่ารัฐบาลจะขายให้ใคร นอกจากนี้การซื้อขายยังต้องเป็นการซื้อระหว่างรัฐกับรัฐเท่านั้น

แม้จะมีหลานชายถือหุ้น ก็ไม่สามารถทำได้ จะไปขอให้ฉีดให้พนักงานในจีนก็ยังทำไม่ได้ เพราะเอกชนไม่มีสิทธิ์ไปซื้อจากรัฐบาลจีน เป็นยาควบคุมของรัฐบาล ซีพีไม่มีส่วนรู้เห็น

นายธนินท์ยังกล่าวถึงกรณีที่หลานชายอย่าง ‘เอริค เซีย’ ที่ไปถือหุ้นในซิโนไบโอฟาร์มาคิวติเคิลซึ่งเป็นบริษัทที่เข้าไปถือหุ้นในซิโนแวคนั้น สาเหตุมาจากในช่วงเริ่มต้นที่บริษัทซิโนแวคจะวิจัยพัฒนาวัคซีน แต่บริษัทมีเม็ดเงินไม่เพียงพอ จึงมายืมเงินจากหลายชายของตน จากนั้นบริษัทก็ให้หุ้นหลานชายมา 15% ซึ่งเป็นสัดส่วนที่เท่าๆ กับแพทย์และนักวิจัยที่ทำในช่วงเริ่มต้น

ประเด็นที่ 3 คือ ‘รักษา’ นายธนินท์ได้กล่าวถึงการรักษา ต้องเร็ว ถึงแม้ว่าผู้ป่วย 90% หายได้ด้วยการดูแลตัวเอง แต่การที่ผู้ป่วยต้องอยู่บ้านเป็น Home Isolation มากขึ้น ยังจำเป็นต้องดำเนินการคู่กับหมอทางไกล Telehealth และต้องเข้าถึงยาโดยเร็ว หากคนไข้ได้ปรึกษาอาการกับหมอ มีหมอออนไลน์ จะมีกำลังใจ

นอกจากนี้นายธนินท์ได้ย้ำว่าเรื่องการเข้าถึงยามีความสำคัญอย่างมาก อย่ารอให้คนไข้มีอาการหนัก และควรกระจายยาอย่างรวดเร็ว ลดขั้นตอน ยุคนี้ต้องเร็วและมีคุณภาพ

นายธนินท์กล่าวว่า เครือซีพีมีโครงการปลูกฟ้าทะลายโจร 100 ไร่ เพื่อนำมาผลิตเป็นแคปซูลฟ้าทะลายโจร 30 ล้านเม็ดแจกจ่ายฟรีให้กับประชาชน เพราะตอนนี้ฟ้าทะลายโจรขาดตลาดมาก เป็นเพียงเข้าไปเสริมในตลาด ทำให้ผู้ประกอบการเดิมไม่กระทบ ดังนั้น เราเป็นการเติมซัพพลายเข้าไปลดความขาดแคลนเท่านั้น

ประเด็นที่ 4 คือ ‘อนาคต’ ประเทศไทยเสี่ยงถดถอยหากภาครัฐไม่มีมาตรการรองรับการฟื้นตัวของเศรษฐกิจ ปัจจุบันธุรกิจขนาดจิ๋ว เล็ก กลาง ใหญ่ ล้วนได้รับผลกระทบ และหากต้องล้มหายตายจากไปหลังพ้นวิกฤต บริษัทที่จะจ่ายภาษีให้ประเทศจะมีจำนวนลดน้อยลง และเครื่องจักรเศรษฐกิจ เช่น ท่องเที่ยว ส่งออก ใช้เวลาฟื้นตัวช้าหากมีการปิดกิจการไปแล้ว

“วันนี้เราต้องทำทุกอย่าง เรื่องป้องกันและรักษาโควิดก็ว่าไป แต่ในเวลาเดียวกัน เมื่อทุกอย่างสงบแล้ว เราพร้อมหรือยัง เรื่องนี้อยู่ที่นโยบายรัฐบาลด้วย อย่างอีอีซีเราพร้อมหรือยัง จะดึงนักลงทุนเข้ามา เรามีอินเซนทีฟที่ดีพอให้เขาหรือยัง อย่างเวียดนามมีพร้อมเรื่องคน แต่ประเทศไทยยังไม่ทันเข้าสู่ประเทศร่ำรวยก็เข้าสู่ประเทศคนแก่แล้ว เรื่องนี้อันตรายมาก”

ดังนั้น ประเทศไทยจะต้องสนับสนุนธุรกิจ 4.0 รวมถึงมีมาตรการเชิงรุกในการไปดึงบริษัทเหล่านี้เข้ามา ดึงคนเก่งทั่วโลกมาอยู่เมืองไทย มาใช้จ่ายที่ประเทศไทย มาจ่ายภาษีให้ประเทศไทย เหมือนเช่นอเมริกาดึงคนยุโรป จีน อินเดีย ญี่ปุ่น ไปอยู่อเมริกา หรือคนสิงคโปร์มีประชากรครึ่งหนึ่งเป็นคนจากต่างประเทศที่เข้าไปลงทุน เศรษฐกิจใหม่ก็จะเกิดขึ้น แต่ที่พูดมาทั้งหมดต้องทำควบคู่กันทั้งหมด ยามมืดสุด ต้องคิดว่าเมื่อสว่างแล้ว ประเทศจะเป็นอย่างไร

ที่มา:

https://www.youtube.com/watch?v=P1GTyy-aaeE

https://www.matichon.co.th/economy/news_2887567

podcast

เราใช้คุกกี้เพื่อพัฒนาประสิทธิภาพ และประสบการณ์ที่ดีในการใช้เว็บไซต์ของคุณ อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ นโยบายความเป็นส่วนตัว และ นโยบายคุกกี้ และสามารถจัดการความเป็นส่วนตัวของคุณได้เองโดยคลิกที่ ตั้งค่า

ตั้งค่าความเป็นส่วนตัว

คุณสามารถเลือกการตั้งค่าคุกกี้โดยเปิด/ปิด คุกกี้ในแต่ละประเภทได้ตามความต้องการ ยกเว้น คุกกี้ที่จำเป็น

ยอมรับทั้งหมด
จัดการความเป็นส่วนตัว
  • คุกกี้ที่จำเป็น
    เปิดใช้งานตลอด

    ประเภทของคุกกี้มีความจำเป็นสำหรับการทำงานของเว็บไซต์ เพื่อให้คุณสามารถใช้ได้อย่างเป็นปกติ และเข้าชมเว็บไซต์ คุณไม่สามารถปิดการทำงานของคุกกี้นี้ในระบบเว็บไซต์ของเราได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อการวิเคราะห์

    คุกกี้ประเภทนี้จะทำการเก็บข้อมูลการใช้งานเว็บไซต์ของคุณ เพื่อเป็นประโยชน์ในการวัดผล ปรับปรุง และพัฒนาประสบการณ์ที่ดีในการใช้งานเว็บไซต์ ถ้าหากท่านไม่ยินยอมให้เราใช้คุกกี้นี้ เราจะไม่สามารถวัดผล ปรับปรุงและพัฒนาเว็บไซต์ได้
    รายละเอียดคุกกี้

  • คุกกี้เพื่อปรับเนื้อหาให้เข้ากับกลุ่มเป้าหมาย

    คุกกี้ประเภทนี้จะเก็บข้อมูลต่าง ๆ รวมทั้งข้อมูลส่วนบุคคลเกี่ยวกับตัวคุณเพื่อเราสามารถนำมาวิเคราะห์ และนำเสนอเนื้อหา ให้ตรงกับความเหมาะสมกับความสนใจของคุณ ถ้าหากคุณไม่ยินยอมเราจะไม่สามารถนำเสนอเนื้อหาและโฆษณาได้ไม่ตรงกับความสนใจของคุณ
    รายละเอียดคุกกี้

บันทึกการตั้งค่า